EN

ภาวะอุตสาหกรรม

ภาพรวมการดำเนินงานและปัจจัยที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ

การดำเนินงานปี 2565 เด็มโก้มีรายได้งานบริการ 1,860.97 ล้านบาท ลดลงจำนวน 593.92 ล้านบาท หรือร้อยละ 21.74 จากรายได้จากการบริการปี 2564 จำนวน 2,330.76 ล้านบาท เนื่องจากการลดลงในงานสถานีไฟฟ้าย่อยและงานไฟฟ้าใต้ดิน และในปี 2565 สภาพเศรษฐกิจยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่ประกอบกับมีสงครามระหว่าง รัสเซีย-ยูเครน ซึ่งกระทบต่อต้นทุนภาคธุรกิจ เงินบาทอ่อนค่าและมีการประกาศขึ้นอัตรา ดอกเบี้ย ทำให้ภาคเอกชนหลายแห่งเลื่อนการประมูลงานออกไป การหาลูกค้ารายใหม่ทำได้ยาก ประกอบกับการดำเนินงานของโครงการมีความล่าช้า สำหรับในปี 2565 เด็มโก้ มีงานลดลงในส่วนของสถานีไฟฟ้าย่อย โดยมีสัดส่วนการได้งานของทั้งภาครัฐและภาคเอกชนลดลงกว่าปีก่อนส่งผลให้รายได้ลดลง สำหรับรายได้จากงานขายปี 2565 เป็นจำนวน 239.13 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 9.73 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.24 จาก รายได้งานขาย ปี 2564 จำนวน 229.40 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากรายได้การจำหน่ายเสาโครงสร้างเหล็ก โดยสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นนั้น มาจากการขายให้กับภาครัฐ
สำหรับขาดทุนสุทธิในปี 2565 เป็นจำนวน 127.85 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2564 ซึ่งมีกำไรสุทธิ 100.80 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิเพิ่มขึ้นจำนวน 228.65 ล้านบาท ปัจจัยสำคัญที่กำไรสุทธิลดลงเนื่องจากการลดลงของกำไรขั้นต้นจากงาน บริการ ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมและร่วมค้า และรายได้เงินปันผล
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 เด็มโก้มีมูลค่างานในมือ สำหรับโครงการก่อสร้างทั้งภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งสิ้น 2,523 ล้านบาท

สำหรับรายได้จากงานขายปี 2565

เป็นจำนวน 239.13 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 9.73 ล้านบาทหรือร้อยละ 4.24 จาก รายได้งานขายปี 2564

ภาวะเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมที่มีผลต่อการดำเนินงาน

เศรษฐกิจไทยปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.5 - 4.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญประกอบด้วย

รายได้หลักของเด็มโก้มาจากงานวิศวกรรมไฟฟ้า ออกแบบ จัดหา ก่อสร้างและติดตั้งงานวิศวกรรมไฟฟ้าอย่างครบวงจร (Turnkey Basis) ทั้งงานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าย่อย งานก่อสร้างสายส่ง และงานก่อสร้างเคเบิลใต้ดิน ซึ่งในแต่ละปีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีงบประมาณที่จะเปิดประมูลประมาณ 10,000 ล้านบาทต่อปี การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ประมาณ 700 ล้านบาทต่อปี และงาน ระบบสายไฟฟ้าใต้ดิน (Underground) ประมาณ 200 ล้านบาทต่อปี ซึ่งจะเห็นได้ว่าเด็มโก้ยังมีตลาดที่จะเติบโตจากธุรกิจการให้บริการด้าน วิศวกรรมไฟฟ้า นอกจากนี้ ตามแผนกลยุทธ์ที่เด็มโก้ให้ความสำคัญเพิ่มการรับงานในส่วนการให้บริการงานระบบ เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบเครื่องมือวัด และระบบสื่อสาร โทรคมนาคม (Mechanical, Electrical, Instrumentation and Telecommunication System (MEIT) ที่มีการเติบโตขยายตามแผนการลงทุนต่าง ๆ ที่สอดรับกับแผนพลังงานแห่งชาติและโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก – EEC ของลูกค้าในกลุ่มธุรกิจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ รวมถึงลูกค้า ในกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ เป็นต้น ในส่วนของงานด้านพลังงานทดแทน เด็มโก้ให้บริการออกแบบ จัดหา และก่อสร้าง โครงการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้พลังงานทางเลือก ซึ่งเด็มโก้อยู่ระหว่างการศึกษาร่วมกับพันธมิตรในโครงการลงทุน พลังงานทดแทน ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการลงทุนภาครัฐตามแผน PDP ซึ่งจะมุ่งเน้นความมั่นคงด้านพลังงาน ระบบการผลิตไฟฟ้าที่มีความยืดหยุ่น และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้มีการปรับสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจาก พลังงานสะอาด เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) จากนโยบายและแผนทั้งหมดเอื้อให้ เกิดการขยายกำลังการผลิต การขยายและพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าและการลงทุนโรงไฟฟ้าใหม่

นอกจากนี้การขับเคลื่อนการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ ในการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 ให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 93.4 ของกรอบงบประมาณทั้งหมด และงบลงทุนรัฐวิสาหกิจให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของงบประมาณทั้งหมด รวมทั้งการเบิกจ่ายโครงการตามพระราชกำหนดกู้เงินโควิด-19 เงินกู้วงเงิน 1 ล้านล้านบาท และ 5 แสนล้านบาทในส่วนทีเหลือ การขับเคลื่อนการลงทุน โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐทั้งในด้านการลงทุน พัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ และโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม ขนส่งให้เป็นไปตามแผนงาน โดยเฉพาะการเร่งดำเนินการในโครงการที่สำคัญ ๆ ที่ได้มีการอนุมัติให้ดำเนินการแล้ว อาทิ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าขนส่ง มวลชน โครงการรถไฟชานเมือง โครงการลงทุนสำคัญด้าน พลังงาน เป็นต้น จะเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมของประเทศ ที่ส่งผลต่อการหางาน และการดำเนินงานของเด็มโก้ ในภาพรวม

แนวโน้มของพลังงานในปี 2566

แนวโน้มของพลังงานในปี 2566 จะมีการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ และพลังงานจากขยะ เริ่มตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2566 จากนโยบายภาครัฐโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีโครงการการจัดหาพลังงานหมุนเวียนใน รูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565-2573 ขนาดรวมมากกว่า 5,000 MW ซึ่งจะทำให้ในช่วง 2566-2568 ตลาดด้านงานก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน รวมถึงสถานี ไฟฟ้าย่อย และระบบส่งและจำหน่ายไฟฟ้าจะมีการเติบโต อย่างมาก ในขณะที่ความต้องการไฟฟ้าจากภาคอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน การฟื้นตัวในหลาย อุตสาหกรรม ทั้งอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและการประกอบรถยนต์ อุตสาหกรรมก๊าซ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน อาหารและ เครื่องดื่ม วัสดุก่อสร้าง และบรรจุภัณฑ์ โดยได้แรงหนุนหลัก จากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมที่จะได้ประโยชน์จากการ ขยายตัวของการส่งออก รวมถึงการส่งเสริมการใช้รถไฟฟ้าที่ จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจะส่งผลต่อการลงทุนในสถานีอัดประจุไฟฟ้า ความต้องการของการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าและความ ต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คาดว่าในปี 2566 ความความต้องการใช้พลังงานขั้นต้นของประเทศจะเพิ่มขึ้น 2.7% อยู่ที่ 2,111 พันบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน ภาวะธุรกิจ จะดีขึ้นสำหรับผู้ผลิตไฟฟ้า และการสนับสนุนจากรัฐบาลใน

ผลการดำเนินงานและความสามารถในการทำกำไร

การลงทุนในอุตสาหกรรมตามที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาไฟฟ้า และการพัฒนาพลังงานทดแทน จากผลกระทบการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาค่าไฟฟ้าต่อภาคอุตสาหกรรม จะส่งผลต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นของการลงทุนในการติดตั้งโซลาร์รูฟในประเทศ พลังงานชีวมวล (ผู้ผลิตระดับชุมชนและการริเริ่มของชุมชนภาครัฐและเอกชนในภาคใต้) ผู้ผลิตก๊าซชีวภาพ (สำหรับการผลิตระดับชุมชน) และโครงการเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน การแข่งขันในภาคธุรกิจจะรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะพลังงานหมุนเวียน ผู้ประกอบการเดิมได้ขยายกำลังการผลิตเพื่อรองรับ ความต้องการของตลาด และการเข้าสู่ตลาดของ ผู้ประกอบการรายใหม่ อีกทั้งผู้ประกอบการที่มีจุดแข็งด้าน การเงินและเทคโนโลยี เช่น ผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ และ ผู้ผลิต ไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก และผู้ประกอบการที่มีพื้นฐานด้าน วิศวกรรม การจัดซื้อจัดจ้าง และการก่อสร้างจะมีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากข้อจำกัดด้านเวลา ซึ่งต้องใช้ความเชี่ยวชาญเป็น เรื่องสำคัญในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าหรือระบบไฟฟ้าบางส่วน เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์ ผู้ประกอบการเหล่านี้ ได้เริ่มพัฒนาโครงการและส่งพลังงานหมุนเวียนเข้าสู่โครงข่าย ไฟฟ้าจากความได้เปรียบด้านราคา และ การพัฒนาสินค้าเข้าสู่ ตลาดอย่างต่อเนื่อง รวมถึงผู้ประกอบการรายใหญ่ที่วางแผนที่จะขยายการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ

หน่วย: ล้านบาท

งบกำไรขาดทุนรวม จำนวนเงิน การเปลี่ยนแปลง
2565 2564 จำนวนเงิน ร้อยละ
รายได้จากการขายและบริการ 2,100.10 2,560.16 (460.06) (17.97)
รายได้อื่น 37.35 171.21 (133.86) (78.18)
รวมรายได้ 2,137.45 2,731.37 (593.92) (21.74)
ต้นทุนขายและบริการ 2,002.42 2,359.30 (356.88) (15.13)
ค่าใช้จ่ายในการขาย 6.72 6.62 0.10 1.51
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 305.79 343.64 (37.85) (11.01)
ค่าใช้จ่ายอื่น 10.58 3.40 7.18 211.18
ต้นทุนทางการเงิน 55.17 54.20 0.97 1.79
รวมค่าใช้จ่าย 2,325.51 2,712.96 (387.45) (14.28)
ส่วนแบ่งกำไร(ขาดทุน)จากเงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้า 133.60 162.42 (28.82) (17.74)
ค่าใช้จ่าย (รายได้) ภาษีเงินได้ 18.22 25.82 (7.60) (29.43)
กำไร (ขาดทุน) สุทธิสำหรับปี (127.85) 100.80 (228.65) (226.84)
ส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ (127.84) 100.86 (228.70) (266.75)
ส่วนที่เป็นของส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม (0.01) (0.07) 0.06 (85.71)