
คณะกรรมการบริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญต่อนโยบายการกำกับดูแลกิจการมาโดยตลอด กำหนดให้การกำกับดูแลกิจการเป็นหนึ่งในดัชนีวัดผลการดำเนินงานของบริษัทฯรวมทั้งกำหนดให้มีการจัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อยกระดับการกำกับดูแลกิจการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลอย่างสม่ำเสมอ ในปี 2560 คณะกรรมการฯได้ มีการปรับปรุงนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีและหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตามหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการกำกับตลาดทุน และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยประกาศกำหนดโดยเฉพาะการนำสาระสำคัญของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2559 ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กจ 3/2559 เรื่อง การกำหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท(ฉบับที่ 2) แนวปฏิบัติในการเปิดเผยและรักษาข้อมูลที่มีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์และแนวปฏิบัติในการจัดการข้อมูลลับที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์ของกลต. เข้ามาเป็นประเด็นในการพัฒนาระบบนิเวศน์ของธรรมาภิบาลในองค์กรเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้บริษัทฯ มีระบบการปฏิบัติงาน และการกำกับดูแลกิจการตามหลักปฏิบัติที่ดีมีวัฒนธรรมองค์กรด้านจริยธรรมที่เข้มแข็งสร้างค่านิยม I DEMCO และจิตสำนึกของบุคลากรในบริษัท ให้ความสำคัญกับการดำเนินกิจการของบริษัทด้วยความซื่อสัตย์ต่อลูกค้าต่อวิชาชีพด้วยความมานะ มุ่งมั่น ตั้งใจจริงที่จะประสบความสำเร็จ ด้วยความเชื่อมั่นในการทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพด้วยความรอบรู้เชี่ยวชาญ ให้คุณภาพที่ดีแก่ลูกค้าสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างผลตอบแทนที่ดีแก่ผู้ถือหุ้นอย่างต่อเนื่อง มีความรับผิดชอบต่อสังคมสิ่งแวดล้อมรวมทั้งมุ่งมั่นในการดำเนินงานด้านการต่อต้านการทุจริต บริษัทได้ประกาศเจตนารมณ์เข้าเป็นแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต(PrivateSector Collective Action Coalition Against Corruption : CAC) เพื่อให้บริษัทฯ มีการปฏิบัติงานที่โปร่งใส เป็นที่ยอมรับของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายโดยคณะกรรมการCAC ได้มีมติรับรองมาตรฐานการต่อต้านการคอร์รัปชั่นให้เป็นสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริตเมื่อวันที่22 เมษายน 2559 และปัจจุบันบริษัทฯได้พัฒนาการรับรู้เรื่องการต่อต้านทุจริตในหมู่พนักงาน และผู้บริหาร เพื่อเป็นเครื่องมือในการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นด้วย
จากความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความเป็นธรรม สุจริตโปร่งใส ยึดแนวปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ส่งผลให้คะแนนการประเมินผลสำรวจโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทยดีขึ้นตามลำดับซึ่งจากรายงานCorporate Governance Report of Thailand Companies 2014 บริษัท ได้รับตราสัญลักษณ์คณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติ4 สัญลักษณ์(ดีมาก) ต่อมาผลสำรวจโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทย ตามรายงาน Corporate Governance Reportof Thailand Companies2016-2017 เด็มโก้ ได้รับตราสัญลักษณ์คณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติ เพิ่มขึ้นเป็น 5 สัญลักษณ์ (ดีเลิศ)
นโยบายการกำกับดูแลกิจการ
คณะกรรมการ บมจ.เด็มโก้ ได้กำหนดให้มีนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นลายลักษณ์อักษรตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 ซึ่งฉบับปัจจุบัน ที่ประชุมคณะกรรมการบมจ.เด็มโก้ครั้งที่ 6/2560 เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2560 มีมติอนุมัติให้ทบทวนปรับปรุงนโยบายการกำกับดูแลกิจการ ตามที่คณะกรรมการสรรหาค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาลเสนอดังต่อไปนี้
- กำหนดให้กรรมการและผู้บริหารเด็มโก้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการในฐานะผู้นำองค์กรที่ต้องกำกับดูแลองค์กรมีการบริหารจัดการที่ดีสามารถแข่งขันได้ มีผลประกอบการที่ดี ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ประกอบธุรกิจอย่างมีจริยธรรม เคารพสิทธิและมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียสังคม และสิ่งแวดล้อม
- กำหนดโครงสร้าง องค์ประกอบ คุณสมบัติกรรมการบริษัทฯ ทบทวนอำนาจหน้าที่คณะกรรมการบริษัท ทบทวนปรับปรุงกฎบัตรคณะกรรมการบริษัทให้สามารถปรับตัวได้ภายใต้ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงของสภาพธุรกิจ
- จริยธรรมและจรรยาบรรณของเด็มโก้ ซึ่งประกอบด้วย จริยธรรมและจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจ จริยธรรมและจรรยาบรรณกรรมการและพนักงานมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้บริหารและพนักงาน
- เพิ่มเติมจริยธรรมและจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจ ประกอบด้วยนโยบาย หลักการ มาตรฐานทางจริยธรรมกับแนวปฏิบัติที่ดีในด้านต่างๆเป็น15
ด้าน ดังนี้
- เคารพในสิทธิมนุษยชน
- สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความปลอดภัย
- การต่อต้านคอร์รัปชั่น
- ของกำนัล
- ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
- การเมือง
- การปฏิบัติต่อข้อมูลและทรัพย์สิน
- ข้อมูลส่วนบุคคล
- การบันทึก การรายงาน และการเก็บรักษาข้อมูล
- การใช้ข้อมูลภายในเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ และ/หรือให้คำแนะนำการซื้อขายหลักทรัพย์
- การใช้ และดูแลทรัพย์สินของบริษัท
- การใช้ และดูแลระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัท
- การใช้ และการดูแลทรัพย์สินทางปัญญา
- การเปิดเผยข้อมูล
- การทำธุรกรรมระหว่างกันของบริษัทในเครือ
- การปฏิบัติต่อลูกค้า
- การจัดซื้อ จัดหา และปฏิบัติต่อคู่ค้า
- การปฏิบัติต่อเจ้าหนี้
- การประกอบธุรกิจในต่างประเทศ
- การแข่งขันทางการค้า
- การป้องกันการฟอกเงิน
- เพิ่มเติมนโยบายการกำกับดูแลบริษัทย่อยและกิจการอื่นที่บริษัทลงทุน
- เพิ่มเติมแนวปฏิบัติการเคารพกฎหมาย และหลักสิทธิมนุษยชน
- เพิ่มเติมช่องทางในการติดต่อ ร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแส มาตรการคุ้มครองผู้ที่ร้องเรียนหรือให้ข้อมูลด้วยเจตนาสุจริต
- เพิ่มเติมคู่มือว่าด้วยความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (ดำเนินการโดยคณะกรรมการตรวจสอบ)
การทบทวนปรับปรุงนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี ดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนปี2560หรือ Corporate Governance Code (CG Code) ของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากรายงานCorporateGovernance Assessment Report ของสถาบันส่งเสริมกรรมการบริษัทไทย (IOD) และแนวปฏิบัติที่ดีของบริษัทชั้นนำ เป็นต้น
นโยบายการกำกับดูแลกิจการของ เด็มโก้ มีเนื้อหาสาระสำคัญแยกองค์ประกอบ ตามหลักการกำกับดูแลที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2555ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยดังนี้
- สิทธิของผู้ถือหุ้น
- การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
- บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย
- การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส
- ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
โดยปี 2560 เด็มโก้ได้ปฏิบัติตามหลักการและนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี ดังนี้
- เด็มโก้ ตระหนักถึงความสำคัญของการให้สิทธิในความเป็นเจ้าของ ซึ่งควบคุมเด็มโก้ โดยผ่านคณะกรรมการเด็มโก้ที่เลือกตั้งเข้ามานอกเหนือจากสิทธิในการเข้าร่วมประชุมและลงคะแนนเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นรายหนึ่งมีคะแนนเสียงเท่ากับจำนวนหุ้นที่ตนถือและสิทธิในการตัดสินใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญนอกจากนั้น เด็มโก้ ส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นได้สิทธิขั้นพื้นฐานอื่นๆเช่น สิทธิการได้รับส่วนแบ่งผลกำไร/เงินปันผล การเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นเสนอเรื่องเพื่อบรรจุเป็นวาระการประชุมและสามารถส่งคำถามเกี่ยวกับการบริหารจัดการรวมถึงการดำเนินงานของบริษัทล่วงหน้าก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้นสิทธิการแสดงความคิดเห็นและซักถามในการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อร่วมตัดสินใจ และอนุมัติในเรื่องสำคัญของเด็มโก้ ได้แก่ วาระการพิจารณาค่าตอบแทนกรรมการทุกรูปแบบวาระอนุมัติจ่ายเงินปันผลจะมีการแจ้งนโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัท อัตราเงินปันผลที่เสนอจ่าย พร้อมทั้งเหตุผล และข้อมูลประกอบวาระการเลือกตั้งกรรมการเด็มโก้จะเสนอชื่อกรรมการให้ผู้ถือหุ้นลงคะแนนทีละคนโดยในหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้น เด็มโก้ ระบุชื่อ นามสกุล พร้อมแนบประวัติย่อของกรรมการแต่ละคนที่เสนอแต่งตั้งเช่น อายุประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน จำนวนบริษัทที่ดำรงตำแหน่งกรรมการที่แยกเป็นบริษัทจดทะเบียน หรือบริษัททั่วไปหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาประเภทกรรมการที่เสนอ เช่น กรรมการ หรือกรรมการอิสระ หากกรณีเสนอชื่อกรรมการเดิมกลับเข้ารับดำรงตำแหน่งใหม่เด็มโก้จะให้ข้อมูลการเข้าร่วมประชุมในปีที่ผ่านมาและวันเดือนปีที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการเด็มโก้ วาระกำหนดค่าตอบแทนจะเสนอนโยบายกำหนดหลักเกณฑ์การให้ค่าตอบแทนสำหรับกรรมการแต่ละตำแหน่งวาระแต่งตั้งผู้สอบบัญชีจะเสนอแต่งตั้งสำนักงานสอบบัญชีที่เป็นอิสระ เป็นผู้สอบบัญชีเด็มโก้รวมทั้งเปิดเผยค่าบริการตรวจสอบบัญชีและค่าบริการอื่นๆและการอนุมัติธุรกรรมที่สำคัญที่มีผลต่อทิศทางการดำเนินธุรกิจของเด็มโก้ เป็นต้น โดยคณะกรรมการเด็มโก้ได้กำหนดนโยบายบรรษัทภิบาลไว้ชัดเจนว่าเด็มโก้ จะส่งเสริมต่อผู้ถือหุ้นให้ได้ใช้สิทธิขั้นพื้นฐาน โดยเด็มโก้จะไม่กระทำการใดๆอันเป็นการละเมิดหรือจำกัดสิทธิของผู้ถือหุ้นและเด็มโก้ได้ยึดถือแนวปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี จะไม่เพิ่มระเบียบวาระในการประชุมโดยไม่ได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าและให้ผู้ถือหุ้นได้มีโอกาสศึกษาข้อมูลประกอบวาระก่อนตัดสินใจ
- เด็มโก้ได้ให้ความสำคัญต่อการประชุมผู้ถือหุ้น โดยเน้นเรื่องการจัดสถานที่ให้เหมาะสม และสะดวกต่อการเดินทางมาร่วมประชุมของผู้ถือหุ้นทั้งนี้เด็มโก้ ได้จัดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2560 เมื่อวันพุธที่ 26 เมษายน 2560 เวลา 14.00 น. ณ ห้องเจ้าพระยาบอลลูมโรงแรมเจ้าพระยาปาร์คซึ่งผู้ถือหุ้นสามารถใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) เดินทางมาเข้าร่วมประชุมโดยสะดวก นอกเหนือจากการเดินทางโดยรถยนต์ซึ่งได้แจ้งแผนที่สถานที่จัดประชุมเส้นทางการเดินทางอย่างละเอียดไว้ด้วย
- เด็มโก้ เปิดเผยกำหนดวันจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2560 ให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าก่อนวันประชุมประมาณ 2 เดือน เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสารถวางแผนตารางเวลาในการเข้าร่วมประชุมได้โดยแจ้งตั้งแต่วันที่27 กุมภาพันธ์ 2560 เมื่อคณะกรรมการเด็มโก้ มีมติให้กำหนดวันประชุมสามัญผู้ถือหุ้นในวันพุธที่ 26 เมษายน2560 รวมทั้งได้แจ้งกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิเข้าร่วมประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี2560 และสิทธิในการรับเงินปันผล(Record Date) ในวันที่ 14 มีนาคม 2560 และวันปิดสมุดทะเบียน เพื่อรวบรวมรายชื่อผู้ถือหุ้นในวันที่15 มีนาคม 2560
- เด็มโก้ได้ส่งหนังสือเชิญประชุมให้แก่ผู้ถือหุ้น 14 วันล่วงหน้า ก่อนวันประชุม โดยหนังสือเชิญประชุมมีข้อมูลรายละเอียดประกอบวาระการประชุมอย่างเพียงพอและครบถ้วนพร้อมทั้งความเห็นของคณะกรรมการเด็มโก้ แยกเรื่องแต่ละวาระอย่างชัดเจน หนังสือมอบฉันทะ แบบ ข แบบ ค ตามแบบที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดคำชี้แจงวิธีการมอบฉันทะข้อบังคับ เด็มโก้ เฉพาะที่เกี่ยวกับการประชุมผู้ถือหุ้น รายชื่อ และรายละเอียดของกรรมการอิสระที่เสนอให้เป็นผู้รับมอบฉันทะเพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถเลือกที่จะมอบฉันทะให้ประชุมแทนได้ เงื่อนไข หลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติในการเข้าร่วมประชุมการมอบฉันทะและการออกเสียงลงคะแนน แผนที่แสดงสถานที่ประชุม ส่งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงกน้าก่อนวันประชุม นอกจากนี้ เด็มโก้ได้เผยแพร่หนังสือเชิญประชุมกำหนดการประชุมและข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับระเบียบวาระการประชุม และหนังสือมอบฉันทะทุกแบบทางเว็บไซต์ ของเด็มโก้ (WWW.DEMCO.CO.TH)ทั้งภาษาไทยภาษาอังกฤษ เป็นการล่วงหน้าก่อนวันประชุม 30 วัน และแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบด้วย เมื่อมีการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวซึ่งเป็นข้อมูลเดียวกับที่เด็มโก้จัดส่งให้กับผู้ถือหุ้นและใช้ในการประชุม เพื่อให้ผู้ถือหุ้นมีเวลาพิจารณารายละเอียดแต่ละวาระสำหรับผู้ถือหุ้นที่ไม่สะดวกเข้าร่วมประชุมด้วยตนเองเด็มโก้ได้เสนอให้มอบฉันทะให้กรรมการอิสระ หรือบุคคลอื่นเข้าร่วมประชุมและลงคะแนนเสียงแทน
- ในวันประชุมผู้ถือหุ้น เด็มโก้ ได้อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ถือหุ้นและนักลงทุนสถาบันอย่างเท่าเทียมกันทุกราย ให้ความมั่นใจด้านการรักษาความปลอดภัยแก่ผู้ถือหุ้นกำหนดจุดตรวจเอกสารจุดบริการรับลงทะเบียนอย่างเหมาะสม และเพียงพอ โดยให้ผู้ถือหุ้นสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมได้ล่วงหน้าก่อนเวลาประชุมไม่น้อยกว่า2ชั่วโมง และต่อเนื่องจนกว่าการประชุมจะแล้วเสร็จ โดยจัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกในการลงทะเบียนให้กับผู้ถือหุ้น และผู้รับมอบอำนาจที่มาเข้าร่วมประชุมรวมถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้กับการประชุมโดยการนำระบบบาร์โค้ด(Bar code) มาใช้ในการลงทะเบียน การนับคะแนน และแสดงผล เพื่อความสะดวกรวดเร็วและมีการจัดเตรียมอากรแสตมป์ไว้สำหรับผู้ถือหุ้นที่ต้องการมอบฉันทะรวมทั้งการเลี้ยงรับรองที่เหมาะสมสำหรับผู้ถือหุ้นที่มาร่วมประชุมด้วย
- คณะกรรมการและผู้บริหารเด็มโก้ได้ให้ความสำคัญในการเข้าร่วมประชุมสามัญผู้ถือหุ้น เว้นแต่กรรมการที่ติดภารกิจสำคัญไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ทั้งนี้ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี2560 เมื่อวันพุธที่ 26 เมษายน 2560 กรรมการที่เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ประธานกรรมการบริษัททำหน้าที่ประธานในที่ประชุมกรรมการเด็มโก้ ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการตรวจสอบ ประธานกรรมการสรรหาค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาลกรรมการสรรหาฯ ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กรกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการกรรมการบริหารและรองกรรมการผู้จัดการสายงานบัญชีการเงินและทรัพยากรบุคคลและปฏิบัติหน้าที่เลขานุการบริษัท รวมถึงผู้บริหารระดับสูงร่วมชี้แจงรายละเอียดวาระต่างๆตอบข้อซักถาม และรับฟังข้อเสนอแนะของผู้ถือหุ้น
- จัดให้มีที่ปรึกษากฎหมายที่เป็นอิสระจากภายนอก (Inspector) เพื่อทำหน้าที่ดูแลให้การประชุมผู้ถือหุ้นเป็นไปอย่างโปร่งใสถูกต้องตามกฎหมายและข้อบังคับของเด็มโก้ได้แก่กระบวนการตรวจสอบเอกสารของผู้ถือหุ้น หรือผู้รับมอบฉันทะที่มีสิทธิเข้าร่วมประชุม ผู้มีส่วนได้เสียที่ใช้สิทธิออกเสียงวิธีการนับคะแนนโดยในการนับคะแนนนั้นต้องสอดคล้องกับข้อบังคับของเด็มโก้ ต้องมีการตรวจสอบผลของมติกับผลของการลงคะแนนเสียงจากบัตรลงคะแนนว่าถูกต้องตรงกันทั้งนี้ในการประชุมผู้ถือหุ้นเด็มโก้ได้ให้มีอาสาสมัครผู้ถือหุ้นเป็นกรรมการกลาง และผู้ตรวจสอบการนับคะแนนเสียงในทุกระเบียบวาระอีกด้วย
- การประชุมดำเนินการไปตามลำดับของระเบียบวาระการประชุมที่กำหนดไว้ในหนังสือเชิญประชุมที่ได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้ามีการระบุวัตถุประสงค์และเหตุผลของแต่ละวาระที่เสนอพร้อมความเห็นของคณะกรรมการ ประธานในที่ประชุมเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นแสดงความคิดเห็นและซักถามเรื่องต่างๆ ในแต่ละวาระ โดยก่อนเริ่มพิจารณาวาระประชุมประธานในที่ประชุมได้มอบหมายให้เลขานุการบริษัทอธิบายถึงวิธีการอภิปรายและการออกเสียงลงคะแนนรวมถึงวิธีการนับคะแนนของผู้ถือหุ้นที่ลงมติในแต่ละวาระตามข้อบังคับของเด็มโก้ให้ผู้ถือหุ้นทราบก่อนเริ่มการประชุมและมีการใช้บัตรลงคะแนน
- ประธานกรรมการถือเป็นตัวแทนของคณะกรรมการทั้งคณะเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นทุกครั้ง เพื่อพบปะและตอบคำถามผู้ถือหุ้น รวมทั้งผู้บริหารสูงสุดของบริษัทเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นทุกครั้งเพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับการบริหารจัดการบริษัทต่อผู้ถือหุ้นนอกจากนั้นประธานคณะกรรมการชุดย่อยทั้ง 4 ชุด ได้เข้าร่วมในการประชุมผู้ถือหุ้นทุกครั้งเพื่อตอบคำถามผู้ถือหุ้นในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการชุดย่อยดำเนินการประชุมอย่างเหมาะสมและโปร่งใส จัดสรรเวลาการประชุมอย่างเพียงพอโดยในระหว่างการประชุมจะเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นได้แสดงความคิดเห็นและซักถามอย่างทั่วถึงก่อนจะลงคะแนนและสรุปมติที่ประชุมแต่ละวาระในระหว่างการประชุมถ้าคำถามใดไม่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาในวาระนั้นๆประธานกรรมการ หรือผู้บริหารระดับสูงจะนำไปตอบข้อซักถามในวาระอื่นๆเพื่อให้การใช้เวลาในการพิจารณาแต่ละวาระเป็นไปอย่างเหมาะสม
- เด็มโก้ให้สิทธิผู้ถือหุ้นที่มาลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมได้ภายหลังเริ่มการประชุมแล้ว และมีสิทธิออกเสียงหรือลงคะแนนในวาระที่อยู่ระหว่างการพิจารณาและยังไม่ได้ลงมติ
- เด็มโก้ได้แจ้งมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และบนเว็บไซต์ของเด็มโก้ ทันทีในวันประชุมผู้ถือหุ้นและจัดทำรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นส่งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยภายใน 14 วัน นับจากวันประชุมเสมอ โดยได้บันทึกข้อมูลอย่างถูกต้องครบถ้วน และชัดเจน เกี่ยวกับรายชื่อกรรมการที่เข้าร่วมประชุมและไม่เข้าร่วมประชุม คำถาม-คำตอบ คำชี้แจงที่เป็นสาระสำคัญที่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรืองดออกเสียง รวมทั้งเผยแพร่มติที่ประชุมและรายงานการประชุมผ่านเว็บไซต์ของเด็มโก้ www.demco.co.th
- เด็มโก้เปิดเผยโครงสร้างการถือหุ้นในบริษัทย่อย และบริษัทร่วมอย่างชัดเจนไว้ในรายงานประจำปี เพื่อให้ผู้ถือหุ้นมั่นใจว่ามีโครงสร้างการดำเนินงานที่มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้
เด็มโก้ให้ความสำคัญ และดูแลให้มีการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกันโดยได้ดำเนินการต่างๆ ดังต่อไปนี้
- เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยที่มีสัดส่วนการถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่า ร้อยละ 5 ของจำนวนหุ้นที่ ออกจำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัทโดยอาจเป็นผู้ถือหุ้นรายเดียวหรือหลายรายรวมกันสามารถเสนอวาระการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น สำหรับการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีของเด็มโก้ได้ล่วงหน้าก่อนการประชุมโดยมีหลักเกณฑ์ซึ่งได้ประกาศแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบผ่านทางเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยล่วงหน้า3 เดือน ก่อนสิ้นรอบปีบัญชี(ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2560) รวมทั้งได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบถึงหลักเกณฑ์การพิจารณาบนเว็บไซต์ของเด็มโก้ด้วยโดยคณะกรรมการจะเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมในการบรรจุไว้ในระเบียบวาระการประชุมผู้ถือหุ้นทั้งนี้ ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี2560 ไม่มีผู้ถือหุ้นรายใดเสนอวาระการประชุมผู้ถือหุ้น
- ดำเนินการประชุมผู้ถือหุ้นตามลำดับระเบียบวาระที่ได้แจ้งไว้ในหนังสือเชิญประชุมเสมอ และมีนโยบายที่จะไม่เพิ่มระเบียบวาระการประชุมโดยไม่ได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าทั้งนี้เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้มีโอกาสศึกษาข้อมูลประกอบการพิจารณา ระเบียบวาระต่างๆ ก่อนตัดสินใจ
- อำนวยความสะดวกให้ผู้ถือหุ้นที่ไม่สามารถเข้าประชุมด้วยตนเอง สามารถใช้สิทธิออกเสียงด้วยการมอบฉันทะให้กรรมการอิสระ หรือบุคคลใดๆเข้าร่วมประชุมแทนตนเองได้โดยใช้หนังสือมอบอำนาจแบบหนึ่งแบบใดที่เด็มโก้ได้จัดส่งไปพร้อมกับหนังสือเชิญประชุม ซึ่งเป็นรูปแบบที่ผู้ถือหุ้นสามารถกำหนดทิศทางการลงคะแนนเสียงเองได้ตามแบบที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดโดยเด็มโก้ ได้แนบเอกสารและหลักฐานที่ผู้เข้าร่วมประชุมต้องแสดงก่อนเข้าร่วมประชุมวิธีการมอบฉันทะการลงทะเบียน และการออกเสียงลงคะแนนไปพร้อมกับหนังสือเชิญประชุมพร้อมทั้งมีข้อมูลของกรรมการอิสระที่เด็มโก้ กำหนดให้เป็นผู้รับมอบฉันทะจากผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการอิสระที่มิได้มีส่วนได้เสียในวาระการพิจารณาเลือกตั้งกรรมการไว้ในหนังสือเชิญประชุมโดยผู้ถือหุ้นสามารถดาวน์โหลดแบบหนังสือมอบฉันทะผ่านเว็บไซต์ของเด็มโก้
- จัดให้มีเอกสารเชิญประชุมผู้ถือหุ้น สำหรับผู้ถือหุ้น รวมทั้งจัดให้มีพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญทางภาษาคอยให้ความสะดวกแก่ผู้ถือหุ้นชาวต่างประเทศในกรณีที่มีผู้ถือหุ้นชาวต่างชาติซักถามข้อสงสัยหรืออภิปรายในที่ประชุมโดยเด็มโก้จะจัดให้มีการสื่อสารที่เหมาะสม พร้อมทั้งมีการแปลเป็นภาษาไทยทั้งคำถาม และคำตอบสำหรับผู้เข้าประชุมท่านอื่นในที่ประชุมเพื่อรักษาผลประโยชน์และอำนวยความสะดวกในการสื่อสารทั้งผู้ถือหุ้นชาวไทยและชาวต่างชาติ
- จัดให้มีบัตรลงคะแนนเสียงทุกระเบียบวาระ โดยจัดทำบัตรลงคะแนนแยกตามวาระ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถลงคะแนนได้ตามที่เห็นสมควรซึ่งในระหว่างประชุมจะมีการเก็บบัตรลงคะแนนแยกตามวาระโดยเด็มโก้จะได้นำระบบบาร์โค้ด (Bar code) มาใช้ในการบันทึกและแสดงผลการลงคะแนนดังกล่าวพร้อมทั้งจัดให้มีเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกในการจัดเก็บบัตรลงคะแนนเสียงในห้องประชุมเพื่อนำผลคะแนนของผู้ถือหุ้นที่เข้าประชุมมาคำนวณกับคะแนนเสียงที่ผู้ถือหุ้นได้ลงไว้ล่วงหน้าในหนังสือมอบฉันทะก่อนประกาศผลคะแนนเสียงและมติที่ประชุมและเพื่อความโปร่งใส เด็มโก้ได้จัดเก็บบัตรลงคะแนนเสียงของผู้ถือหุ้น โดยให้ที่ปรึกษาอิสระจากภายนอก และอาสาสมัครจากผู้ถือหุ้นเป็นสักขีพยานในการนับคะแนน
- ในวาระเลือกตั้งกรรมการ เด็มโก้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นได้ใช้สิทธิในการเลือกตั้งกรรมการ เป็นรายบุคคล โดยผู้ที่รับคะแนนเสียงเห็นด้วยสูงสุดตามจำนวนกรรมการที่พึงได้รับเลือกตั้งในครั้งนั้นจะได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมการนอกจากนั้นกรรมการที่ได้รับเลือกตั้งแต่ละคนจะต้องได้คะแนนเสียงกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและออกเสียงลงคะแนนด้วย
- เด็มโก้ กำหนดให้คณะกรรมการ และผู้บริหารของเด็มโก้ ตามคำนิยามของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ต้องรายงานการมีส่วนได้เสียและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของตนและบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการของเด็มโก้หรือบริษัทย่อย และเมื่อเข้าดำรงตำแหน่งเป็นครั้งแรกและให้รายงานทุกครั้งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลการมีส่วนได้เสียตามแบบที่คณะกรรมการเห็นชอบให้แก่ประธานกรรมการตรวจสอบทันทีที่ได้รับแจ้งจากเด็มโก้และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเพื่อให้เป็นไปโดยด้วย พรบ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 และสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวในการตรวจสอบและป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์
- การให้สิทธิผู้ถือหุ้น มีสิทธิออกเสียงที่เท่าเทียมโดยถือว่าหุ้นแต่ละหุ้นมีคะแนนเสียงหนึ่งเสียง
- ในการประชุมคณะกรรมการบริษัท หากคณะกรรมการคนหนึ่งคนใดมีส่วนได้เสียกับผลประโยชน์ในเรื่องที่กำลังพิจารณา กรรมการที่มีส่วนได้เสียจะต้องไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องนั้นโดยอาจไม่เข้าร่วมประชุมหรืองดออกเสียง เพื่อให้การตัดสินใจของคณะกรรมการบริษัทเป็นไปอย่างยุติธรรม เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นอย่างแท้จริง
- เด็มโก้ กำหนดองค์ประชุมขั้นต่ำ ณ ขณะที่คณะกรรมการจะลงมติต้องมีคณะกรรมการไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมดด้วย
เด็มโก้ให้ความสำคัญต่อสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นผู้มีส่วนได้เสียภายใน ได้แก่ พนักงานและผู้บริหาร และบริษัทย่อยหรือผู้มีส่วนได้เสียภายนอกได้แก่ ผู้ถือหุ้น ลูกค้า รัฐบาล ผู้ร่วมทุน คู่ค้า เจ้าหนี้ สังคม ชุมชน และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มั่นใจได้ว่าสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้มีส่วนได้เสียเหล่านี้ได้รับความคุ้มครองและดูแลเป็นอย่างดีตามข้อกำหนดของกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากเด็มโก้ตระหนักถึงแรงสนับสนุนจากผู้ที่มีส่วนได้เสียต่างๆซึ่งสร้างความสามารถในการแข่งขัน และสร้างกำไรให้กับเด็มโก้ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างความสำเร็จในระยะยาวของเด็มโก้ โดยคณะกรรมการได้กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติที่ดีการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรม จรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจซึ่งได้เผยแพร่ข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์ของเด็มโก้ด้วย และในการดำเนินการต่างๆ ของเด็มโก้เคารพสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียในทุกๆที่ ที่เด็มโก้ดำเนินธุรกิจเสมอ นอกจากนี้ เด็มโก้ได้จัดทำรายงานความยั่งยืนทั้งในส่วนหนึ่งในรายงานประจำปีและแยกต่างหากเป็นรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามกรอบมาตรฐานสากล(ดูรายงานความยั่งยืนประจำปี 2560)
การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียของเด็มโก้
เด็มโก้มีเจตนารมณ์ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างบริษัทกับผู้มีส่วนได้เสียในการสร้างความมั่นคงทางการเงิน และความยั่งยืนของกิจการในปี2560 เด็มโก้ได้มีการดูแล และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มโดยคำนึงถึงสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมาย หรือข้อตกลงที่มีกับบริษัทฯและได้กำหนดแนวทางปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียดังที่ได้กำหนดเป็นจริยธรรม และจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจ จรรยาบรรณกรรมการและพนักงานมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้บริหาร และพนักงาน
เพื่อเป็นการแสดงถึงพันธะสัญญาที่จะร่วมกันยึดถือสาระสำคัญในแนวทางการปฏิบัติงาน เพื่อสร้างความมั่นใจว่าเด็มโก้จะพัฒนาระบบการจัดการให้เหมาะสมเน้นการสร้างประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น ตลอดจนคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย มีความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม จึงได้ขอให้บุคลากรทุกระดับของเด็มโก้ทำความเข้าใจลงนามรับทราบและยอมรับเป็นหลักปฏิบัติของเด็มโก้ ดังนี้
ผู้ถือหุ้น
- เด็มโก้ มุ่งมั่นในการเป็นตัวแทนที่ดีของผู้ถือหุ้นในการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยคำนึงถึงความเจริญเติบโตของมูลค่าบริษัทในระยะยาวและผลตอบแทนที่ดี
- เด็มโก้ ยึดมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ มีคุณธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต เป็นธรรม โดยคำนึงถึงผู้ถือหุ้นทั้งรายใหญ่ และรายย่อยหรือผลประโยชน์ของกลุ่มผู้เกี่ยวข้องโดยรวม
- เด็มโก้ บริหารกิจการของเด็มโก้ให้มีความเจริญก้าวหน้า มั่นคง และก่อให้เกิดผลตอบแทนที่ดีแก่ผู้ถือหุ้น
- เด็มโก้ เปิดเผยข้อมูลและสารสนเทศทั้งทางการเงินและไม่ใช่ทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ และผลประกอบการของเด็มโก้ที่เป็นจริงอย่างครบถ้วนเพียงพอสม่ำเสมอทันเวลา และแสดงให้เห็นสภาพของการประกอบการ และสภาพทางการเงินที่แท้จริงของเด็มโก้
พนักงาน
- เด็มโก้ ถือว่าพนักงานเป็นทรัพยากรที่สำคัญ เป็นปัจจัยหนึ่งสู่ความสำเร็จ คณะกรรมการจึงมีนโยบายเกี่ยวกับการดูแลเรื่องค่าตอบแทนและสวัสดิการของพนักงานและเปิดเผยระเบียบว่าด้วยสิทธิประโยชน์ของพนักงาน โดยการแจ้งเป็นหนังสือเวียนให้พนักงานรับทราบ และลงไว้ในIntranet ส่งเสริมให้มีการพัฒนาศักยภาพความรู้ ความสามารถของพนักงานทุกระดับ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี
- เด็มโก้ จัดให้มีช่องทางรับเรื่องร้องเรียน หากมีปัญหาระหว่างพนักงาน หรือระหว่างพนักงานกับผู้บังคับบัญชา พนักงานมีสิทธิร้องทุกข์โดยผู้ที่รับผิดชอบดำเนินการตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนที่กำหนดไว้ และหากพิสูจน์ได้ว่ากระทำไปโดยสุจริตจะได้รับความคุ้มครองโดยไม่ส่งผลกระทบใดๆซึ่งเด็มโก้ จะไม่ถือเป็นการเลิกจ้างหรือการพิจารณาลงโทษที่จะส่งผลเสียต่อพนักงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องแต่ประการใด
- เด็มโก้ มีนโยบายการอนุรักษ์พลังงาน และแนวทางในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้บริหารถือเป็นหน้าที่ของพนักงานทุกคนที่ต้องร่วมมือกันใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุดภายใต้แนวคิด Green Business and Infrastructure
- เด็มโก้ ได้มีแนวทางในการพัฒนาบุคลากรที่ชัดเจนพร้อมทั้งปฏิบัติกับพนักงานอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน มีการสำรวจความพึงพอใจของพนักงานภายใต้โครงการIDEMCO พร้อมทั้งให้ความมั่นใจในคุณภาพชีวิตตลอดเวลาการทำงาน และการให้ผลตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสม และเป็นธรรมเช่น การจัดให้การตรวจสุขภาพประจำปีการจัดให้มีสวัสดิการประกันชีวิตกลุ่ม การจัดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- เด็มโก้ ดูแลความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีมาตรการไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด ตามมาตรฐานสากล กับดำเนินการเพื่อควบคุมป้องกันความสูญเสียในรูปแบบต่างๆอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุอัคคีภัย การบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน ตลอดจนรักษาสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยต่อพนักงานบริษัทฯ จัดให้มีอุปกรณ์ความปลอดภัยอย่างเพียงพอและเหมาะสม
รัฐบาล
- เด็มโก้ ถือปฏิบัติเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อภาครัฐ โดยดำเนินธุรกิจภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมายและระเบียบต่างๆ ของหน่วยงานที่กำกับดูแลอย่างเคร่งครัดและให้การสนับสนุนโครงการจากภาครัฐโดยมีเป้าหมายเพื่อประโยชน์สูงสุดของสังคมส่วนรวม พร้อมทั้งให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วนถูกต้องตามที่หน่วยงานภาครัฐร้องขอเพื่อแสดงถึงความโปร่งใส ตลอดจนสร้างความมั่นใจ และความเชื่อถือร่วมกัน
สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม
- เด็มโก้ ได้แบ่งปันคุณค่าขององค์กร โดยการส่งเสริมการปลูกจิตสำนึกในเรื่องของการดูแลสุขภาพ และความปลอดภัยกับผู้ร่วมงาน และชุมชนรอบด้านผ่านการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของมูลนิธิแสงไซกี่การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์โดยบริษัทร่วมกับโรงพยาบาลปทุมธานี สภากาชาดไทยเปิดรับบริจาคโลหิตจากผู้บริหาร พนักงาน และประชาชนทั่วไปอย่างสม่ำเสมอทุก 3 เดือน การตรวจสอบความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าให้กับโรงเรียนและวัด ในชุมชนใกล้เคียงบริษัท
- เด็มโก้ ให้ความสำคัญในความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ทำงานในกระบวนการดำเนินธุรกิจ โดยมุ่งมั่นที่จะบริหารจัดการเพื่อเพิ่มผลกระทบเชิงบวกและลดผลกระทบเชิงลบ เพื่อให้เด็มโก้อยู่ร่วมกับชุมชน และสังคมในพื้นที่ปฏิบัติการโดยสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันร่วมแก้ปัญหาเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ชุมชนและสังคมได้อย่างยั่งยืน(ดูรายละเอียดได้ที่รายงานความยั่งยืนประจำปี 2560)
คู่ค้า
- เด็มโก้ จะดำเนินการคัดเลือกคู่ค้าตามหลักเกณฑ์ คุณสมบัติ คุณลักษณะ ที่ได้กำหนดไว้ในข้อกำหนดของเด็มโก้ รวมถึงการจัดซื้อจัดหาที่มีหลักเกณฑ์ และขั้นตอนตามระเบียบและข้อกำหนดของเด็มโก้ ว่าด้วยระเบียบการจัดซื้อ จัดหา ดำเนินการอย่างโปร่งใสให้ข้อมูลแก่คู่ค้าอย่างเท่าเทียมถูกต้องไม่มีอคติ ไม่เลือกปฏิบัติต่อคู่ค้า รวมถึงเป็นการสนับสนุนคู่ค้าที่ดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม ซื่อสัตย์ สุจริตมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
- เด็มโก้ ยึดมั่นในการปฏิบัติตามสัญญา ข้อตกลง หรือเงื่อนไขต่างๆ ที่มีต่อคู่ค้าของเด็มโก้ บนพื้นฐานของความเสมอภาค และเป็นธรรมพร้อมทั้งสื่อสารและพัฒนากระบวนการของการดำเนินธุรกิจที่ดีเพื่อประโยชน์สูงสุดทั้งสองฝ่าย
- เด็มโก้ ไม่เรียกรับ และต่อต้านการกระทำหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ไม่สุจริต เอารัดเอาเปรียบ แก่คู่ค้า
- เด็มโก้ ได้มีการพัฒนาช่องทางและร้องเรียนในการติดต่อกับเด็มโก้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับคู่ค้า และผู้มีส่วนได้เสียทั้งช่องทางออนไลน์และออปไลน์พร้อมทั้งมีส่วนงานที่รับผิดชอบโดยตรงในการดูแลบริหาร และรับเรื่องร้องเรียน
คู่แข่ง
- เด็มโก้ ดำเนินธุรกิจบนการแข่งขันเสรี และคำนึงถึงการแข่งขันอย่างเป็นธรรม เด็มโก้ ไม่ทำความตกลงใดๆ กับคู่แข่งขัน หรือบุคคลใดที่มีลักษณะเป็นการลดหรือจำกัดการแข่งขันทางการค้าหรือส่งผลให้เกิดการแข่งขันอย่างไม่เป็นธรรม รวมถึงการกำหนดราคา การฉ้อโกง การประมูล การจัดสรรตลาดและข้อตกลงในการจำกัดการจัดหา
- การให้ หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจของบริษัทแก่พันธมิตรทางธุรกิจ หรือกิจการร่วมค้า เด็มโก้ จะให้ความร่วมมือกับคู่แข่งทางการค้าหากเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้รับบริการและต้องได้รับอนุมัติจากผู้บริหารระดับสูงก่อนเสมอ
เจ้าหนี้
- เด็มโก้ ปฏิบัติต่อเจ้าหนี้อย่างเป็นธรรม มีความรับผิดชอบ และโปร่งใส โดยปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญาที่มีต่อเจ้าหนี้อย่างเคร่งครัดและเท่าเทียมกันทั้งในแง่การชำระเงิน และเงื่อนไขอื่นใดที่ได้ทำข้อตกลงไว้กับเจ้าหนี้ เด็มโก้ไม่ใช้เงินทุนที่ได้จากการกู้ยืมเงินไปในทางที่ขัดกับวัตถุประสงค์ในข้อตกลงที่ทำกับผู้ให้กู้ยืมเงินตลอดจนไม่ใช้วิธีการที่ไม่สุจริตปกปิดข้อมูล หรือข้อเท็จจริงอันจะทำให้เจ้าหนี้เกิดความเสียหาย
ลูกหนี้
- เด็มโก้ จะปฏิบัติตามสัญญาข้อตกลง หรือเงื่อนไขต่างๆที่มีต่อลูกหนี้โดยไม่เลือกปฏิบัติในการติดตามเร่งรัดหนี้สิน กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติได้ต้องรีบเจรจากับลูกหนี้เป็นการล่วงหน้าเพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหา และป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย โดยใช้หลักกฎหมายควบคู่กับหลักธรรมาภิบาล
- เด็มโก้ จะดำเนินการรายงานข้อมูลลูกหนี้ค้างชำระที่ถูกต้อง ครบถ้วน และตรงเวลาให้แก่ลูกหนี้อย่างสม่ำเสมอ และจะปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบปฏิบัติและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติที่มีต่อลูกหนี้
ลูกค้าและประชาชน
- เด็มโก้ ให้ความร่วมมือ สนับสนุนการพัฒนาชุมชน ส่งเสริมวัฒนธรรม และคุณภาพชีวิตของสังคมรอบๆ พื้นที่ตั้ง และใกล้เคียงหน่วยงานของเด็มโก้โดยคำนึงถึงทางเลือกที่มีผลกระทบต่อความเสียหายของสังคมสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของประชาชนให้น้อยที่สุด
- เด็มโก้ ไม่กระทำการใดๆ ที่ส่งผลเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
- เด็มโก้ มุ่งมั่นในการสร้างความพึงพอใจ และความมั่นใจให้กับลูกค้า ให้ได้รับบริการที่ดี มีคุณภาพ มีมาตรฐานสูงอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
นโยบายและแนวทางปฏิบัติด้านทรัพย์สินทางปัญญา
เด็มโก้ มีนโยบายและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการไม่ล่วงละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาหรือลิขสิทธิ์ โดยกำหนดไว้ในจริยธรรมและจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจและให้คำจำกัดความของทรัพย์สินทางปัญญาหมายความรวมถึงสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า ความลับทางการค้าหรือข้อมูลอื่นใดที่เป็นทรัพย์สินมีค่าของเด็มโก้พนักงานมีหน้าที่ปกป้องดูแลรักษาทรัพย์สินทางปัญญาของเด็มโก้ให้พ้นจากการนำไปใช้หรือเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาตและต้องเคารพลิขสิทธิ์ของเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ
แม้ว่าบริษัท กำหนดให้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการดำเนินธุรกิจ และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานแต่เป็นความรับผิดชอบร่วมกันของพนักงานเด็มโก้ทุกคนที่จะต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารภายใต้ข้อบังคับของกฎหมายคำสั่งเด็มโก้ และตามมาตรฐานที่เด็มโก้กำหนด ซึ่งพนักงานทุกคนต้องมีวินัยในการใช้ระบบสารสนเทศและอุปกรณ์สื่อสารของเด็มโก้โดยไม่ให้ส่งผลกระทบในแง่ลบต่อเด็มโก้และผู้อื่น และจะต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟแวร์ หรือทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นทั้งนี้หากเด็มโก้พบว่าพนักงานมีการละเมิดและผลการสอบสวนอย่างเป็นธรรมปรากฎว่าเป็นจริงจะได้รับการพิจารณาลงโทษทางวินัย และ/หรือโทษกฎหมายตามความเหมาะสมแล้วแต่กรณี
นโยบายและแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
เด็มโก้ กำหนดให้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการดำเนินธุรกิจ และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานฉะนั้นจึงเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของพนักงานเด็มโก้ทุกคนที่จะต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารภายใต้ข้อบังคับของกฎหมายคำสั่งเด็มโก้ และตามจริยธรรมและจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจ หมวด 7 การปฏิบัติต่อข้อมูลและทรัพย์สิน7.5 การใช้และดูแลระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทและจรรยาบรรณพนักงาน ว่าด้วยการสื่อสาร และการแสดงออกในนามเด็มโก้ที่กำหนดให้พนักงานเด็มโก้ทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกันและดูแลให้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของเด็มโก้ที่อยู่ในความครอบครองหรือหน้าที่รับผิดชอบของตนเองไม่ให้ถูกบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าถึงโดยมิชอบและต้องไม่เปิดเผยข้อมูลที่มีความสำคัญทางธุรกิจต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งต้องมีวินัยในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของเด็มโก้ไม่ให้ส่งผลกระทบในแง่ลบต่อเด็มโก้ และผู้อื่น
ทั้งนี้ หากเด็มโก้พบว่าพนักงานมีการละเมิด และผลการสอบสวนอย่างเป็นธรรมปรากฎว่าเป็นจริงจะได้รับการพิจารณาลงโทษทางวินัย และ/หรือโทษกฎหมายตามความเหมาะสมแล้วแต่กรณี
นโยบายและแนวปฏิบัติด้านการเคารพกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชน
การดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของการเคารพและปฏิบัติตามกฏหมายนั้น เป็นสิ่งที่บุคลากรทุกคนใน เด็มโก้ ตระหนักและให้ความสำคัญ โดยกำหนดไว้ในจรรยาบรรณเด็มโก้ในคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ เด็มโก้ ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ ข้อกำหนด และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวัง
เด็มโก้ มุ่งเน้นให้การดำเนินงานของคณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนต้องปฏิบัติต่อกันและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายด้วยความเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกันบนพื้นฐานศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์หรือไม่กระทำการให้กระทบสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่นที่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายโดยแนวปฏิบัติดังกล่าวข้างต้นเป็นมาตรฐานจริยธรรมองค์กรที่บุคคลากรทุกคนในเด็มโก้ ต้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ซึ่งหากมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามก็จะถูกลงโทษ ตามความร้ายแรงแห่งการกระทำและถือเป็นการกระทำผิดทางวินัยด้วย
เด็มโก้ ให้ความสำคัญต่อกิจกรรมที่อาจมีผลต่อหลักสิทธิมนุษยชน ในทุกๆ ด้าน โดยยึดถือ และปฏิบัติตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยบริษัทมีนโยบายอย่างชัดเจนที่จะไม่จ้างแรงงานเด็กยึดมั่นในเสรีภาพของการนับถือศาสนา การไม่เลือกปฏิบัติจากความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติศาสนา เพศ และสถานะภาพทางสังคมนอกจากนี้บริษัทยังให้ความเคารพต่อหลักสิทธิมนุษยชนของพนักงานทุกระดับชั้น อย่างเคร่งครัดโดยจะปกป้อง และไม่นำข้อมูลส่วนตัวของพนักงาน เช่นประวัติส่วนตัว ค่าจ้างเงินเดือน ฯลฯ ไปเปิดเผยให้กับบุคคลภายนอก หรือผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบ โดยยังไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานและได้กำหนดให้มีการใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติงานจัดทำเป็นคู่มือ ให้กับพนักงานได้รับทราบถึงกฎ ระเบียบ และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานผ่านการปฐมนิเทศน์ก่อนการเริ่มปฏิบัติงาน
ช่องทางการติดต่อร้องเรียน หรือการแจ้งเบาะแส
เด็มโก้ ให้ความสำคัญต่อการติดต่อสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ตลอดจนรับฟังความคิดเห็นและคำแนะนำของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มเพื่อประโยชน์ร่วมกันในกรณีที่ผู้มีส่วนได้เสียไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการปฏิบัติของเด็มโก้ สามารถร้องเรียน แนะนำ ติชมหรือแจ้งเบาะแส ต่อ เด็มโก้ ได้หลายด้านทั้งด้านธรรมาภิบาล รวมถึงพฤติกรรมที่อาจส่อถึงการทุจริตหรือประพฤติมิชอบของบุคคลในองค์กรทั้งจากพนักงานเองและผู้มีส่วนได้เสียอื่นด้วย เด็มโก้ ให้ความสำคัญกับการเก็บข้อมูลร้องเรียนเป็นความลับ ซึ่งเรื่องร้องเรียนดังกล่าวจะรับรู้เพียงเฉพาะในกลุ่มบุคคลที่ได้รับมอบหมายและเกี่ยวข้องด้วยเท่านั้นเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ร้องเรียนและได้กำหนดขั้นตอนการรับเรื่องและสอบสวนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรโดยเด็มโก้ ได้จัดทำช่องทางการติดต่อร้องเรียน หรือแจ้งเบาะแส ดังนี้
- คณะกรรมการสรรหาค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล E-mail address : goodgovernance@demco.co.th
- เลขานุการบริษัทฯ Email address : paitoongcc@demco.co.th
- เลขานุการคณะกรรมการสรรหาค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล Email address : wonruedee@demco.co.th
- ตู้รับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ติดตั้ง ณ สำนักงานใหญ่
ส่งจดหมาย หรือช่องทางอื่นตามสมควรและปลอดภัย ถึง สำนักงานตรวจสอบ บริษัท เด็มโก้ จำกัด (มหาชน) เลขที่ 59 ม.1 ต.สวนพริกไทยอ.เมืองจ.ปทุมธานี 12000 หรือโทรสาร 02-9595811 ต่อ 2018
ซึ่งเด็มโก้มีมาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน โดยถือว่าข้อมูลที่เกี่ยวข้องเป็นความลับและจะดำเนินการพิสูจน์หาข้อเท็จจริง เพื่อดำเนินการตามความเหมาะสมต่อไป
มาตรการคุ้มครองผู้ที่ร้องเรียนหรือให้ข้อมูลด้วยเจตนาสุจริต
- ผู้รายงาน ผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือสามารถเลือกที่จะไม่เปิดเผยตนเองได้ หากเห็นว่าการเปิดเผยนั้นจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยหรือเกิดผลกระทบในทางลบใดๆ
- เด็มโก้ถือว่าข้อมูลที่เกี่ยวข้องเป็นความลับ และจะเปิดเผยเท่าที่จำเป็นโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและผลกระทบในทางลบของผู้รายงานแหล่งที่มาของข้อมูลหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นสำคัญและผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสอบสวนหรือหาข้อเท็จจริงมีหน้าที่ในการรักษาความลับของผู้ให้ข้อมูลอย่างเคร่งครัด ผู้ใดฝ่าฝืนเด็มโก้ จะถือเป็นการกระทำผิดวินัยร้ายแรง
- หากมีการกระทำที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้ร้องเรียน หรือผู้แจ้งเบาะแส หรือผู้ที่เป็นพยาน ถือเป็นการกระทำผิดวินัยร้ายแรง และอาจเป็นความผิดตามกฎหมายได้
- กรณีที่ผู้ร้องเรียนเห็นว่าตนอาจได้รับความไม่ปลอดภัย หรืออาจเกิดผลกระทบในทางลบ ผู้ร้องเรียนสามารถร้องขอให้เด็มโก้กำหนดมาตรการคุ้มครองที่เหมาะสมได้หรือเด็มโก้อาจกำหนดมาตรการคุ้มครองโดยผู้ร้องเรียนไม่ต้องร้องขอหากเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีแนวโน้มที่จะเกิดผลกระทบในทางลบหรือความไม่ปลอดภัย
- ผู้ที่ได้รับผลกระทบในทางลบจะได้รับการบรรเทาความเดือดร้อนด้วยกระบวนการที่มีความเหมาะสมและเป็นธรรม
ในการเปิดเผยข้อมูลสำคัญของ เด็มโก้ นอกจากเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่กำหนดผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว เด็มโก้จะเผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ของเด็มโก้ ด้วย เช่น รายงานประจำปี นโยบายการกำกับดูแลกิจการ ข้อมูลบริษัท ข่าวประชาสัมพันธ์ โดยการปรับปรุงเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ผู้ถือหุ้นและบุคคลภายนอกสามารถรับข้อมูลข่าวสารได้ทันต่อเหตุการณ์เข้าถึงโดยสะดวก และได้รับประโยชน์มากที่สุด ดังนี้
- สารสนเทศที่สำคัญของ เด็มโก้ ประกอบด้วย ข้อมูลทางการเงิน และข้อมูลที่ไม่ใช่ทางการเงิน การเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน โดยเฉพาะในส่วนของงบการเงินนั้นได้ผ่านการสอบทาน/ตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีว่าถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปและผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ/คณะกรรมการเด็มโก้ก่อนเปิดเผยแก่ผู้ถือหุ้นโดยคณะกรรมการเด็มโก้ รายงานความรับผิดชอบต่อรายงานทางการเงินควบคู่กับรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบและรายงานของผู้สอบบัญชีในรายงานประจำปีด้วยนอกจากนี้ เด็มโก้ ได้เปิดเผยรายการระหว่างกัน รวมถึงบทวิเคราะห์ของฝ่ายบริหารไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี2560 (แบบ56-1) และรายงานประจำปี (แบบ 56-2) เป็นต้น
- ข้อมูลต่างๆ ของ เด็มโก้ ที่ได้เปิดเผยแก่สาธารณชน ผู้ถือหุ้น และนักลงทุน เด็มโก้ เผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ของ เด็มโก้ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเช่นข้อมูลบริษัท ประวัติคณะกรรมการ เด็มโก้ รายงานประจำปี รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน หนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้น คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีของเด็มโก้และคู่มือจริยธรรมและจรรยาบรรณของ เด็มโก้ ปี 2560
- เด็มโก้ ได้เปิดเผยประวัติของคณะกรรมการเด็มโก้ และบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการชุดย่อย 5 ชุด ตามข้อบังคับ จำนวนครั้งของการประชุมและจำนวนครั้งที่กรรมการแต่ละคนเข้าร่วมประชุมในปี2560 และเปิดเผยการจ่ายค่าตอบแทนกรรมการที่เป็นไปตามมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นและผู้บริหารระดับสูงไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี2560(แบบ 56-1) และรายงานประจำปี (แบบ 56-2) ด้วย
- เด็มโก้ จัดให้มีนักลงทุนสัมพันธ์เพื่อทำหน้าที่สื่อสารข้อมูลสำคัญต่อนักลงทุน นักลงทุนรายย่อย ผู้ถือหุ้น และนักวิเคราะห์หลักทรัพย์เด็มโก้ได้ให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลที่มีความถูกต้องครบถ้วน โปร่งใส และทั่วถึง รวมทั้งการนำเสนอผลงาน และการแจ้งสารสนเทศขององค์กรต่อนักลงทุนสถาบันนักลงทุนรายย่อย ผู้ถือหุ้นและนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ตลอดจนผู้เกี่ยวข้อง โดยได้เข้าร่วมให้ข้อมูลในกิจกรรม OpportunityDay ของตลาดหลักทรัพย์ เป็นประจำทุกไตรมาส
- เด็มโก้ ได้เปิดเผยข้อมูลทั่วไป ข้อมูลทางการเงิน บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร (Management Discussion and Analysis:MD&A) ประกอบงบการเงินทุกไตรมาส รวมถึงข้อมูลสำคัญอย่างถูกต้อง ครบถ้วน เป็นไปตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- จัดทำรายงานข้อมูลทางการเงินที่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชี และคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นมั่นใจว่าข้อมูลที่แสดงในรายงานทางการเงินมีความถูกต้อง
คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี
เด็มโก้ให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลกิจการที่ดีมาโดยตลอด โดยกำหนดให้บริษัทต้องจัดทำนโยบายเกี่ยวกับจริยธรรม และจรรยาบรรณทางธุรกิจตลอดจนจริยธรรมและจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจ จรรยาบรรณคณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ตามระบบกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้แก่คณะกรรมการกรรมการผู้บริหารและพนักงานของเด็มโก้ ไว้ยึดถือปฏิบัติตั้งแต่ปี 2549 จากผลการประเมินการปฏิบัติงานของคณะกรรมการครั้งที่1/2560 มีประเด็นสำคัญในเรื่องกระบวนการพิจารณารายการที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้เป็นธรรมการพิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันกับการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์นโยบายการแจ้งเบาะแส การติดตาม และการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส ดังนั้นในการทบทวนแก้ไขปรับปรุงนโยบายกำกับดูแลกิจการที่ดีจริยธรรมและจรรยาบรรณของเด็มโก้จึงได้นำประเด็นเหล่านั้นมาเป็นเนื้อหาในการทบทวนปรับปรุงด้วย นอกเหนือจากการปรับปรุงสาระสำคัญให้ทันสมัยมีความเป็นสากล สอดคล้องกับนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนปี2560 กับหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พรบ.หลักทรัพย์ฯ ประกาศและแนวปฏิบัติของตลาดหลักทรัพย์ฯที่มีการแก้ไขปรับปรุงในปี 2559-2560 กับกฎหมายปปช.มาตรา 123/5 เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติงานที่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานเด็มโก้ทุกคนต้องรับทราบและยึดถือเป็นหลักปฏิบัติอย่างเคร่งครัดนอกจากนี้สายงานบริหารทรัพยากรบุคคลยังใช้คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีฯ เป็นเอกสารสำหรับให้ความรู้แก่พนักงานทุกระดับรวมถึงการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ที่ต้องกำหนดให้มีหัวข้อการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมไว้ในหลักสูตรพื้นฐานที่ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลจัดอบรมพนักงานตามแผนพัฒนาบุคคลของเด็มโก้
วัฒนธรรมองค์กร จริยธรรม และจรรยาบรรณของเด็มโก้
มาตรฐานสูงสุดของการเป็นมืออาชีพ การมีวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งด้วยการมีจริยธรรมและจรรยาบรรณในการปฏิบัติงานที่เด็มโก้นั้นคณะกรรมการเด็มโก้มีระบบและกลไกในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรด้านจริยธรรมที่เข้มแข็งเข้ามาในการพัฒนาระบบนิเวศน์ของธรรมาภิบาลในองค์กรด้วยการสร้างค่านิยมหลักI DEMCO และจิตสำนึกของบุคลากรในบริษัทให้ความสำคัญกับการดำเนินกิจการของเด็มโก้ด้วยความซื่อสัตย์ต่อลูกค้าต่อวิชาชีพ ด้วยความหมายมุ่งมั่น ตั้งใจจริงที่จะประสบความสำเร็จ ด้วยความเชื่อมั่นในการทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพด้วยความรอบรู้ เชี่ยวชาญให้คุณภาพที่ดีแก่ลูกค้า สร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างผลตอบแทนที่ดีแก่ผู้ถือหุ้นอย่างต่อเนื่อง มีความรับผิดชอบต่อสังคมสิ่งแวดล้อมรวมทั้งมุ่งมั่นในการดำเนินงานด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
โดยจริยธรรมและจรรยาบรรณของเด็มโก้ (DEMCO Code of Conduct) กำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจนพนักงานเด็มโก้ทุกคนมีหน้าที่ในการทำความเข้าใจและปฏิบัติตามข้อบังคับระเบียบคำสั่ง และจรรยาบรรณ ตลอดจนนโยบายอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นตามจารีตประเพณี หรือเป็นลายลักษณ์อักษรไม่ว่าจะได้กำหนดไว้ในขณะนี้และ/หรือที่จะกำหนดต่อไปในภายหน้าโดยเคร่งครัด
กรรมการและผู้บริหารพึงแสดงความยึดมั่นต่อจรรยาบรรณ โดยการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับพนักงานอื่น เสริมสร้างบรรยากาศของการทำงานให้เอื้อต่อการปฏิบัติตามจรรยาบรรณรวมทั้งต้องมุ่งมั่นที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดจรรยาบรรณและหากมีการฝ่าฝืน หรือการกระทำใดๆ อันเป็นการหลีกเลี่ยง จะถูกพิจารณาลงโทษตามความร้ายแรงแห่งการกระทำและถือเป็นการกระทำความผิดทางวินัยอีกด้วย
การส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร จริยธรรม และจรรยาบรรณของเด็มโก้
ในปี 2560 เด็มโก้ จัดกิจกรรมส่งเสริมให้พนักงานและลูกจ้างของเด็มโก้ เพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดี มีจริยธรรม จรรยาบรรณในการทำงานสามารถสร้างความสุขในการดำเนินชีวิตและการทำงาน เช่น
- จัดอบรมหลักสูตร "First Aid & CPR" เพื่อให้เข้าใจหลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการช่วยฟื้นคืนชีพเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์หากพบเหตุฉุกเฉินในวันที่ 26 มกราคม 2560 และวันที่ 27 กันยายน 2560
- จัดกิจกรรม Big cleaning Day เพื่อปรับปรุงทัศนียภาพ ภายใต้โครงการ Happy Work Place วันที่ 30 พฤษภาคม 2560
- จัดปฐมนิเทศพนักงานใหม่ ให้พนักงานทราบถึงโครงสร้างการบริหารของบริษัทฯ ข้อบังคับ เกี่ยวกับการทำงาน ระบบบริหารคุณภาพ ISO9001:2008และสวัสดิการที่จะได้รับรวมถึงการเข้าร่วมกิจกรรมภาคสนาม Walk Rally เพื่อ เสริมสร้างพฤติกรรมบุคลากรให้สอดคล้องกับค่านิยมหลักIDEMCO อีกทั้งส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นทีมและปลูกฝังความรักในองค์กรอย่างยั่งยืนวันที่ 28-29 สิงหาคม 2560
- สัมมนาเรื่อง “ธรรมาภิบาลต่อต้านคอร์รัปชั่น” โดยมีคุณสุวิชญ โรจนวานิช เป็นวิทยากร วันที่ 17 กรกฎาคม 2560
- จัดอบรมหลักสูตร “หลักการควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยงและการป้องกันทุจริต” เพื่อเป็น แนวทางสำหรับ บริษัทจดทะเบียนในการนำพาธุรกิจไปสู่การเจริญเติบโตด้วยการสร้างคุณค่ากิจการอย่างยั่งยืนวันที่ 15 กันยายน2560
- กิจกรรมสืบสานประเพณีไทยรดน้ำดำหัวขอพรผู้บริหารเนื่องในเทศกาลวันสงกรานต์ วันที่ 12 เมษายน 2560
- กิจกรรม Safety Top Management Talk เป็นการสื่อสารจากผู้บริหารระดับสูงเพื่อให้กับพนักงานตระหนักในเรื่องความปลอดภัย สุขภาพและอนามัย
- โครงการ DEMCO Blood Donor Day บริษัทฯ ร่วมกับ รพ.ปทุมธานี สภากาชาด จัดโครงการเปิดรับบริจาคโลหิตจากผู้บริหาร พนักงาน และบุคคลทั่วไปเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์โดยจัดให้มี กิจกรรมรับบริจาคโลหิต ทุก 3 เดือน ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2555
- ส่งเสริมพนักงานที่มีความรู้เกี่ยวกับระบบไฟฟ้าเป็นจิตอาสาเข้าร่วมกิจกรรม “Safety to ชุมชน เฝ้าระวังระบบไฟฟ้า” เพื่อตรวจสอบระบบไฟฟ้าให้กับวัดและโรงเรียนในชุมชนบริเวณใกล้เคียงบริษัท
- โครงการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ บริษัทส่งเสริมให้พนักงานที่มีจิตอาสาในการเข้าร่วมออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่กับกลุ่มแพทย์ อาสามูลนิธิแสง-ไช้กีเหตระกูลและ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ทุก 3 เดือน
- บริษัท ได้ส่งตัวแทนพนักงานที่มีจิตอาสา เข้าร่วมจัดโรงทานให้ประชาชนที่มาร่วมพิธีถวายดอกไม้จันทน์ ในนามโรงครัวพระราชทานณบริเวณที่ว่าการ อ.เมือง ปทุมธานี
- จัดกิจกรรมเดิน วิ่งในบริษัท เพื่อรับบริจาคเงินจากผู้บริหารและพนักงาน ร่วมสมทบทุนกับโครงการ “ก้าวคนละก้าวเพื่อ 11 โรงพยาบาลทั่วประเทศ”
- กรรมการผู้จัดการ และพนักงาน เข้าร่วมลงนามปฏิญาณตนสนับสนุนกิจกรรม “วันงดดื่มสุราแห่งชาติทำความดีถวายในหลวง” ในช่วงเข้าพรรษาประจำปี2560 โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี
- กิจกรรม 9 เดือน 9 ทำบุญ 9 วัด ก้าวไปด้วยกัน โดยจัดให้พนักงานท่องเที่ยวและร่วมกันทำบุญไหว้พระ 9 วัด เพื่อความเป็นสิริมงคลเจริญรุ่งเรืองแก่ตนเองครอบครัว และบริษัทฯ ณ วัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- จัดอบรมหลักสูตร "ก้าวสู่องค์กรคุณธรรม เด็มโก้ จำกัด (มหาชน)" รุ่นที่ 1
- จัดทำบอร์ดพระบรมราโชวาทในหลวง รัลกาลที่ 9 ในด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและให้พนักงานมีส่วนร่วมในการแสดงปณิธานการทำงานตามพระบรมราโชวาท
การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
การดำเนินธุรกิจของ เด็มโก้ กับผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจ ต้องดำเนินการอย่างถูกต้อง ตรงไปตรงมา โปร่งใส ซื่อสัตย์ ตรวจสอบได้และไม่คอร์รัปชันโดยปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันของ เด็มโก้ รวมทั้งไม่ทำให้เกิดข้อครหา หรือเสื่อมเสียชื่อเสียงของบริษัทจึงกำหนดนโยบายการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่นไว้ดังนี้
- บุคลากรของ เด็มโก้ ต้องไม่ดำเนินการหรือเข้าไปมีส่วนร่วมในการทุจริตคอร์รัปชั่น การให้/รับ สินบนทุกรูปแบบ ทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยมีหน้าที่ปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี มาตรฐานทางจริยธรรม และจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของเด็มโก้ รวมทั้งระเบียบ และข้อกำหนดอื่นที่เกี่ยวข้อง
- บุคลากรของ เด็มโก้ ต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวังเกี่ยวกับการรับ การให้ของขวัญ ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด รวมถึงค่าบริการต้อนรับและค่าใช้จ่ายอื่นๆทั้งนี้ การให้หรือรับของขวัญและการเลี้ยงรับรอง ต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจหรือตามประเพณีนิยมเท่านั้นโดยมีมูลค่าที่เหมาะสมและต้องไม่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจในการปฏิบัติหน้าที่
- การบริจาคเพื่อการกุศล และการให้เงินสนับสนุนของ เด็มโก้ มีขั้นตอนการตรวจสอบ อนุมัติ และสอบทาน โดยต้องมีเอกสารหลักฐานชัดเจนและสอดคล้องกับระเบียบของเด็มโก้เพื่อให้มั่นใจว่าการบริจาคเพื่อการกุศลหรือการให้เงินสนับสนุนไม่ได้ใช้เป็นข้ออ้างสำหรับการคอร์รัปชั่น
- เด็มโก้ จัดให้มีกระบวนการตรวจสอบระบบและขั้นตอนการปฏิบัติงานขายและการตลาด รวมทั้งงานจัดหาพัสดุและทำสัญญาอย่างสม่ำเสมอรวมถึงการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดทุจริตคอร์รัปชั่นและบริหารจัดการให้มีวิธีการแก้ไขที่เหมาะสม
- เด็มโก้ มีกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล ที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นต่อมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น และมีนโยบายที่จะไม่ลดตำแหน่งลงโทษหรือให้ผลทางลบต่อบุคลากรที่ปฏิเสธ การทุจริตคอร์รัปชั่น แม้ว่าการกระทำนั้นจะทำให้ เด็มโก้ สูญเสียโอกาสทางธุรกิจโดย เด็มโก้มีกระบวนการสื่อสารอย่างชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายดังกล่าว
- ฝ่ายตรวจสอบภายในต้องรายงานผลการประเมินการควบคุมด้วยตนเองต่อสำนักงานตรวจสอบ เพื่อดำเนินการตรวจสอบหากพบประเด็นที่มีการปฏิบัติไม่สอดคล้องกับนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นจะต้องแจ้งหน่วยงานผู้ปฏิบัติเพื่อให้มีการปรับปรุงมาตรการควบคุม
- เด็มโก้ จัดให้มีขั้นตอนในการเก็บรักษาเอกสารและบันทึกต่างๆ ให้พร้อมต่อการตรวจสอบเพื่อยืนยันความถูกต้องและเหมาะสมของรายการทางการเงินตลอดจนขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีรายการใดที่ไม่ได้รับการบันทึกหรือไม่สามารถอธิบายได้ หรือรายการที่เป็นเท็จ
- เด็มโก้ จัดให้มีขั้นตอนเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าการควบคุมภายในของกระบวนการทำบัญชีและการเก็บรักษาข้อมูลได้รับการตรวจสอบภายในเพื่อยืนยันประสิทธิผลของกระบวนการตามมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นและเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าการบันทึกรายการทางการเงินมีหลักฐานอย่างเพียงพอเพื่อใช้ในการตรวจสอบ
- เด็มโก้ จัดให้มีการสื่อสารและฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องแก่บุคลากรของ เด็มโก้ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจอย่างแท้จริงเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นความคาดหวังของเด็มโก้ และบทลงโทษหากไม่ปฏิบัติตามมาตรการนี้
- เด็มโก้ สื่อสารนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นและแนวปฏิบัติไปยังบริษัทย่อย บริษัทร่วมบริษัทอื่นที่ เด็มโก้ มีอำนาจในการควบคุมคู่ค้าทางธุรกิจและผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งสาธารณชน ผ่านช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย เพื่อทราบและนำมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นไปปฏิบัติ
- บุคลากรของ เด็มโก้ ไม่พึงละเลยหรือเพิกเฉยเมื่อพบการกระทำที่อาจฝ่าฝืนมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นโดย เด็มโก้ จัดให้มีช่องทางการแจ้งเบาะแสรวมทั้งเมื่อบุคลากรต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
- ณะทำงานการดำเนินการด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ เด็มโก้ มีหน้าที่รายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นนี้ต่อคณะกรรมการสรรหาค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาลและคณะกรรมการเด็มโก้โดยสม่ำเสมออย่างน้อยปีละครั้ง
- สำนักงานตรวจสอบสามารถรายงานประเด็นที่พบอย่างเร่งด่วนต่อประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการและคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อรายงานต่อคณะกรรมการเด็มโก้
ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
คณะกรรมการเด็มโก้ ถือเรื่องความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ส่วนตน และผลประโยชน์ของบริษัท เป็นนโยบายที่สำคัญ โดยกำหนดเป็นนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีและกำหนดแนวปฏิบัติสำหรับกรรมการผู้บริหาร และพนักงาน ไว้ในจริยธรรมและจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจ ที่กำหนดให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานต้องรายงานการมีส่วนได้เสียของตนเองและบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้โอกาสจากการเป็นกรรมการผู้บริหาร หรือพนักงานของเด็มโก้ แสวงหาประโยชน์ส่วนตนเด็มโก้จึงได้มีการกำหนดข้อปฏิบัติสำหรับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของเด็มโก้ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการทำรายการที่เกี่ยวโยงกับตนเองที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัท
- หากมีความจำเป็นต้องทำรายการที่เกี่ยวโยงกันอันเป็นไปเพื่อประโยชน์ของบริษัท ให้กระทำรายการนั้นเสมือนกับทำรายการกับบุคคลภายนอกทั้งนี้ห้ามมิให้กรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทที่มีส่วนได้เสียในรายการนั้นมีส่วนในการพิจารณาอนุมัติ
- ไม่หาผลประโยชน์ใส่ตนและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยนำสารสนเทศภายในที่ยังไม่ได้เปิดเผยหรือที่เป็นความลับไปใช้หรือนำไปเปิดเผยกับบุคคลภายนอก
- ไม่ใช้เอกสารหรือข้อมูลที่ได้จากการเป็นกรรมการ ผู้บริหารหรือพนักงานของบริษัทในการทำธุรกิจที่แข่งขันหรือเกี่ยวเนื่องกับบริษัท
เด็มโก้ ถือนโยบายด้านความขัดแย้งทางผลประโยชน์เป็นนโยบายสำคัญ ดังนั้นคณะกรรมการตรวจสอบเด็มโก้ จึงได้กำหนดแนวปฏิบัติเรื่องความขัดแย้งทางผลประโยชน์โดยได้รับการอนุมัติเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 7/2560 เพื่อให้ดำเนินการจัดวางระบบการควบคุมเป็นไปอย่างมีมาตรฐานโปร่งใส ในการบริหารจัดการที่ดี
การปฐมนิเทศกรรมการใหม่
เด็มโก้กำหนดให้จัดทำเอกสารปฐมนิเทศสำหรับกรรมการใหม่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งการแนะนำลักษณะประกอบธุรกิจและแนวทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯโดยบริษัทฯ มีนโยบายสนับสนุนให้กรรมการบริษัท เข้าอบรมหลักสูตรจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย(IOD) เพื่อเป็นการพัฒนาสนับสนุน และส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทฯ
เมื่อมีการแต่งตั้งกรรมการใหม่ บริษัทฯ จะจัดให้มีการปฐมนิเทศสำหรับกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งใหม่ โดยจัดให้มีการบรรยายสรุปวิสัยทัศน์กลยุทธ์ และเป้าหมายการดำเนินธุรกิจ และการดำเนินการที่สำคัญโดยประธานกรรมการ ประธานกรรมการบริหาร กรรมการผู้จัดการและ/หรือคณะกรรมการบริหาร พร้อมทั้งจัดให้มีเอกสารสำหรับกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ เพื่อประกอบการทำหน้าที่ อันได้แก่คู่มือกรรมการบริษัทหนังสือบริคณห์สนธิ และข้อบังคับบริษัท และรายงานประจำปี ซึ่งเอกสารเหล่านี้ประกอบด้วยข้อมูลสำคัญ ได้แก่บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัท อำนาจอนุมัติ และข้อห้ามการกระทำของกรรมการบริษัทตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องรวมทั้งบทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ
การพัฒนากรรมการและผู้บริหารระดับสูงของเด็มโก้
บริษัทฯ มีนโยบายส่งเสริมให้กรรมการแต่ละคนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ ลักษณะการประกอบธุรกิจ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจตลอดจนสนับสนุนให้กรรมการทุกคนได้รับการส่งเสริมทักษะและความรู้สำหรับการปฏิบัติหน้าที่กรรมการอย่างสม่ำเสมอ
สำหรับบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการใหม่ จะได้รับการแนะนำ และได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งรวมถึงความเข้าใจในวัตถุประสงค์เป้าหมายหลัก วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยมองค์กร ตลอดจนลักษณะธุรกิจ และแนวทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ
นอกจากนี้กรรมการจะได้รับการอบรม และพัฒนาความรู้ที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย กฎเกณฑ์มาตรฐานความเสี่ยง และสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ และให้ได้รับข้อมูลที่เป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ
สำหรับการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง และการบริหารบุคลากร เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการมีหน้าที่กำกับดูแลให้มีแผนสืบทอดตำแหน่ง(SuccessionPlan) สำหรับเตรียมการสืบทอดตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ และผู้บริหารระดับสูง รวมทั้งส่งเสริม และสนับสนุนให้ผู้บริหารระดับสูงได้รับการอบรมและพัฒนามีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และคุณลักษณะที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมาย
ในปี 2560 มีหลักสูตร การประชุมสัมมนาโครงการอบรมต่างๆ ที่กรรมการ และผู้บริหาร เข้าร่วมประชุมสัมนา อบรม ดังนี้
- การเข้าอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านวิทยาการพลังงาน ดำเนินการโดย สถาบันวิทยาการพลังงาน โดย นายพงษ์ศักดิ์ ศิริคุปต์กรรมการและกรรมการผู้จัดการ
- การเข้าอบรมสัมมนาหลักสูตร Strategic Plan 2016-2017 ดำเนินการโดย Knowledge Base Co., Ltd. โดย นายพงษ์ศักดิ์ ศิริคุปต์กรรมการและกรรมการผู้จัดการ
- การเข้าอบรมสัมมนาหลักสูตร Strategy Focus Move to Implement ดำเนินการโดย Knowledge Base Co., Ltd. โดย นายพงษ์ศักดิ์ ศิริคุปต์กรรมการและกรรมการผู้จัดการ
- การเข้าอบรมสัมมนาหลักสูตร Strategic Plan 2016-2017 ดำเนินการโดย Knowledge Base Co., Ltd. โดย นายไพฑูรย์ กำชัย กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการสายการเงินและบัญชี
- การเข้าอบรมสัมมนาหลักสูตร Strategy Focus Move to Implement ดำเนินการโดย Knowledge Base Co., Ltd. โดย นายไพฑูรย์ กำชัยกรรมการและรองกรรมการผู้จัดการสายการเงินและบัญชี
- การเข้าร่วมอบรมหลักสูตร Advanced Audit Committee Program (AACP) 23/2016 ดำเนินการโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย(IOD)โดยนางสุทธารักษ์ ปัญญา กรรมการตรวจสอบ
- การเข้าร่วมสัมมนา CG Forum 3/2016 ทุจริตในองค์กร ภัยมืดที่ป้องกันและควบคุมได้ ดำเนินการโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยนายสงวนตังเดชะหิรัญ กรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร และกรรมการสรรหาค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล
- การเข้าร่วมสัมมนา CG Forum 3/2016 ทุจริตในองค์กร ภัยมืดที่ป้องกันและควบคุมได้ ดำเนินการโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยนายนริศศรีนวล ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร และกรรมการตรวจสอบ
- การจัดสัมมนาภายในให้กับผู้บริหารในเรื่อง ธรรมาภิบาล ต่อต้านคอร์รัปชั่น โดยมี คุณสุวิชญ โรจนวานิช เป็นวิทยากร
- การจัดอบรมภายในให้กับผู้บริหารในหลักการควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยง และการป้องกันการทุจริต โดยมี คุณพรรณี วรวุฒิจงสถิตเป็นวิทยากร
- การเข้าร่วมอบรมสัมมนาในโครงการ “Bualuang SMART Family Enterprise เพื่อนคู่คิดวิสาหกิจครอบครัวจากรุ่นสู่รุ่น ดำเนินการโดยธนาคารกรุงเทพจำกัด (มหาชน) โดยมี คุณประพีร์ ปุ้ยพันธวงศ์ ประธานกรรมการ และคุณโอฬาร ปุ้ยพันธวงศ์ กรรมการ เข้าอบรม
- การเข้าอบรมหลักสูตรพลังงานสำหรับผู้บริหาร รุ่นที่ 3 ดำเนินการโดยสภาอุตสาหกรรม โดยมี คุณไพฑูรย์ กำชัย รองกรรมการผู้จัดการสายงานสนับสนุนธุรกิจและโครงการขนาดใหญ่
- การเข้าร่วมสัมมนา IOD Director’s Briefing 2/2017 : Directing in The Roaster Hot Issues and Out look for 2017” ดำเนินการโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย(IOD)โดยนายเสริมศักดิ์ จารุมนัส ประธานกรรมการสรรหาค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล
- การเข้าอบรมหลักสูตร Boards That Make a Difference (BMD)5/2017 ดำเนินการโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) โดยนายเสริมศักดิ์จารุมนัสประธานกรรมการสรรหาค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล
- การเข้าร่วมสัมมนา Director Forum 2017 “The Board’s Role in CEO Succession Planning ” ดำเนินการโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย(IOD)โดยนายเสริมศักดิ์ จารุมนัส ประธานกรรมการสรรหาค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล
- การเข้าร่วมสัมมนา National Director Conference 2017 “Steering Governance in a Changing World ” ดำเนินการโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย(IOD)โดยนายเสริมศักดิ์ จารุมนัส ประธานกรรมการสรรหาค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล
- การเข้าร่วมสัมมนา Nomination Director Event 1/2017 “แนวปฏิบัติที่ดีของคณะกรรมการสรรหา” ดำเนินการโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย(IOD)โดยนายเสริมศักดิ์ จารุมนัส ประธานกรรมการสรรหาค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล
- การเข้าร่วมสัมมนา Audit Committee Forum 2017 “The Audit Committee’s Role in Compliance and Ethical Culture Oversight”ดำเนินการโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย(IOD) โดยนางสุทธารักษ์ ปัญญา กรรมการตรวจสอบ
การอบรมกรรมการในหลักสูตรของสถาบันส่งเสริมกรรมการบริษัทไทย(IOD)
ชื่อกรรมการ | DCP | DAP | ACP | RNG | RCP | FN | RMP | AECP | BMD | SFE |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1. นางประพีร์ ปุ้ยพันธวงศ์ |
DCP 194/2014 |
DAP 46/2005 |
RCP 18/2008 |
FN 24/2005 |
||||||
2. นายวิทยา คชรักษ์ |
DCP 25/2546 |
DAP 79/2008 |
ACP 39/2012 |
|||||||
3. นายสงวน ตังเดชะหิรัญ |
DAP 36/2005 |
ACP 6/2005 |
FN 24/2005 |
|||||||
4. นายไมตรี ลักษณโกเศศ |
DCP 96/2007 |
ACP 27/2009 |
||||||||
5. นายเสริมศักดิ์ จารุมนัส |
DCP 199/2015 |
DAP 107/2014 |
RNG 6/2014 |
BMD 5/2017 |
||||||
6. นายนริศ ศรีนวล |
DCP 114/2009 |
AACP 20/2015 |
RMP 6/2015 |
|||||||
7. นายพงษ์ศักดิ์ ศิริคุปต์ |
DAP 46/2005 |
RMP 3/2014 |
AECP 13/2014 |
|||||||
9. นายไพฑูรย์ กำชัย |
DAP 85/2010 |
SFE 6/2010 |
||||||||
9. นางสุทธารักษ์ ปัญญา |
DCP 45/2004 |
AACP 23/2016 |
||||||||
10. นายโอฬาร ปุ้ยพันธวงศ์ |
DCP 221/2016 |
หมายเหตุ | DCP=Director Certification Program | DAP=Director Accreditation Program |
ACP=Audit Committee Program | AACP=Advance Audit Committee Program | |
RNG=Role of the Nomination and Governance Committee | RCP=Role of the Chairman Program | |
FN=Finance for Non finance Director | RMP=Risk Management Program | |
AECP=Anti – Corruption for Executive Program | SFE=Successful Formulation & Execution of Strategy | |
BMD=Boards That Make a Difference |
แผนการสืบทอดตำแหน่ง และพัฒนาผู้บริหาร
เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เด็มโก้มีนโยบายกำกับดูแลให้มีแผนการสืบทอดตำแหน่ง เพื่อเป็นการเตรียมสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงเช่นกรรมการผู้จัดการรองกรรมการผู้จัดการ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ และผู้จัดการฝ่าย เป็นต้น เพื่อให้มั่นใจว่าการวางแผนพัฒนาบุคลากรในตำแหน่งสำคัญและตำแหน่งวิกฤตจะสามารถป้องกันบรรเทา หรือยับยั้ง ความเสี่ยงด้านการบริหาร แผนสืบทอดตำแหน่ง ซึ่งได้แก่ ความเสี่ยงจากตำแหน่งงานผู้บริหารระดับสูงที่มีผลกระทบรุนแรงต่อบริษัทว่างลงความเสี่ยงจากการมีผู้บริหารหัวหน้างานที่ด้อยศักยภาพ ไม่ตรงกับทักษะความสามารถและความเสี่ยงจากผู้บริหาร หัวหน้างานศักยภาพสูงใหม่ไม่เป็นที่ยอมรับของคนภายในบริษัท
ดังนั้น เด็มโก้ จึงกำหนดให้มีนโยบายสรรหา หรือคัดเลือกบุคลากรที่จะสามารถทดแทนบุคลากรในตำแหน่งเสี่ยงได้ รวมทั้งหลักเกณฑ์การสรรหาคัดเลือกโอนย้ายไว้ล่วงหน้า รวมทั้งแสวงหาปัจจัยนำเข้า หรือบุคลากรที่มีโอกาสพัฒนาเพื่อให้เข้าตามสมรรถนะหลักและทักษะจำเป็นเพื่อการพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ทิศทาง แผนกลยุทธ์ พันธกิจ และค่านิยม กับแนวโน้มธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต
การประเมินตนเองของคณะกรรมการ
บริษัทฯ ได้ทำการประเมินคณะกรรมการบริษัทฯ เป็นประจำทุกปี ในปี2560 มีการประเมิน 2 ครั้ง โดยจัดทำการประเมิน 2 รูปแบบ คือ
- แบบประเมินตนเองของคณะกรรมการ
- แบบประเมินทั้งคณะ และคณะกรรมการชุดย่อย
โดยแบบฟอร์มการประเมินครอบคลุมประเด็นสำคัญ ดังนี้
- โครงสร้างและคุณสมบัติของคณะกรรมการ (Board and qualifications)
- บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ (Roles, duties and responsibilities of the Board)
- การประชุมคณะกรรมการ (The Board Meeting)
- การทำหน้าที่ของกรรมการ (Duties of directors)
- ความสัมพันธ์ของคณะกรรมการกับฝ่ายจัดการ (Relationship with management)
- การพัฒนาตนเองของคณะกรรมการและผู้บริหาร (Director’s self improvement and management training)
สรุปการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ ประจำปี 2560 โดยภาพรวมพบว่าคณะกรรมการส่วนใหญ่เห็นว่าควรอยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยมซึ่งคณะกรรมการสรรหาค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล ได้นำเรียนผลการประเมิน และข้อคิดเห็นต่างๆ ต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อร่วมกันสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมบริษัทฯพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัทฯให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
การประเมินตนเองของคณะกรรมการชุดย่อย
นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี ของเด็มโก้ กำหนดให้คณะกรรมการและคณะกรรมการชุดย่อยมีการประเมินผลการปฏิบัติงานด้วยตนเอง อย่างน้อยเป็นละ1ครั้ง ในปี 2560 คณะกรรมการชุดย่อยทุกชุดของเด็มโก้ ได้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานด้วยตนเอง 2 ครั้ง เพื่อให้คณะกรรมการร่วมกันพิจารณาผลงานและปัญหาเพื่อการปรับปรุงแก้ไขต่อไปโดยผลการประเมินตนเองของคณะกรรมการชุดย่อยปี 2560 ทุกชุด อยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม
การประเมินผลการปฏิบิตงานของกรรมการผู้จัดการ
บริษัทฯ จัดทำการประเมินผลการปฏิบัติงานของประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการทุกสิ้นปี โดยมีหลักเกณฑ์การประเมิน ดังนี้
- เป็นไปตามหลักการและนโยบายที่คณะกรรมการกำหนดภายในกรอบที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
- สอดคล้องกับการดำเนินงานของบริษัทและผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารแต่ละคน
- กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารทั้งหมดหรือคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทน เป็นผู้ประเมินผลงานของกรรมการผู้จัดการ เพื่อนำไปใช้ในการพิจารณากำหนดค่าตอบแทนของกรรมการผู้จัดการโดยใช้บรรทัดฐานที่ได้ตกลงกันล่วงหน้ากับกรรมการผู้จัดการตามเกณฑ์ที่เป็นรูปธรรม
ซึ่งรวมถึง
- ผลการดำเนินงานทางการเงิน
- ผลงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ในระยะยาว
- ผลงานด้านการพัฒนาผู้บริหาร
- ผลประเมินข้างต้นจะนำเสนอให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาให้ความเห็นชอบ และให้ประธานกรรมการหรือ กรรมการอาวุโส เป็นผู้สื่อสารผลการพิจารณาให้กรรมการผู้จัดการทราบ
คณะกรรมการชุดย่อย
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ได้ออกหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี หรือ Corporate Governance Code สำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560 โดยเล็งเห็นว่าการสร้างความเชื่อมั่นเพียงประการเดียวยังไม่เพียงพอสำหรับบริษัทจดทะเบียนที่ดี เนื่องจากทั้งภาคธุรกิจ และผู้ลงทุนต่างต้องการผลประกอบการที่ดีของกิจการ กิจการต้องสามารถปรับตัวให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพธุรกิจได้ และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม เพื่อให้บริษัทสามารถเติบโตอยู่รอดได้ในระยะยาว โดยเพิ่มเน้นบทบาทความเป็นผู้นำของคณะกรรมการบริษัทจดทะเบียนที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลกิจการ ตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายหลักของกิจการ จนถึงการติดตามผลการดำเนินงาน ในประเด็นสำคัญๆ คือ การแบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการกับฝ่ายจัดการให้ชัดเจน บทบาทในการกำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมายหลักของกิจการ โดยให้การสร้างคุณค่ากิจการอย่างยั่งยืน คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียเป็นส่วนเดียวกับการประกอบธุรกิจ บทบาทในการกำกับดูแล กลยุทธ์ นโยบาย แผนงาน และงบประมาณโดยสนับสนุนการนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) มาใช้เพิ่มคุณค่า รวมถึงบทบาทในการกำกับดูแลเทคโนโลยีสารสนเทศ บทบาทในการกำกับดูแลให้มีนโยบายเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลลับ และ Market Sensitive Information กับบทบาทในการดูแลความเพียงพอของสภาพคล่องทางการเงิน และความสามารถในการชำระหนี้ และกลไกลในการกอบกู้ฐานะการดำเนินงาน
ในการประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 3/2560 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2560 คณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาอนุมัติปรับโครงสร้างการกำกับดูแลกิจการ เพิ่มคณะกรรมการลงทุน รวมกับคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหาค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร คณะกรรมการบริหาร เป็นคณะกรรมการชุดย่อย 5 ชุด โดยมีองค์ประกอบ ขอบเขต อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ดังนี้
คณะกรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการ เด็มโก้ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ตามข้อกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กำหนดซึ่งประกอบด้วยกรรมการอิสระอย่างน้อย 3 คน และอย่างน้อย 1 คนต้องมีความรู้ทางด้านบัญชีและการเงิน ซึ่งกรรมการที่ได้แต่งตั้งมีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อกำหนด เพื่อทำหน้าที่และรับผิดชอบในด้านต่างๆ ได้แก่ รายงานทางการเงิน การควบคุมภายใน การตรวจสอบภายใน การกำกับดูแลกการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ การปฎิบัติตามหลักจริยธรรม จรรยาบรรณ และการบริหารความเสี่ยง เช่นการสอบทานให้เด็มโก้มีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเพียงพอ การสอบทานว่าฝ่ายบริหารได้กำหนดให้มีระบบควบคุมภายในและการตรวจสอบภายในที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล การสอบทานระบบการบริหารความเสี่ยง รวมถึงเรื่องอื่นๆ ตามที่กำหนดไว้ในกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ นอกจากนี้ คณะกรรมการตรวจสอบยังมีหน้าที่สำคัญในการเสนอแต่งตั้งและเลิกจ้างผู้สอบบัญชีภายนอก พร้อมทั้งเสนอค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชีแก่คณะกรรมการบริษัทเพื่อขออนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเป็นประจำทุกปี
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 คณะกรรมการตรวจสอบประกอบด้วย กรรมการอิสระ จำนวน 4 คน ดังนี้
ชื่อ-นามสกุล | ตำแหน่ง |
---|---|
1. นายวิทยา คชรักษ์ | ประธานกรรมการตรวจสอบ |
2. นายไมตรี ลักษณโกเศศ์ | กรรมการตรวจสอบ |
3. นายนริศ ศรีนวล | กรรมการตรวจสอบ |
4. นางสุทธารักษ์ ปัญญา | กรรมการตรวจสอบ |
โดยมี นางสาววรรณฤดี สุวพันธ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สำนักงานตรวจสอบ ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ
ในปี 2560 คณะกรรมการตรวจสอบจัดให้มีการประชุม 8 ครั้ง การเข้าร่วมประชุมของกรรมการ เป็นดังนี้
รายชื่อ | ตำแหน่ง | การเข้าประชุม/จำนวนครั้งที่ประชุม |
---|---|---|
1. นายวิทยา คชรักษ์ | ประธานกรรมการตรวจสอบ | 8/8 |
2. นายไมตรี ลักษณโกเศศ | กรรมการตรวจสอบ | 6/8 |
3. นายนริศ ศรีนวล | กรรมการตรวจสอบ | 8/8 |
4. นางสุทธารักษ์ ปัญญา | กรรมการตรวจสอบ | 8/8 |
กรรมการลำดับที่ 4 เป็นผู้ซึ่งมีความรู้และประสบการณ์ด้านบัญชีการเงินเพียงพอในการสอบทานความน่าเชื่อถือของงบการเงิน
คณะกรรมการสรรหาค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล
คณะกรรมการบริษัทฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล ประกอบด้วย กรรมการอิสระและกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารของบริษัทฯจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน โดยกรรมการสรรหาฯ ส่วนใหญ่ และประธานกรรมการ ต้องเป็นกรรมการอิสระ โดยมีหน้าที่รับผิดชอบหลักใน 3 เรื่อง ได้แก่
- สรรหากรรมการและเสนอแนะค่าตอบแทนที่เหมาะสมของคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการชุดย่อยต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อให้ความเห็นชอบก่อนเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติ
- สรรหาผู้บริหารระดับสูง และดูแลให้ผู้บริหารระดับสูงได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมกับหน้าที่ และความรับผิดชอบ
- กำหนดนโยบาย และกำกับดูแลงานด้านบรรษัทภิบาลของบริษัท เพื่อให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี หลักธรรมาภิบาลของหน่วยงานที่มีอำนาจกำกับดูแลตามกฎหมายโดยมีรายละเอียดเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎบัตร คณะกรรมการสรรหาค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 คณะกรรมการสรรหาค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล ประกอบด้วยกรรมการอิสระ และกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร จำนวน 3 คน ดังนี้
ชื่อ-นามสกุล | ตำแหน่ง |
---|---|
1. นายเสริมศักดิ์ จารุมนัส | ประธานกรรมการสรรหาค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล |
2. นายไมตรี ลักษณโกเศศ | กรรมการสรรหาค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล |
3. นายโอฬาร ปุ้ยพันธวงศ์ | กรรมการสรรหาค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล |
โดยมี นางสาววรรณฤดี สุวพันธ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการสรรหาค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล
ในปี 2560 คณะกรรมการสรรหาฯ จัดให้มีการประชุม 6 ครั้ง การเข้าร่วมประชุมของกรรมการ เป็นดังนี้
รายชื่อ | ตำแหน่ง | การเข้าประชุม/จำนวนครั้งที่ประชุม |
---|---|---|
1. นายเสริมศักดิ์ จารุมนัส | ประธานกรรมการสรรหาฯ | 6/6 |
2. นายสงวน ตังเดชะหิรัญ* | กรรมการสรรหาฯ | 3/3 |
3. นายไมตรี ลักษณโกเศศ | กรรมการสรรหาฯ | 6/6 |
4. นางสุทธารักษ์ ปัญญา* | กรรมการสรรหาฯ | 2/3 |
5. นายโอฬาร ปุ้ยพันธวงศ์ | กรรมการสรรหาฯ | 3/3 |
* กรรมการลำดับที่ 2, 4 ออกจากตำแหน่งเนื่องจากมีการปรับโครงสร้างคณะกรรมการชุดย่อย ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 4/2560 เมื่อ วันที่ 12 พฤษภาคม 2560
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร
คณะกรรมการบริษัท แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร ประกอบด้วยกรรมการบริษัทอย่างน้อย 3 คน และอย่างน้อย 1 คนต้องเป็นกรรมการอิสระ กับประธานกรรมการควรเป็นกรรมการอิสระ โดยมีภารกิจและความรับผิดชอบหลักในการกำกับดูแลความเสี่ยงของบริษํท และบริษัทในเครือที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจของเด็มโก้ ดังนี้
- กำหนดนโยบาย และแนวทางการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจเด็มโก้ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อพิจารณาในเรื่องของการบริหารความเสี่ยงโดยรวม ซึ่งต้องครอบคลุมถึงความเสี่ยงทั้ง 6 ด้าน 17 ความเสี่ยง โดยมีความเสี่ยงที่สำคัญๆ เช่น ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ความเสี่ยงด้านการเงิน ความเสี่ยงด้านการผลิตและบริการ ความเสี่ยงด้านบริหารองค์กรและทรัพยากรบุคคล เป็นต้น
- วางกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับนโยบายบริหารความเสี่ยง โดยสามารถประเมิน ติดตาม และดูปริมาณความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจเด็มโก้ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
- อนุมัติแบบจำลองความเสี่ยงต่างๆ
- ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการบริหารความเสี่ยง และดูแลให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจเด็มโก้ ดำเนินการตามนโยบายความเสี่ยงที่เด็มโก้กำหนด และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่หน่วยงานราชการกำหนด
- ทบทวนความเพียงพอของนโยบาย และระบบการบริหารความเสี่ยงโดยรวมถึงความมีประสิทธิภาพของระบบ และการปฏิบัติตามนโยบายที่กำหนด
- รายงานต่อคณะกรรมการบริษัทอย่างสม่ำเสมอในสิ่งที่ต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย และกลยุทธ์ที่กำหนด
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กรประกอบด้วยกรรมการ 5 คน ดังนี้
ชื่อ-นามสกุล | ตำแหน่ง |
---|---|
1. นายนริศ ศรีนวล | ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร (กรรมการอิสระ) |
2. นายสงวน ตังเดชะหิรัญ | กรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร (กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร) |
3. นายเสริมศักดิ์ จารุมนัส | กรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร (กรรมการอิสระ) |
4. นายพงษ์ศักดิ์ ศิริคุปต์ | กรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร (กรรมการที่เป็นผู้บริหาร) |
5. นายไพฑูรย์ กำชัย | กรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร (กรรมการที่เป็นผู้บริหาร) |
โดยมี นายศุภกฤต เนื้อทอง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร
ในปี 2560 คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร จัดให้มีการประชุม 6 ครั้ง การเข้าร่วมประชุมของกรรมการเป็นดังนี้
รายชื่อ | ตำแหน่ง | การเข้าประชุม/จำนวนครั้งที่ประชุม |
---|---|---|
1. นายนริศ ศรีนวล | ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร | 6/6 |
2. นายสงวน ตังเดชะหิรัญ | กรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร | 6/6 |
3. นายเสริมศักดิ์ จารุมนัส | กรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร | 6/6 |
4. นายพงษ์ศักดิ์ ศิริคุปต์ | กรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร | 5/6 |
5. นายไพฑูรย์ กำชัย | กรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร | 6/6 |
คณะกรรมการลงทุน
คณะกรรมการลงทุน จัดตั้งโดยคณะกรรมการบริษัท ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2560 เพื่อทำหน้าที่ดูแล และกำหนดแผนการลงทุนของบริษัท ให้เป็นไปตามกรอบนโยบายการลงทุน นโยบายบริหารความเสี่ยง ระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนที่คณะกรรมการบริษัทกำหนด และอยู่ภายใต้ข้อกำหนดของ กลต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และปฏิบัติตามกฎระเบียบรวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
คณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งคณะกรรมการลงทุน จากคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร และคณะกรรมการบริษัท กับกรรมการลงทุนที่เป็นผู้บริหาร 1 คน รวมเป็น 5 คน โดยประธานกรรมการต้องไม่เป็นผู้บริหารของบริษัท มีหน้าที่รับผิดชอบหลักใน 3 เรื่อง ได้แก่
- กำหนดนโยบายและกรอบการลงทุน การบริหารสภาพคล่อง และการกู้ยืมเงินของ เด็มโก้ เพื่อเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการบริษัท
- พิจารณาแผนการลงทุน แผนการบริหารสภาพคล่อง และแผนการกู้ยืม ให้สอดคล้องกับนโยบาย และขอบเขตที่อนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท และให้สอดคล้องกับนโยบายบริหารความเสี่ยง ภายใต้ข้อกำหนดของ กลต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นไปตามกฎระเบียบ รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- กำกับ ดูแล สอบทาน และปรับเปลี่ยนกรอบนโยบาย และแผนดำเนินการลงทุน การบริหารสภาพคล่อง การกู้ยืมเงินให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง และนำเสนอรายงานต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อรับทราบ หรือพิจารณาอนุมัติตามแต่กรณี
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 คณะกรรมการลงทุนประกอบด้วยกรรมการ 5 คน ดังนี้
ชื่อ-นามสกุล | ตำแหน่ง |
---|---|
1. นางสุทธารักษ์ ปัญญา | ประธานกรรมการลงทุน (กรรมการอิสระ) |
2. นายนริศ ศรีนวล | กรรมการลงทุน (กรรมการอิสระ) |
3. นายโอฬาร ปุ้ยพันธวงศ์ | กรรมการลงทุน (กรรมการ) |
4. นายพงษ์ศักดิ์ ศิริคุปต์ | กรรมการลงทุน (กรรมการที่เป็นผู้บริหาร) |
5. นายไพฑูรย์ กำชัย | กรรมการลงทุนและเลขานุการ (กรรมการที่เป็นผู้บริหาร) |
ในปี 2560 คณะกรรมการลงทุน จัดให้มีการประชุม 4 ครั้ง การเข้าร่วมประชุมของกรรมการเป็นดังนี้
รายชื่อ | ตำแหน่ง | การเข้าประชุม/จำนวนครั้งที่ประชุม |
---|---|---|
1. นางสุทธารักษ์ ปัญญา | ประธานกรรมการลงทุน | 4/4 |
2. นายนริศ ศรีนวล | กรรมการลงทุน | 4/4 |
3. นายโอฬาร ปุ้ยพันธวงศ์ | กรรมการลงทุน | 4/4 |
4. นายพงษ์ศักดิ์ ศิริคุปต์ | กรรมการลงทุน | 4/4 |
5. นายไพฑูรย์ กำชัย | กรรมการลงทุน | 4/4 |
คณะกรรมการบริหาร
คณะกรรมการบริษัท แต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร โดยมีจำนวนตามที่เห็นสมควรประกอบด้วยกรรมการบริษัทจำนวนหนึ่งและประกอบด้วยผู้บริหารของบริษัทอีกจำนวนหนึ่ง ประธานกรรมการต้องเป็นกรรมการบริษัท และกรรมการผู้จัดการเป็นกรรมการบริหารโดยตำแหน่ง
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 คณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วยกรรมการบริษัท และกรรมการบริษัทซึ่งเป็นผู้บริหารในระดับ กรรมการผู้จัดการ และรองกรรมการผู้จัดการ ดังนี้
ชื่อ-นามสกุล | ตำแหน่ง |
---|---|
1. นายพงษ์ศักดิ์ ศิริคุปต์ | ประธานกรรมการบริหาร |
2. นายสงวน ตังเดชะหิรัญ | กรรมการบริหาร |
3. นายไพฑูรย์ กำชัย | กรรมการบริหาร |
โดยมี นายไพฑูรย์ กำชัย รองกรรมการผู้จัดการ สายงานบัญชี การเงิน และทรัพยากรบุคคล ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการบริหาร
คณะกรรมการบริหารมีหน้าที่และบทบาทสำคัญในการบริหารงานให้เป็นไปตามกลยุทธ์และนโยบายของบริษัท รวมถึงควบคุมดูแลการบริหารกิจการของบริษัท ตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย โดยมีความรับผิดชอบหลักในการกลั่นกรองเรื่องต่างๆ เพื่อเสนอให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณา รวมถึงพิจารณาอนุมัติเรื่องอื่นๆ ตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้โดยคณะกรรมการบริษัท และในกฎบัตรของคณะกรรมการบริหาร
ในปี 2560 คณะกรรมการบริหารจัดให้มีการประชุม 16 ครั้ง การเข้าร่วมประชุมของกรรมการ เป็นดังนี้
รายชื่อ | ตำแหน่ง | การเข้าประชุม/จำนวนครั้งที่ประชุม |
---|---|---|
1. นายพงษ์ศักดิ์ ศิริคุปต์ | ประธานกรรมการบริหาร | 16/16 |
2. นายโอฬาร ปุ้ยพันธวงศ์* | กรรมการบริหาร | 7/8 |
3. นายสงวน ตังเดชะหิรัญ * | กรรมการบริหาร | 7/8 |
4. นายไพฑูรย์ กำชัย | กรรมการบริหาร | 16/16 |
กรรมการลำดับที่ 2 ออกจากตำแหน่งเนื่องจากมีการปรับโครงสร้างคณะกรรมการชุดย่อย ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 4/2560 เมื่อ วันที่ 12 พฤษภาคม 2560 และแต่งตั้งกรรมการลำดับที่ 3 แทน
การสรรหาและแต่งตั้งกรรมการและผู้บริหารสูงสุด
บริษัทฯ มีแนวปฏิบัติที่ได้กําหนดไว้ในนโยบายการกํากับดูแลกิจการ กล่าวคือ คณะกรรมการบริษัทฯ ต้องประกอบด้วยผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ที่สามารถเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทฯ ได้เป็นอย่างดี มีความทุ่มเท และให้เวลาอย่างเต็มที่ในการปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบ คณะกรรมการบริษัทฯ ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ถือหุ้นมาเป็นผู้กํากับแนวทางดําเนินการของบริษัทฯ คณะกรรมการบริษัทฯ เป็นผู้แต่งตั้งฝ่ายบริหารรับผิดชอบการดําเนินธุรกิจ และแต่งตั้ง คณะกรรมการเฉพาะเรื่องเพื่อรับผิดชอบเรื่องที่ได้รับมอบหมายโดยสาระสําคัญสําหรับแนวปฏิบัติในการสรรหา และแต่งตั้งกรรมการและผู้บริหารระดับสูง มีดังต่อไปนี้
-
การสรรหากรรมการ
เมื่อตําแหน่งกรรมการของเด็มโก้ว่างลงคณะกรรมการสรรหาค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาลจะพิจารณา รายชื่อผู้ที่มีความเหมาะสมที่ จะเป็นกรรมการในคณะกรรมการบริษัท ให้เป็นไปตามข้อบังคับของบริษัท และข้อกําหนดของกฎหมายกับหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีความโปร่งใสและชัดเจน โดยการพิจารณาจะต้องมีประวัติการศึกษา และประสบการณ์การประกอบวิชาชีพของบุคคลนั้นๆ โดย พิจารณาคุณสมบัติ ดังนี้
- มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจํากัด พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ข้อบังคับของเด็มโก้ และการกํากับดูแลกิจการที่ดีของบริษัท
- มีความรู้ ความสามารถ ความเป็นอิสระ ปฏิบัติหน้าที่กรรมการด้วยความระมัดระวังด้วยความซื่อสัตย์ (Duty of Care and Duty of Loyalty) สามารถทุ่มเทอุทิศเวลาได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย มีอายุที่เหมาะสม มีสุขภาพ ร่างกายที่แข็งแรง และจิตใจ ที่สมบูรณ์ สามารถเข้าประชุมคณะกรรมการอย่างสม่ำเสมอ มีการเตรียมตัวเป็นการล่วงหน้าก่อนการประชุม เป็นอย่างดี มีส่วนร่วมที่สร้างสรรค์ในการประชุม มีความตรงไปตรงมา มีความกล้าหาญในการแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม และ/หรือเป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียง ประวัติการทํางาน และจริยธรรมที่ดีงาม และได้รับการยอมรับจากสังคม
- มีความรู้ความสามารถที่สําคัญต่อธุรกิจของบริษัท ได้แก่ธุรกิจพลังงาน วิทยาศาสตร์ การบริหารรัฐกิจ วิศวกรรมศาสตร์เศรษฐศาสตร์ การบัญชี การตลาด การเงิน การคลัง และกฎหมาย
การแต่งตั้งกรรมการบริษัท คณะกรรมการสรรหาค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล จะพิจารณารายชื่อผู้ที่มีความเหมาะสมที่จะเป็นกรรมการในคณะกรรมการบริษัท ให้เป็นไปตามข้อบังคับของบริษัท และข้อกําหนดของกฎหมายกับ หลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีความโปร่งใสและชัดเจน โดยการพิจารณาจะต้องมีประวัติการศึกษา และประสบการณ์การประกอบวิชาชีพของบุคคลนั้นๆ โดยมีรายละเอียดที่เพียงพอเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจของ คณะกรรมการบริษัท และผู้ถือหุ้น
สําหรับการเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับการพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการ เลขานุการบริษัทจะรวบรวมข้อมูล เสนอต่อคณะกรรมการสรรหาค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาลเพื่อพิจารณากลั่นกรองเบื้องต้นก่อนนําเสนอรายชื่อบุคคลที่ผ่านการพิจารณาให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาเป็นขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการฯ จะพิจารณาความเหมาะสมของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้เข้าดํารงตําแหน่งกรรมการ เสนอชื่อต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติแต่งตั้งต่อไป
-
การสรรหาแต่งตั้งประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ
การคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมเข้าดํารงตําแหน่งประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการนั้น คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้แต่งตั้งจากฝ่ายบริหารหรือบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อรับผิดชอบการดําเนินธุรกิจโดยคณะกรรมการสรรหาค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาลจะพิจารณาหลักเกณฑ์และกระบวนการสรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการดํารงตําแหน่งประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ รวมถึง ทบทวนแผนการสืบทอดตําแหน่ง พร้อมทั้งรายชื่อผู้ที่อยู่ในเกณฑ์เหมาะสมที่จะได้รับการพิจารณาสืบทอดตําแหน่ง
คุณสมบัติกรรมการอิสระ
ข้อกําหนดคุณสมบัติกรรมการอิสระของเด็มโก้มีความเข้มข้นกว่าขั้นต่ำของคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยกรรมการอิสระ (Independent Director) ของเด็มโก้ ต้องมี คุณสมบัติดังนี้
- ถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 0.5 ของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิ์ออกเสียงทั้งหมดของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือ หุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัท ทั้งนี้ให้นับรวมการถือหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องของกรรมการอิสระราย นั้นๆ ด้วย
- ไม้เป็น หรือเคยเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษา ที่ได้รับเงินเดือนประจํา หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทฯ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลําดับเดียวกัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือของผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทฯ เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี ทั้งนี้ลักษณะต้องห้ามดังกล่าว ไม่รวมถึงกรณีที่กรรมการอิสระเคยเป็นข้าราชการ หรือที่ปรึกษาของส่วนราชการ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มี อํานาจควบคุมของบริษัทฯ
- ไม่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมาย ในลักษณะที่เป็นบิดามารดา คู่สมรส พี่น้อง และบุตร รวมทั้งคู่สมรสของบุตรของผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ผู้มีอํานาจควบคุม หรือบุคคลที่จะได้รับการเสนอให้เป็นผู้บริหาร หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย
- ไม่มี หรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทฯ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทฯ ในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณอย่างอิสระของตน รวมทั้งไม่เป็น หรือเคยเป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย หรือผู้มีอํานาจควบคุมของผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทฯ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทใหญ่ เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี ความสัมพันธ์ทางธุรกิจตามวรรคหนึ่งรวมถึงการทํารายการทางการค้าที่กระทําเป็นปกติเพื่อประกอบกิจการ การเช่า หรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์รายการเกี่ยวกับสินทรัพย์ หรือบริการ หรือการให้ หรือรับความช่วยเหลือทางการเงินด้วย การรับหรือให้กู้ยืม ค้ำประกัน การให้สินทรัพย์เป็นหลักประกันหนี้สิน รวมถึงพฤติการณ์อื่นทํานองเดียวกัน ซึ่งเป็นผลให้ผู้ขออนุญาตหรือคู่สัญญามีภาระหนี้ที่ต้องชําระต่ออีกฝ่ายหนึ่ง ตั้งแต่ร้อยละ 3 ของสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิของผู้ขออนุญาต หรือตั้งแต่ยี่สิบล้านบาทขึ้นไป แล้วแต่จํานวนใดจะต่ำกว่า ทั้งนี้ การคํานวณภาระหนี้ดังกล่าวให้เป็นไปตามวิธีการคํานวณมูลค่าของรายการที่เกี่ยวโยงกันตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ใน การทํารายการที่เกี่ยวโยงกันโดยอนุโลม แต่ในการพิจารณาภาระนี้ดังกล่าวให้นับรวมภาระหนี้ที่เกิดขึ้นในระหว่าง 1 ปีก่อนวันที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบุคคลเดียวกัน
- ไม่เป็น หรือเคยเป็นผู้สอบบัญชีของ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทฯ และไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย (ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท โดยนับรวมผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย) ผู้มีอํานาจควบคุม หรือหุ้นส่วนของสํานักงานสอบบัญชี ซึ่งมีผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ บริษัท ย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทฯ สังกัดอยู่ เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
- ไม่เป็น หรือเคยเป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพใดๆ ซึ่งรวมถึงการให้บริการเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งได้รับค่าบริการ เกินกว่าสองล้านบาทต่อปีจากบริษัทฯ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทฯ และไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย ผู้มีอํานาจควบคุม หรือหุ้นส่วนของผู้ให้บริการทางวิชาชีพนั้นด้วย เว้นแต่จะได้พ้นจาก การมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
- ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกรรมการของบริษัทฯ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่
- ไม่ประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกัน และเป็นการแข่งขันที่มีนัยกับกิจการของบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย หรือไม่เป็น หุ้นส่วนที่มีนัยในห้างหุ้นส่วน หรือเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่รับเงินเดือนประจํา หรือถือหุ้นเกินร้อยละ 1 ของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทอื่น ซึ่งประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกัน และเป็นการแข่งขันที่มีนัยกับกิจการของบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย
- ไม่มีลักษณะอื่นที่ทําให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดําเนินงานของบริษัทฯ ทั้งนี้ ภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการอิสระของบริษัทแล้ว กรรมการอิสระอาจได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้ตัดสินใจในการดําเนินกิจการของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยในลําดับเดียวกัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัท โดยมีการตัดสินใจในรูปแบบขององค์คณะ (Collective Decision) ได้ โดยไม่ถือว่ากรรมการอิสระนั้นเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมในการบริหารงาน
บทบาทและหน้าที่ของประธานกรรมการ
ประธานกรรมการบริษัท มีบทบาทเป็นผู้นําของคณะกรรมการผู้ซึ่งมีบทบาทและความรับผิดชอบในฐานะผู้นําองค์กรที่สร้างคุณค่าให้แก่กิจการอย่างยั่งยืน ดังนั้นประธานกรรมการจึงมีหน้าที่สําคัญ ดังนี้
- กํากับ ติดตาม และดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของบริษัทฯ
- สนับสนุน ดูแลให้กรรมการทุกคนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่มีจริยธรรม และเป็นไปตาม นโยบายกํากับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ
- กําหนดวาระการประชุมคณะกรรมการโดยหารือร่วมกับประธานกรรมการชุดย่อย และเลขานุการบริษัทฯและมีมาตรการที่ดูแลให้เรื่องสําคัญได้ถูกบรรจุเป็นวาระการประชุม
- จัดสรรเวลาให้เพียงพอที่ฝ่ายจัดการจะเสนอเรื่อง และเหมาะสมที่กรรมการจะอภิปรายประเด็นสําคัญอย่างรอบคอบ โดยทั่วกัน กับส่งเสริมให้กรรมการมีการใช้ดุลพินิจอย่างรอบคอบ ให้ความเห็นได้อย่างอิสระ
- ดูแลให้องค์ประกอบ และการดําเนินงานของคณะกรรมการเอื้อต่อการใช้ดุลพินิจในการตัดสินใจอย่างมีอิสระ
- เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกรรมการที่เป็นผู้บริหาร และกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร และระหว่างคณะกรรมการกับฝ่ายจัดการ
ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ
ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการของบริษัทฯ ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทฯ ให้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดําเนินธุรกิจตามปกติของบริษัทฯ โดยบริหารงานตามแผน และงบประมาณที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทฯ อย่างเคร่งครัด ซื่อสัตย์สุจริต และรักษาผลประโยชน์สูงสุดแก่บริษัทและผู้ถือหุ้นไม่ทําการใดที่มีส่วนได้เสีย หรือมีผลประโยชน์ลักษณะขัดแย้งกับบริษัทฯ และบริษัทย่อยของบริษัทฯ โดยมีหน้าที่ และความรับผิดชอบตามที่กําหนดดังนี้
- เสนอแผนและแนวทางการบริหารให้แก่คณะกรรมการบริหารพิจารณา
- วางแผนและควบคุมการดําเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายที่กําหนดโดยคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการบริหาร
- กําหนดอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบให้แก่ผู้บริหารระดับสูง
- สรุปผลการดําเนินงานเพื่อนําเสนอคณะกรรมการบริหาร
- มีอํานาจจ้าง แต่งตั้ง ปลดออก ให้ออก ไล่ออก กําหนดอัตราค่าจ้าง ให้บําเหน็จรางวัล ปรับขึ้นเงินเดือน ค่าตอบแทน โบนัส สําหรับพนักงานตั้งแต่รองกรรมการผู้จัดการลงมา
- มีอํานาจอนุมัติการลงทุน การซื้อขายทรัพย์สินถาวรของบริษัท การจัดซื้อจัดจ้าง การกู้ยืมเงิน การให้กู้ยืมเงิน
การเข้าทําสัญญา หรือการทํานิติกรรมใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการค้าโดยปกติและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของบริษัท
- วงเงินไม่เกิน 2 ล้านบาท สําหรับการซื้อขายทรัพย์สินถาวร และการให้กู้ยืมเงิน
- วงเงินไม่เกิน 500 ล้านบาท สําหรับการเสนอราคาในกรณีธุรกิจปกติ
- วงเงินไม่เกิน 100 ล้านบาท สําหรับการเสนอราคา ในกรณีธุรกิจอื่น
- วงเงินไม่เกิน 500 ล้านบาท สําหรับการกู้ยืมเงิน การจัดซื้อจัดจ้าง การเข้าทําสัญญา/นิติกรรมใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการค้าโดยปกติตามวัตถุประสงค์ของบริษัท
- วงเงินไม่เกิน 100 ล้านบาท สําหรับการกู้ยืมเงิน การจัดซื้อจัดจ้าง การเข้าทําสัญญา/นิติกรรมใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการค้าอื่นตามวัตถุประสงค์ของบริษัท - มีอํานาจกระทําการและแสดงตนเป็นตัวแทนของบริษัทต่อบุคคลภายนอกในกิจการที่เกี่ยวข้อง และเป็นประโยชน์ ต่อ บริษัท
- มีอํานาจอนุมัติการแต่งตั้งที่ปรึกษาด้านต่างๆ ที่จําเป็นต่อการดําเนินงานของบริษัท รวมถึงกําหนดอัตราค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสม
- ดําเนินกิจการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานทั่วไปของบริษัท หรือกิจการอื่นๆ ที่คณะกรรมการบริษัทและ/หรือ คณะกรรมการบริหารมอบหมาย
- มีอํานาจกระทําการขอวงเงิน Line Credit จากธนาคารหรือสถาบันการเงินสําหรับใช้บริหารจัดการโครงการต่างๆ ของบริษัท โดยไม่จํากัดวงเงิน เมื่อได้รับอนุมัติวงเงินแล้วในการเข้าผูกพันใช้เงินดังกล่าว ต้องมีการขออนุมัติตามขอบเขตอํานาจหน้าที่ทุกครั้ง
ทั้งนี้ การมอบหมายอํานาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของกรรมการผู้จัดการดังกล่าวข้างต้นนั้น ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ของกฎหมายและกฎระเบียบ ข้อบังคับของบริษัท ทั้งนี้ กรรมการผู้จัดการไม่มีอํานาจในการดําเนินการใดๆ หรือ เกี่ยวกับรายการที่เกี่ยวโยงกัน รายการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ที่สําคัญของบริษัท และ/หรือรายการหรือเรื่องที่ กรรมการผู้จัดการหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง มีส่วนได้เสีย หรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อื่นใดที่ จะทําขึ้นกับบริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี) ในกรณีดังกล่าวให้กรรมการผู้จัดการนําเสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะกรรมการตรวจสอบ และ/หรือ คณะกรรมการบริษัท เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป โดยกรรมการผู้จัดการจะไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในการประชุมคณะกรรมการบริษัทในเรื่องดังกล่าว
การดำรงตำแหน่งในบริษัทอื่นของประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ
นโยบายการไปดำรงตำแหน่งกรรมการที่บริษัทอื่นของกรรมการผู้จัดการและรองกรรมการผู้จัดการ คณะกรรมการเด็มโก้ ตระหนักถึงความสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพในฐานะผู้บริหารระดับสูง ซึ่งได้แก่ กรรมการผู้จัดการ รองกรรมการผู้จัดการ จึงมีนโยบายกำหนดจำนวนที่ผู้บริหารระดับสูงสามารถไปดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทอื่นให้สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ดังนี้
- กรรมการผู้จัดการ รองกรรมการผู้จัดการ ของเด็มโก้ สามารถเป็นประธานกรรมการ กรรมการที่เป็นผู้บริหาร หรือกรรมการที่มีอำนาจลงนาม อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในบริษัทอื่นได้ไม่เกิน 5 บริษัท ในกลุ่มธุรกิจของเด็มโก้
- สำหรับการดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทหรือองค์กรอื่นของกรรมการผู้จัดการ รองกรรมการผู้จัดการ เด็มโก้ ได้กำหนดไว้ในนโยบายการกำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัทย่อยและกิจการอื่นที่บริษัทลงทุน
การกำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัทย่อย และกิจการอื่นที่บริษัทลงทุน
การกำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัทย่อย และบริษัทร่วมนั้น คณะกรรมการบริษัทฯ มีอํานาจหน้าที่ในการกํากับดูแลให้มีกรอบ และกลไกในการกํากับดูแลนโยบาย และการดําเนินงานของบริษัทย่อยและกิจการอื่นที่บริษัทไปลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ ดังนี้
- พิจารณาแต่งตั้งบุคคลไปเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอํานาจควบคุมในบริษัทย่อย โดยให้กําหนดเป็นลายลักษณ์อักษร เว้นแต่บริษัทดังกล่าวเป็นบริษัทขนาดเล็กที่เป็น Operating arms ของบริษัท คณะกรรมการอาจมอบหมายให้ประธานกรรมการบริหาร หรือกรรมการผู้จัดการเป็นผู้แต่งตั้งก็ได้
- กําหนดขอบเขตหน้าที่ และความรับผิดชอบของบุคคลที่เป็นตัวแทนของบริษัทตามข้อ (1) และให้ตัวแทนของ บริษัทดูแลให้การปฏิบัติเป็นไปตามนโยบายของบริษัทย่อย ในกรณีที่บริษัทย่อยมีผู้ร่วมลงทุนอื่น คณะกรรมการต้องกําหนดนโยบายให้ตัวแทนทําหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ของ บริษัทย่อยและให้สอดคล้องกับนโยบายของบริษัทแม่
- กําหนดให้มีระบบควบคุมภายในของบริษัทย่อยอย่างเหมาะสม รัดกุมเพียงพอและการทํารายการต่างๆ เป็นไป อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
- เปิดเผยข้อมูลฐานะการเงิน และผลการดําเนินงาน การทํารายการกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน การได้มา หรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน การทํารายการอื่นที่สําคัญ การเพิ่มทุน การลดทุน การเลิกบริษัทย่อยเป็นต้น
- กรณีเป็นการเข้าร่วมทุนในกิจการอื่นอย่างมีนัยสําคัญ เช่น มีสัดส่วนการถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงตั้งแต่ร้อยละ 20 แต่ไม่เกินร้อยละ 50 และจํานวนเงินลงทุน หรืออาจต้องลงทุนเพิ่มเติมมีนัยสําคัญต่อบริษัท คณะกรรมการควรดูแลให้มีการจัดทํา Shareholders Agreement หรือข้อตกลงอื่น เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับอํานาจในการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสําคัญ การติดตามผลการดําเนินงาน เพื่อให้สามารถใช้เป็นข้อมูลในการจัดทํางบการเงินของบริษัทได้ตามมาตรฐาน และกําหนดเวลา
- กรณีที่บริษัทฯ หรือบริษัทย่อย มีรายการที่เกี่ยวข้องกัน หรือได้มา หรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินที่สําคัญของบริษัทฯ ตามหลักเกณฑ์ของ ตลท. บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามที่ ตลท.กําหนดไว้ในเรื่องดังกล่าว โดยขอความเห็นชอบของผู้ถือหุ้นในการตกลงเข้าทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือการได้มา หรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินที่สําคัญของบริษัทฯ โดยมีคะแนนเสียง ไม่ต่ำกว่าสามในสี่ ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้น หรือผู้รับมอบฉันทะที่มาประชุม และมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน โดยไม่นับส่วนของผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสีย
- ส่งเสริมการกํากับดูแลกิจการที่ดีให้พนักงานบริษัท ในบริษัทย่อย และบริษัทร่วมทุน ตามนโยบายการกํากับดูแล กิจการของบริษัทฯ กําหนดให้เป็นหน้าที่ และความรับผิดชอบของกรรมการผู้บริหารและพนักงานทุกคน ทั้งของบริษัทฯ และบริษัทในบริษัทย่อย และบริษัทร่วมทุน ที่จะต้องรับทราบ และปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวรวมถึงจรรยาบรรณ นโยบายสําคัญ และระเบียบวิธีปฏิบัติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลักการกํากับดูแลกิจการ เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั้งนี้ เพื่อให้เสริมสร้าง ความรู้ ความเข้าใจ และเน้นย้ำถึงความสําคัญของการกํากับดูแลกิจการให้แก่พนักงานทุกระดับของบริษัทฯ และบริษัทในบริษัทย่อย และบริษัทร่วมทุน ผ่านการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการกํากับดูแลกิจการต่างๆ โดยบริษัทฯได้เชิญพนักงานบริษัทในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมทุน เข้าร่วม และได้เผยแพร่บทความ และข่าวสารเกี่ยวกับการกํากับดูแลกิจการไปสู่พนักงานในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมทุน ด้วยเช่นเดียวกัน
การดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน
บริษัทให้ความสําคัญเรื่องการใช้ข้อมูลภายในของบริษัทเพื่อประโยชน์ส่วนตัว โดยได้กําหนดไว้ในคู่มือจริยธรรม ธุรกิจ และข้อพึงปฏิบัติในการทํางานของบริษัทฯ ดังนี้
- กรรมการผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างของบริษัทจะต้องรักษาความลับ และ/หรือข้อมูลภายในของบริษัท
- กรรมการผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างของบริษัทจะต้องไม่นําความลับ และ/หรือข้อมูลภายในของบริษัทไปเปิดเผย หรือแสวงหาผลประโยชน์แก่ตนเองหรือเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่นใด ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม และไม่ว่าจะได้รับผลตอบแทนหรือไม่ก็ตาม
- กรรมการผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างของบริษัทจะต้องไม่ทําการซื้อขาย โอนหรือรับโอน หลักทรัพย์ของบริษัทโดยใช้ความลับและ/หรือข้อมูลภายในบริษัท และ/หรือเข้าทํานิติกรรมอื่นใดโดยใช้ความลับและ/หรือ ข้อมูลภายในของบริษัท อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อบริษัท ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ข้อกําหนดนี้ให้รวมความถึงคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของกรรมการผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างของบริษัทด้วย
กรรมการและผู้บริหารทุกคนได้ลงนามรับทราบภาระหน้าที่ในการรายงานการถือหลักทรัพย์ของตนในบริษัท รวมถึงคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ตลอดจนรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. และ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ตามมาตรา 59 และบทลงโทษตามมาตรา 275 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 โดยกรรมการและผู้บริหารทุกท่านมีหน้าที่ในการรายงานการถือครองหลักทรัพย์ของตน รวมถึงคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ ดังนี้
- การรายงานการถือหลักทรัพย์ครั้งแรก (แบบ 59-1) ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดํารง ตําแหน่ง กรรมการ หรือผู้บริหาร
- การรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ (แบบ 59-2) ทุกครั้งเมื่อมีการซื้อ ขาย โอน หรือรับ หลักทรัพย์ภายใน 3 วัน นับแต่วันที่เกิดรายการขึ้น พร้อมทั้งส่งสําเนารายงานนี้ให้เลขานุการของบริษัทเพื่อเก็บ เป็นหลักฐานทุกครั้ง
ค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี
- ค่าตอบแทนจากการสอบบัญชี (Audit Fee)
ในปี 2560 บริษัทจ่ายค่าตอบแทนการสอบบัญชี ให้แก่ผู้สอบบัญชีของบริษัทได้แก่ นางสาวจินตนา มหาวนิช ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตทะเบียนเลขที่ 4687 แห่งบริษัทสำนักงานสอบบัญชี ซี แอนด์ เอ จำกัด จำนวน 1.800 ล้านบาท นอกจากนี้สำนักงานสอบบัญชี ซี แอนด์ เอ ยังเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทย่อย 2 แห่ง คือ บริษัท เด็มโก้ อินดัสตรี จำกัด และบริษัท เด็มโก้ เพาเวอร์ จำกัด ค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีแห่งละ 0.400 ล้านบาท และ 0.550 ล้านบาท ตามลำดับ
- ค่าบริการอื่น (Non-audit Service)
ในปี 2560 บริษัทได้จ่ายค่าบริการให้บริษัทสำนักงานสอบบัญชี ซี แอนด์ เอ จำกัด ในเรื่อง ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่ายานพาหนะ ของผู้สอบบัญชี เป็นจำนวนเงินรวม 0.317 ล้านบาท สำหรับบริษัทย่อย ไม่มีค่าบริการอื่น
การนำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี สำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2560 มาพัฒนาระบบนิเวศน์ของธรรมาภิบาลในเด็มโก้
ตามที่สำนักคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้จัดทำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2560 (Corporate governance Code 2017:CG Code 2017) และประกาศใช้ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2560 ซึ่งใช้แทนหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2555 โดยมีการปรับปรุงเนื้อหา และลำดับวิธีการเสนอตลอดจนเพิ่มเติมประเด็น เน้นบทบาทความเป็นผู้นำของคณะกรรมการบริษัทจดทะเบียนที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลกิจการ ตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายหลักของกิจการจนถึงการติดตามผลการดำเนินงาน และมุ่งหวังให้บริษัทจดทะเบียนนำแนวปฏิบัติไปยึดถือปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับทางธุรกิจ และผู้ลงทุนที่ต้องการผลประกอบการที่ดีของกิจการ สามารถปรับตัวให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพธุรกิจ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม และเพื่อให้บริษัทสามารถเติบโตอยู่รอดได้ในระยะยาว เพื่อยกระดับมาตรฐานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีของตลาดทุนไทยให้ดียิ่งขึ้นนั้น
ในการประชุมคณะกรรมการเด็มโก้ ครั้งที่ 3/2560 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2560 ที่ประชุมมีมติรับทราบหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2560 ของสำนักงาน ก.ล.ต. และให้คณะกรรมการชุดย่อยกับฝ่ายบริหารดำเนินการพิจารณาทบทวน ปรับปรุง แก้ไข นโยบาย การกำกับดูแลกิจการที่ดี จริยธรรมและจรรยาบรรณของเด็มโก้ และข้อกำหนด ระเบียบปฏิบัติของบริษัท ให้สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีฯ ต่อไป กับให้คณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของเด็มโก้ ยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีฯ ที่สำนักงาน ก.ล.ต. ได้กำหนด และแสดงออกถึงความมุ่งมั่นกับให้ความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส ใส่ใจธรรมาภิบาลด้วย
การปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีในเรื่องอื่นๆ
จากผลสำรวจตามโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนประจำปี 2560 (Corporate Governance Report of Thai Listed Companies 2017 : CGR2017) ที่สถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ทำการสำรวจจากบริษัทจดทะเบียน จำนวน 620 บริษัท โดยผลสำรวจโครงการ CGR ประจำปี 2560 เด็มโก้ได้รับคะแนนในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ “ดีเลิศ” และมีคะแนนเฉลี่ยภาพรวมสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของบริษัทที่ได้รับการสำรวจทั้งหมด ในหมวดสิทธิของผู้ถือหุ้น การคำนึงถึงบทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ซึ่งจากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา เด็มโก้ได้ปรับปรุงและพัฒนายกระดับการดำเนินกิจการให้สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างครบถ้วน และต่อเนื่องมาโดยตลอด แต่อย่างไรก็ตามในปี 2560 เด็มโก้ยังไม่อาจปฏิบัติได้ครอบคลุมตามเกณฑ์ของโครงการ CGR และ ASEAN CG Scorecard ในประเด็นดังนี้
- บริษัท ควรเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถเสนอชื่อกรรมการได้ล่วงหน้าก่อนการประชุมผู้ถือหุ้น : ตามนโยบายกำกับดูแลกิจการ ฉบับปรับปรุง ตุลาคม 2560 ข้อ 2.5.1. สิทธิและความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้น บริษัทเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นส่งคำถามล่วงหน้า ก่อนวันประชุมให้แก่บริษัทได้ และให้ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยสามารถเสนอวาระการประชุมเพื่อให้คณะกรรมการพิจารณา
- บริษัทควรจัดส่งหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นล่วงหน้าก่อนการประชุมอย่างน้อย 21 วันก่อนวันประชุม : บริษัทจัดส่งหนังสือนัดประชุมให้ผู้ถือหุ้นล่วงหน้า 14 วันก่อนการประชุมและเผยแพร่บนเว็บไซต์ของบริษัทก่อนวันประชุมเป็นการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน
- บริษัทควรจัดทำรายงานความรับผิดชอบทางสังคมโดยอาจรายงานไว้เป็นส่วนหนึ่งในรายงานประจำปี หรือจัดทำเป็นรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนแยกต่างหากตามกรอบของ Global Reporting Initiative (GRI) ก็จะเป็นการดียิ่งขึ้น : ตั้งแต่ปี 2559 บริษัทได้จัดทำรายงานความยั่งยืนเปิดเผยตามแบบแสดงรายการข้อมูล แบบ 56-1 ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในลำดับถัดไปบริษัทมีเป้าหมายจะจัดทำรายงานความยั่งยืนตามกรอบของ GRI
- คณะกรรมการควรส่งเสริมให้มีการให้ความรู้ และฝึกอบรมพนักงานในเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดเป็นนโยบาย และเปิดเผยถึงการปฏิบัติไว้ให้เป็นที่ทราบ : เด็มโก้ได้กำหนดแนวปฎิบัติไว้ในการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ของเด็มโก้ หมวดสังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อม
- บริษัทควรกำหนด และเปิดเผยนโยบายค่าตอบแทนพนักงานที่สอดคล้องกับผลการดำเนินงานของบริษัททั้งในระยะสั้นและระยะยาว : เด็มโก้ กำหนดนโยบายค่าตอบแทนที่สอดคล้องกับผลการดำเนินงาน และคณะกรรมการสรรหาค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาลเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งถือเป็นข้อมูลเฉพาะภายในกลุ่มธุรกิจของเด็มโก้
- คณะกรรมการควรกำหนดนโยบายในการไปดำรงตำแหน่งกรรมการที่บริษัทอื่นของ CEO : คณะกรรมการสรรหาค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล จะนำเสนอร่างนโยบายการดำรงตำแหน่งกรรมการที่บริษัทอื่นของประธานกรรมการบริหาร กรรมการผู้จัดการ ให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาภายในไตรมาส 2/2561
- คณะกรรมการควรระบุวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการอิสระไว้อย่างชัดเจนในนโยบายกำกับดูแลกิจการ โดยควรกำหนดไว้ไม่เกิน 9 ปี โดยไม่มีข้อยกเว้น : เนื่องจากกรรมการอิสระบางคน เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ มีคุณวุฒิที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์กับบริษัท จึงจำเป็นต้องรักษากรรมการท่านนั้นๆไว้
- ในการสรรหากรรมการ ควรกำหนดคุณสมบัติของกรรมการที่ต้องการสรรหา โดยให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของบริษัท : บริษัทกำหนดให้คณะกรรมการสรรหาเป็นผู้พิจารณาสรรหากรรมการแทนตำแหน่งที่ว่าง โดยพิจารณาจากผู้ที่มีคุณสมบัติ และประสบการณ์ ที่เป็นประโยชน์และเหมาะสมกับธุรกิจของบริษัท และพิจารณาจากหน้าที่ตามกฎบัตร กับใช้ข้อมูลจาก DEMCO Board Skill Matrix ในการสรรหากรรมการที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการมาปฏิบัติหน้าที่ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์หลักของเด็มโก้
- คณะกรรมการควรใช้บริษัทที่ปรึกษา (Professional Search Firm) หรือฐานข้อมูลกรรมการ (Director Pool) ในการสรรหากรรมการใหม่ : คณะกรรมการสรรหา ค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล ได้ใช้ฐานข้อมูลกรรมการแล้ว แต่พบว่ามีจำนวนกรรมการในฐานข้อมูลน้อย และประสบการณ์ยังไม่ตรงกับความต้องการกับลักษณะธุรกิจของบริษัท
- ประธานกรรมการของบริษัทควรเป็นกรรมการอิสระ : เด็มโก้มีกรรมการอิสระเป็นประธานกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการลงทุน คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร และคณะกรรมการสรรหาค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล รวม 4 ใน 5 คณะกรรมการชุดย่อย