TH

Economic

การดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ (Economic)

เด็มโก้มุ่งสู่การเป็นองค์กรที่เติบโตอย่างยั่งยืน ตระหนักถึงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล พร้อมปรับตัวให้มีความยืดหยุ่น (Reselience) รับมือด้วยความคล่องตัว (Agility) และรวดเร็ว (Speed) ทั้งยังมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสควบคู่กับการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals) อีกด้วย

ในปีนี้ เด็มโก้ได้มีการทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์องค์กร เพื่อสร้างผลการดำเนินงานและการเติบโตที่ยั่งยืน มีการเตรียมความพร้อมรับความเสี่ยงใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น (Emerging Risks) อีกทั้งมีแนวทางการดำเนินงานเพื่อรองรับและบริหารจัดการประเด็นต่าง ๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการสร้างโอกาสทางธุรกิจพร้อมรับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก (Global Trends) ด้วยความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจภายใต้การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (E) มีความรับผิดชอบต่อสังคม (S) และมีการบริหารงานตามหลักบรรษัทภิบาล (G) ส่งผลให้เด็มโก้ สามารถบรรลุเป้าหมายและสร้างความไว้วางใจจากหน่วยงานต่าง ๆ

ความสำคัญ

เด็มโก้มุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนา และเติบโตอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานการดำเนินธุรกิจตามหลักธรรมาภิบาล และหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ที่บริษัทจดทะเบียนพึงปฏิบัติทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรม ความโปร่งใส ความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน รวมทั้งการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันและสินบนในทุกรูปแบบ โดยคณะกรรมการบริษัทได้กำหนดนโยบายต่าง ๆ จริยธรรมและจรรยาบรรณ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการทำงานของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

ดัชนีชี้วัดความสำเร็จองค์กร
  • ผลการประเมินโครงการสำรวจการกำกับบริษัทจดทะเบียน (CGR) ในระดับดีเลิศ
  • มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการชุดย่อย 5 คณะ
ผลการดำเนินงานปี 2566
  • การประเมินโครงการสำรวจการกำกับบริษัทจดทะเบียน (CGR) ในระดับดีเลิศ
  • การประเมินการปฏิบัติงานคณะกรรมการชุดย่อย 5 คณะ
ความมุ่งมั่นและแนวทางการกำกับดูแลกิจการ

เด็มโก้ ได้ให้ความสำคัญกับการบริหารกิจการที่ดีที่ยึดมั่นตามจริยธรรม และจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจ ข้อพึงปฏิบัติที่ดีสำหรับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทจดทะเบียน กฎ ระเบียบ หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี สำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560 แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(กลต.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คณะกรรมการบริษัทได้ให้ความสำคัญต่อนโยบายการกำกับดูแลกิจการมาโดยตลอด กำหนดให้การกำกับดูแลกิจการเป็นหนึ่งในดัชนีวัดผลการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทเด็มโก้ รวมทั้งกำหนดให้มีการจัดทำแผนการดำเนินงาน เพื่อยกระดับการกำกับดูแลกิจการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลอย่างสม่ำเสมอ

ด้วยปณิธานอันมั่นคงแน่วแน่ของเด็มโก้ที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิดการบริหารองค์กรโดยยึดหลักธรรมาภิบาลที่ดี และเป็นองค์กรหนึ่งที่มีความเป็นเลิศทางด้านบรรษัทภิบาล จึงได้เผยแพร่นโยบายการกำกับดูแลกิจการของเด็มโก้ไว้บนระบบเครือข่าย DEMCO Intranet และบนเว็บไซต์ของเด็มโก้ www.demco.co.th เพื่อให้พนักงานและลูกจ้างของเด็มโก้ทุกคนได้มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถนำนโยบายการกำกับดูแลกิจการของเด็มโก้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้เกิดเป็นรูปธรรม

สำหรับการพัฒนาองค์กรเพื่อความยั่งยืน ภายใต้ปรัชญาการดำเนินธุรกิจอย่างสมดุล ดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสภายใต้การจัดการความเสี่ยง และการกำกับดูแลที่ดี มีการบริหารจัดการอย่างสมเหตุสมผลเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ดำเนินธุรกิจอย่างมีศีลธรรม และเป็นมิตรต่อสังคม สิ่งแวดล้อม กับรู้ความเป็นไป รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง ภายใต้กรอบ DEMCO Sustainable Development Platform

โครงสร้างการบริหารงาน

คณะกรรมการบริษัทตระหนักถึงความสำคัญของหลักธรรมาภิบาลในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายและให้ความสำคัญกับการสรรหากรรมการ การกำหนดโครงสร้างและบทบาทหน้าที่รวมถึงการประเมินผลการดำเนินงานของคณะกรรมการบริษัทที่ต้องเป็นไปตามกรอบจริยธรรม ความเท่าเทียมกัน และรักษาผลประโยชน์สูงสุดของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ในการสรรหากรรมการบริษัทคณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน เพื่อทำหน้าที่สรรหาและกลั่นกรองบุคคลที่เหมาะสม มีการกำหนดหลักเกณฑ์การสรรหา โดยให้ความสำคัญกับความโปร่งใส โดยคำนึงถึงความหลากหลายของคุณสมบัติกรรมการ ทั้งในด้านความเป็นอิสระ ความรู้ความสามารถ ทักษะประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ตลอดจนเพศและอายุ และได้จัดทำตารางองค์ประกอบความรู้ความชำนาญของคณะกรรมการ (Board Skills Matrix) เพื่อให้มั่นใจว่าองค์ประกอบของคณะกรรมการโดยรวมมีความเหมาะสม ครบถ้วนความจำเป็นต่อการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักขององค์กร สามารถตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มได้ จึงส่งผลองค์ประกอบของคณะกรรมการชุดปัจจุบัน เป็นไปตามกฎหมายและหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

ความรู้ความชำนาญของกรรมการ (Skills Matrix)
การประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและความยั่งยืน ประจำปี 2566

เด็มโก้จัดการประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและความยั่งยืน 5 ครั้งต่อปี เพื่อติดตามผลการดำเนินงานด้านขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืนเทียบกับเป้าหมายที่กำหนด รวมถึงพิจารณาประเด็นด้านความยั่งยืนที่ทั่วโลกให้ความสนใจ เพื่อศึกษาผลกระทบและโอกาสทางธุรกิจ

การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัท

เพื่อประสิทธิผลสูงสุดในการดำเนินงานและการพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท เด็มโก้ได้จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ คณะกรรมการชุดย่อย และกรรมการรายบุคคล เป็นประจำทุกปี ด้วยวิธีการประเมินตนเอง (Self Evaluation) และ / หรือ ประเมินแบบไขว้ (Cross Evaluation) โดยเด็มโก้จะนำข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่ได้รับจากการประเมินผลการปฏิบัติของคณะกรรมการมาปรับปรุงประสิทธิผลการทำงานของคณะกรรมการบริษัท เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการกำกับดูแลกิจการของเด็มโก้ ซึ่งผลการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัท ประจำปี 2566 มีดังนี้

ผลการประเมินการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัท

ผลการประเมินของคณะกรรมการคณะกรรมการชุดย่อย

หลักเกณฑ์การให้คะแนนการประเมินปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ประจำปี 2566

0 = ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง หรือไม่มีการดำเนินการในเรื่องนั้น
1 = ไม่เห็นด้วย หรือมีการดำเนินการในเรื่องนั้นเล็กน้อย
2 = เห็นด้วย หรือมีการดำเนินการในเรื่องนั้นพอสมควร
3 = เห็นด้วยค่อนข้างมาก หรือมีการดำเนินการในเรื่องนั้นดี
4 = เห็นด้วยอย่างมาก หรือมีการดำเนินการในเรื่องนั้นดีเยี่ยม

ความสำคัญ

เด็มโก้ยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจเพื่อสนับสนุนให้เกิดการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม เคารพสิทธิเสรีภาพ ดูแลด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชน ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การเปิดเผยข้อมูล การดูแลด้านชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับจรรยาบรรณกรรมการ ผู้บริหารและพนักงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการสร้างวัฒนธรรม ธรรมาภิบาลที่ดีในองค์กร โดยวางหลักเกณฑ์และมาตรฐานการปฏิบัติงานให้กรรมการผู้บริหารและพนักงาน ถือปฏิบัติเพื่อให้การดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจเด็มโก้สอดคล้องกับนโยบาย ตลอดจนกฎหมาย และกฎเกณฑ์ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

ดัชนีชี้วัดความสำเร็จองค์กร
  • สัดส่วนของพนักงานทุกคนได้รับการประเมินมาตราฐานจรรยาบรรณและจริยธรรม
  • พนักงานทุกคน ได้รับการฝึกอบรม การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน และ ระเบียบการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
  • ข้อร้องเรียนที่ได้รับการตรวจสอบและแก้ไข
เป้าหมายปี 2565
  • สัดส่วนของพนักงานทุกคนได้รับการประเมินมาตรฐานจรรยาบรรณและจริยธรรม 100%
  • พนักงานทุกคน ได้รับการฝึกอบรม การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันและ ระเบียบการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง 100%
  • ไม่มีข้อร้องเรียนด้านจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
ผลการดำเนินงานปี 2565
  • พนักงานทุกคนได้รับการประเมินมาตรฐานจรรยาบรรณและจริยธรรม 100%
  • พนักงานทุกคนได้รับการฝึกอบรม การต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชัน และ ระเบียบการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง 100%
  • ไม่มี ข้อร้องเรียนด้านจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจในปี 2565
จริยธรรมว่าด้วยการสนับสนุนการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน

คณะกรรมการบริษัท ยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส โดยอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย หลักจริยธรรม และแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมทั้งสนับสนุนการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน การให้/รับสินบนในทุกรูปแบบ และตระหนักเป็นอย่างดีว่าการทุจริตคอร์รัปชัน การให้/รับสินบนส่งผลกระทบต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ สังคม และ ความมั่นคงของประเทศ โดยมีนโยบายในการสนับสนุนการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันและสินบน ดังนี้

  1. สนับสนุนการสร้างจิตสำนึก ค่านิยม ทัศนคติให้แก่พนักงานในการปฏิบัติงานอย่างซื่อสัตย์ โปร่งใส เที่ยงตรง เคารพกฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ สนับสนุนการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันและสินบนให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร รวมทั้งบริหารงานตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
  2. จัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอและเหมาะสม รวมทั้งพัฒนาระบบและกลไกในการตรวจสอบ ควบคุมและถ่วงดุลการใช้อำนาจให้เหมาะสม ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพื่อป้องกันและมิให้พนักงานทุจริตหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชันต่าง ๆ
  3. พนักงานต้องไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการเรียกร้อง หรือรับทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดจากบุคคลอื่นที่มี หรือธุรกิจเกี่ยวข้องกับกลุ่มธุรกิจเด็มโก้ เว้นแต่ในโอกาสหรือเทศกาลอันเป็นประเพณีนิยมที่คนทั่วไปพึงปฏิบัติต่อกัน และทรัพย์สินนั้นต้องไม่ใช่สิ่งผิดกฎหมาย รวมทั้งไม่อาศัยตำแหน่งหน้าที่หรือแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเอง และ/หรือผู้อื่นโดยมิชอบ
  4. จัดให้มีช่องทางในการสื่อสารเพื่อรับเรื่องร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสอันควรสงสัยโดยมีนโยบายในการคุ้มครองผู้ให้ข้อมูลหรือเบาะแส และจะเก็บรักษาข้อมูลของผู้ให้ข้อมูลเป็นความลับ รวมทั้งมีมาตรการในการตรวจสอบและกำหนดบทลงโทษตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
  5. สนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและสนับสนุนการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันและสินบน
แนวทางบริหารจัดการ การประเมินความเสี่ยงด้านทุจริทุจริตคอร์รัปชันและสินบน

เด็มโก้มุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส บนหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีซื่อสัตย์มีคุณธรรม โดยมุ่งผลลัพธ์ที่ยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สร้างผลตอบแทนที่ดีและมูลค่าเพิ่มจากการลงทุนให้กับนักลงทุน และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของพนักงาน ผู้บริหารและกรรมการของเด็มโก้เป็นสำคัญ เพื่อพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน การบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชันและสินบนเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ เด็มโก้สามารถดำเนินธุรกิจให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

เด็มโก้จัดทำคู่มือการบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชันและสินบนฉบับนี้ให้สอดคล้องกับคู่มือบริหารความเสี่ยง (Risk Management Manual) โดยจัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชันและสินบนในกระบวนการปฏิบัติงาน เพื่อให้มีความเข้าใจในโอกาสเกิดและระดับผลกระทบที่เด็มโก้อาจจะได้รับจากความเสี่ยงที่เกิดจากการทุจริตคอร์รัปชันและสินบน นอกจากนี้ ยังมีวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เพื่อระบุหน้าที่ความรับผิดชอบของ บุคลากรในแต่ละตำแหน่งงานในการป้องกัน ตรวจพบ และตอบสนองต่อความเสี่ยงด้านการทุจริตให้ชัดเจน และเป็นไปตามแนวทางปฏิบัติที่ดี เพื่อกําหนดแผนการดําเนินงานหรือตัวชี้วัดผลการดําเนินงาน (Key Performance Indicators: KPIs) สําหรับเรื่องการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันและสินบน และเพื่อวัดผลการดําเนินงานเรื่องการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันและสินบนที่ได้ดําเนินการไปแล้วเป็นต้น โดยคู่มือการบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชันและสินบนฉบับนี้จะมีการทบทวนให้สอดคล้องกับการดําเนินธุรกิจและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเป็นประจําทุกปี

สำหรับการประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชันและสินบน เด็มโก้ได้มีการทบทวนแผนงานความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งพบว่ายังมีความเหมาะสมและไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อนหน้า

การร่วมมือกับภาคีเครือข่ายด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน

เด็มโก้ได้ลงนามเข้าร่วมเป็น “สมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย” เพื่อแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันและสินบนในทุกรูปแบบ เพื่อให้มั่นใจว่าเด็มโก้มีนโยบายกำหนดความรับผิดชอบ แนวปฏิบัติ และข้อกำหนดในการดำเนินการที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันและสินบนกับทุกกิจกรรมทางธุรกิจของกลุ่มธุรกิจเด็มโก้ โดยคณะกรรมการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน (“CAC”) มีมติให้การรับรองบริษัทเป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Thai Private Sector Collective Action Against Corruption : CAC) ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2559 จนถึงปัจจุบัน

สำหรับปี 2565 เด็มโก้ได้รับการต่ออายุการรับรองเป็นสมาชิกของแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน (CAC Certified) ครั้งที่ 2

Demco CAC
Anti-Corruption
No Gift Policy Economic

เด็มโก้ ในฐานะภาคีสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติภาคเอกชนไทยในการต่อต้านคอร์รัปชัน จัดกิจกรรมภายใต้แนวคิด “รวมพลังอาสาสู้โกง” เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นในการร่วมต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ รวมทั้งสื่อสารเรื่อง No Gift Policy ในช่วงเทศกาลและโอกาสอื่นใดไปยังพนักงาน และผู้เกี่ยวข้องทราบ

การแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน

เพื่อให้การบริหารงานและการพัฒนาองค์กรสอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี เด็มโก้ได้จัดทำช่องทางการแจ้งเบาะแส เพื่อให้พนักงานและผู้มีส่วนได้เสียภายนอกองค์กร สามารถรายงานและแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนในกรณีที่สงสัยว่าจะมีการทุจริต และการกระทำผิดกฎหมายขึ้น โดยกำหนดให้มีมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสด้วยเช่นกัน ในส่วนของช่องทางการแจ้ง เบาะแสการทุจริตและกระทำผิด มีดังนี้

ขอบเขตการร้องเรียน / การแจ้งเบาะแส

การกระทำน่าสงสัยว่าฝ่าฝืนหลักปฏิบัติที่ดี ดังต่อไปนี้

  1. การฝ่าฝืนการปฏิบัติตามหลักการและแนวปฏิบัติของนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี
  2. การฝ่าฝืนกฎหมาย และกฎระเบียบข้อบังคับของบริษัท
  3. การได้รับความไม่เป็นธรรมในการปฏิบัติงาน
  4. การกระทำทุจริตคอร์รัปชัน

หลักเกณฑ์ในการรับเรื่องร้องเรียน

  1. อาจแสดงหรือไม่แสดงตัวตนได้
  2. ใช้ถ้อยคำหรือข้อความที่สุภาพ
  3. ข้อร้องเรียนต้องเป็นเรื่องจริงที่มีมูลเหตุ
  4. ข้อมูลที่ได้รับจะเก็บเป็นความลับ
  5. ผู้แจ้งเบาะแส/ร้องเรียน จะได้รับความคุ้มครองสิทธิไม่ว่าจะเป็นพนักงานหรือบุคคลภายนอก
  6. เป็นเรื่องที่ผู้ร้องหรือบริษัทได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย
  7. ข้อร้องเรียนที่ผู้ร้องที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วน ให้ยุติเรื่องและเก็บเป็นฐานข้อมูล

การตอบสนองผู้ร้องเรียน / ผู้แจ้งเบาะแส

  1. การตอบสนอง ตอบกลับผู้ร้องเรียน / ผู้แจ้งเบาะแสไม่เกิน 7 วันทำการหลังจากได้รับข้อร้องเรียน
  2. การพิจารณาดำเนินการตามเรื่องร้องเรียน ขึ้นอยู่กับความซับซ้อมของเรื่อง ความเพียงพอของเอกสาร หลักฐานที่ได้รับ และคำชี้แจงของผู้ร้องเรียน / ผู้แจ้งเบาะแส แต่ไม่เกิน 30 วันทำการ

ยื่นเรื่องด้วยตนเอง

(ตู้รับเรื่องร้องเรียน สำนักงานใหญ่ชั้น 2 อาคาร 1)

ส่งจดหมายทางไปรษณีย์ :

รองกรรมการผู้จัดการสำนักงานตรวจสอบ บริษัท เด็มโก้ จำกัด (มหาชน) เลขที่ 59 หมู่ 1 ต.สวนพริกไทย อ.เมืองปทุมธานี จ.ปทุมธานี 12000

ผ่านระบบ Internet ทาง Website ของบริษัท

https://www.demco.co.th/th/corporate-governance/whistleblowing-channel-form

ส่งหนังสือร้องเรียน / แจ้งเบาะแส ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามช่องทาง ดังนี้

  1. คณะกรรมการตรวจสอบ Email : Auditcom@demco.co.th
  2. คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและความยั่งยืน Email : goodgovernance@demco.co.th
  3. เลขานุการบริษัท Email : Com_Secretary@demco.co.th
  4. เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ Email : Ac_Secretary@demco.co.th
  5. เลขานุการคณะกรรมการสรรหาฯ Email : Gov_Secretary@demco.co.th

เด็มโก้มีมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียน โดยจะเก็บข้อมูลและตัวตนของผู้แจ้งเบาะแส หรือผู้ร้องเรียน และผู้ถูกร้องเรียนเป็นความลับ จะเปิดเผยข้อมูลเท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึงความปลอดภัย และความเสียหายของผู้รายงาน แหล่งที่มาของข้อมูลหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องที่ได้รับความเสียหาย จะได้รับการบรรเทาความเสียหายด้วยกระบวนการที่เหมาะสมและเป็นธรรม

การสร้างวัฒนธรรมองค์กรเชิงจริยธรรม (Ethical Culture)

คณะกรรมการตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งถือเป็นรากฐานของการดำรงอยู่ และความเจริญก้าวหน้าทางธุรกิจในอนาคตของเด็มโก้ การสร้างความเข้มแข็งของวัฒนธรรมองค์กร เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจด้วยเช่นกัน เด็มโก้ ได้กำหนดค่านิยม และวัฒนธรรมองค์กร ของกลุ่มบริษัทเด็มโก้ ไว้ 6 ด้าน ดังนี้

  1. วัฒนธรรมที่มุ่งเน้นผลงาน (Performance Culture)
  2. วัฒนธรรมทางจริยธรรม (Ethical Culture)
  3. วัฒนธรรมที่ตระหนักถึงความเสี่ยง (Risk Culture)
  4. วัฒนธรรมการเรียนรู้และการทางานเป็นทีม (Learning and Team Culture)
  5. วัฒนธรรมการเปลี่ยนแปลงและการสร้างนวัตกรรม (Change and Innovation Culture)
  6. วัฒนธรรมความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และการกากับดูแลกิจการ (ESG Culture)

รวมถึงได้จัดทำคู่มือการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร และแนวปฏิบัติที่ดีสาหรับคณะกรรมการ ผู้บริหารและพนักงานในการเสริมสร้างและรักษาวัฒนธรรมองค์กรสาหรับการพัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืนของกลุ่มบริษัทเด็มโก้ เพื่อให้บุคลากรทุกระดับ ได้ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติในการทางาน ซึ่งได้เผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ภายในของบริษัท และประกาศให้ทราบโดยทั่วกันแล้ว

ในปี 2565 เด็มโก้จัดทำแบบประเมินตนเองด้านจรรยาบรรณและจริยธรรมในการปฏิบัติงานประจำปี โดยกำหนดช่องทางการสื่อสารในการทำแบบประเมินจริยธรรมและจรรยาบรรณในการปฏิบัติงาน (Ethical Self-Assessment) ของพนักงาน ทุกเดือนตุลาคมของทุกปี และได้สรุปผลการประเมิน และรายงานผลต่อคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและความยั่งยืน

และเพื่อเป็นการส่งเสริมกำกับวัฒนธรรมองค์กรของกลุ่มบริษัทเด็มโก้ ให้เป็นไปในแนวทางที่กำหนดไว้ และสามารถจัดการกับความเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องตามนโยบายที่กำหนด ตอบสนองต่อการดำเนินการด้านความยั่งยืนในการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตลอดจนสะท้อนปัญหาสภาพแวดล้อมของการปฏิบัติงานในปัจจุบัน หน่วยงานกำกับและควบคุม จึงจัดทำแบบสอบถามเพื่อสารวจความคิดเห็นของพนักงานเพื่อประเมินวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และนำผลสารวจเสนอผู้เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนา และปรับปรุงแก้ไขต่อไป

การขัดแย้งทางผลประโยชน์

นโยบายการของดําเนินธุรกิจเด็มโก้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและอยู่บนหลักการที่ว่าการตัดสินใจใด ๆ ในการเข้าทําธุรกรรม หรือรายการใด ๆ ของเด็มโก้หรือบริษัทย่อย จะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัท และผู้ถือหุ้นของเด็มโก้และหลีกเลี่ยงการกระทําที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยกําหนดให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียกับรายการที่พิจารณาต้องแจ้งให้คณะกรรมการหรือผู้บริหารทราบถึงความสัมพันธ์หรือการมีส่วนได้เสียของตนในรายการดังกล่าวและต้องไม่มีส่วนร่วมในการพิจารณารวมถึงไม่มีอํานาจในการอนุมัติธุรกรรมหรือรายการดังกล่าว ดังนั้น เด็มโก้จึงได้จัดทํานโยบาย การป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์เพื่อเป็นแนวทางให้ทุกคนในองค์กรถือปฏิบัติ

ในปี 2565 เด็มโก้จัดอบรมออนไลน์คู่มือการปฏิบัติงานและให้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยพนักงานสามารถศึกษา ทำแบบทดสอบและรับใบประกาศนียบัตร (ออนไลน์) ได้ด้วยตนเองผ่าน www.info.demco>กฎหมาย>E-Learning เรื่อง นโยบายและคู่มือความขัดแย้งทางผลประโยชน์ฯ

ทั้งนี้ ในปี 2565 เด็มโก้ไม่พบการกระทำที่ละเมิดนโยบายความขัดแย้งทางผลประโยชน์

ความสำคัญ

ภายใต้สภาวะความไม่แน่นอนในการดำเนินธุรกิจนำมาซึ่งความเสี่ยงอันท้าทายที่เด็มโก้ ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นการบริหารจัดการความเสี่ยงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งที่จะสนับสนุนให้องค์กรสามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และยังสามารถสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับผู้มีส่วนได้เสียได้อีกทางหนึ่งอย่างไรก็ตาม สภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอย่างมาก ในอัตราเร่งที่สูงขึ้น นำมาซึ่งความเสี่ยงที่รุนแรงกว่าเดิมโดยเฉพาะความเสี่ยงในระดับกลยุทธ์จำเป็นต้องศึกษา เรียนรู้ และพัฒนากระบวนการบริหารความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

ดัชนีชี้วัดความสำเร็จองค์กร
  • มีการบริหารจัดการความเสี่ยงติดตามและทบทวนความเสี่ยงระดับหน่วยงาน 100 %
ผลการดำเนินงานปี 2566
  • การบริหารจัดการความเสี่ยง ติดตามและทบทวนความเสี่ยงระดับหน่วยงาน 100 %
ความมุ่งมั่นและแนวทางสู่ความสำเร็จ

เด็มโก้ให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยง มีการกำหนดโครงสร้างการบริหารความเสี่ยง การกำกับการประเมิน การติดตาม การรายงานผลการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ ผ่านคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงระดับจัดการ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร โดยมีสายงานบริหารความเสี่ยงที่เป็นหน่วยงานอิสระรายงานขึ้นตรงต่อ กรรมการผู้จัดการทำหน้าที่เป็นเลขานุการ รวมทั้งวางกรอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการความเสี่ยง ดังนี้

  • นโยบายการบริหารจัดการความเสี่ยง
  • กลยุทธ์ในการบริหารจัดการความเสี่ยงที่มีทิศทางเดียวกันทั้งองค์กร
  • โครงสร้างและกรอบบริหารจัดการความเสี่ยงที่ครอบคลุมทั้งระดับองค์กรและระดับหน่วย
  • คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงทั้งในระดับกรรมการบริษัทและระดับจัดการที่เป็นตัวแทนของทุกหน่วยงาน
  • ระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงในระดับสากล (COSO ERM Framework)
  • การบริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ (Emerging Risk) มีแผน เพื่อลดผลกระทบของความเสี่ยงเหล่านั้นต่อการดำเนินธุรกิจ
  • มีระบบการบริหารความต่อเนื่องการดำเนินงาน (Business Continuity Management : BCM) หรือแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan : BCP)
  • การส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร
ผลการดำเนินงาน

ในปี 2566 เด็มโก้ได้ทบทวน วิสัยทัศน์ พันธกิจ รวมถึงแผนกลยุทธ์ นโยบายและแผนการบริหารความเสี่ยงและผลกระทบรอบด้านทางธุรกิจเพื่อรองรับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป และ/หรืออาจจะเกิดขึ้น มีการทบทวน ปรับปรุงแนวทางการจัดการความเสี่ยงหลักในการดำเนินธุรกิจของบริษัท (Key Risk) ทบทวนแนวทางการจัดการความเสี่ยงด้านความยั่งยืน (ESG Risk) นำ "Risk Appetite" และ "Risk Tolerance" ใช้ในกรอบการบริหารความเสี่ยง ปี 2567 ทบทวนตัวชี้วัดความสำเร็จด้านต่าง ๆ ขององค์กรให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้ผู้บริหารและพนักงาน ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกับบริหารความเสี่ยงใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ เด็มโก้ยังให้ความสำคัญต่อการกำกับดูแลความเพียงพอของระบบบริหารความเสี่ยงที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee: AC) และการทวนสอบประสิทธิภาพของผลการดำเนินการบริหารความเสี่ยงโดยคณะกรรมการบริษัท เป็นรายปี เพื่อ ให้มั่นใจว่าเด็มโก้ ได้นำเครื่องมือในการบริหารจัดการความเสี่ยงมาใช้เพื่อช่วยสนับสนุนต่อการผลักดันประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม

ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ (EMERGING RISK)

การพัฒนาและความเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี (Technology Disruption Risk)

ความเสี่ยงจาก Technology Disruption ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจของเด็มโก้ ทำให้เสียโอกาสในการหาลูกค้าการใช้ทรัพยากรที่มากเกินไป รวมถึงพัฒนาด้านอื่น ๆ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น การใช้หุ่นยนต์ทำงานแทนคน เทคโนโลยีโทรคมนาคมระดับ 5G การนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent : AI) มาใช้ เป็นต้น

แนวทางการดำเนินการ :

เด็มโก้จัดอบรมเพื่อเพิ่มความรู้ด้านเทคโนโลยีใหม่ ให้กับพนักงานและสามารถนำมาปรับใช้กับการทำงานได้ รวมถึงเสริมสร้างการตระหนักถึงความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่พนักงานทุกคนในองค์กร ปรับปรุงกระบวนการทำงานของหน่วยงานภายในให้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้มากขึ้นพัฒนาการออกแบบโดยใช้ Software และวิธีการทำงานใหม่ ๆ เพื่อลดต้นทุนและลดระยะเวลาการก่อสร้างเพื่อให้สามารถทำงานที่ใดก็ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Risk)

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีความรุนแรงและความถี่ที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินธุรกิจ เช่น ปริมาณความเข้มของแสงอาทิตย์ที่เปลี่ยนแปลงไป ความเร็วของลมไม่สม่ำเสมอ ส่งผลต่อปริมาณการผลิตไฟฟ้าไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ กระทบต่อรายได้จากการขายไฟ

แนวทางการดำเนินการ :

เด็มโก้ได้กำหนดค่าเผื่อไว้ในโมเดลการคำนวณ มีการศึกษาข้อมูลสถิติจากแหล่งที่น่าเชื่อถือย้อนหลังมากที่สุดที่จะหาได้ ให้ความสำคัญกับการเดินระบบและซ่อมบำรุง (Operation & Maintenance : O&M และติดตามประสิทธิภาพของการผลิตไฟอย่างใกล้ชิด พร้อมแก้ปัญหาทันทีเมื่อประสิทธิภาพการผลิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการติดตามประสิทธิภาพของแผนการผลิต และออกแบบพื้นที่ติดตั้งแผง Solar ให้มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับสภาพพื้นที่โดยนำโปรแกรม PVSyst มาใช้ประเมินเพื่อพิจารณาด้านเทคนิคในการติดตั้งจากพื้นที่แต่ละโครงการ

ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนผ่าน (Transition Risk)

การเปลี่ยนแปลงสู่สังคมคาร์บอนต่ำ มีการเปลี่ยนแปลงของข้อกฎหมายและนโยบายของหน่วยงานทางภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น ส่งผลกระทบทางด้านการเงิน ทำให้ต้นทุนในการดำเนินงานที่สูงขึ้น ซึ่งอาจเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบการปล่อยคาร์บอน เป็นต้น

แนวทางการดำเนินการ :

ลงทุนในกิจการพลังงานสะอาด หรือกิจการพลังงานทดแทน ติดตามข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์และปรับเปลี่ยนแนวทางในการดำเนินงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการดำเนินธุรกิจ และหาพันธมิตรทางธุรกิจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อลดต้นทุนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงเข้าร่วมการขึ้นทะเบียนรับรองการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

การสร้างวัฒนธรรมการบริหารจัดการความเสี่ยง

เด็มโก้มุ่งมั่นในการสร้างวัฒนธรรมความเสี่ยงภายในองค์กรโดยการจัดอบรมหลักสูตรการบริหารจัดการความเสี่ยงให้แก่พนักงานและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง การจัดฝึกอบรมทั้งในรูปแบบออน์ไลน์ (E-Learning) และรูปแบบเชิงปฏิบัติการ (Workshop) จนการบริหารความเสี่ยงกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร ที่ทุกคนต้องปฏิบัติเสมือนการดำเนินการปกติภายในบริษัท

การจัดอบรมหลักสูตรการบริหารจัดการความเสี่ยง
อบรมภายใน (In-House Training)

เทคนิคการพัฒนา Risk Strategic Plan สำหรับคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงคู่ขนานกับกลยุทธ์องค์กร รุ่น 3

วันที่ 24-25 กรกฎาคม 2566

วัตถุประสงค์ :

ให้ผู้เข้ารับการอบรมทราบถึงแนวคิดการจัดทำ Risk Strategic Plan ที่มีเป้าหมายความเสี่ยงและเกณฑ์ความเสี่ยงที่ชัดเจนคู่ขนานกับกลยุทธ์องค์กร และแนวทางการจัดการทำแผนกลยุทธ์ความเสี่ยงในระดับเดียวกับกลยุทธ์ เพื่อรองรับต่อความคาดหวังและความท้าทายในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร

หลักการทั่วไปการบริหารสัญญาและความเสี่ยงของงานก่อสร้าง

วันที่ 16 สิงหาคม 2566

วัตถุประสงค์ :

เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในหลักการบริหารสัญญาและการบริหารความเสี่ยงในงานก่อสร้างและสามารถวิเคราะห์และเข้าใจเทคนิคการควบคุมและติดตามแผนการจัดการความเสี่ยง

อบรมหลักผ่านระบบออนไลน์

เทคนิคเทคนิคการกำหนด KRIs ที่เชื่อมโยงกับ KCIs และ KPIs

วันที่ 18 - 19 กันยายน 2566

วัตถุประสงค์ :

เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมทราบถึงความสำคัญ ของ KCIs และ KPIs และนำมาใช้ประโยชน์ที่เชื่อมโยงกับค่าเป้าหมายความเสี่ยงและ เกณฑ์ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ตลอดจนเชื่อมโยงกับ KPIs ขององค์กร

การบริหารความเสี่ยง และกลยุทธ์องค์กรด้วยมาตรฐาน COSO ERM 2017

วันที่ 13-14 พฤศจิกายน 2566

วัตถุประสงค์ :

เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในเชิงลึกเกี่ยวกับมาตรฐานการบริหารความเสี่ยง COSO ERM 2017 เปรียบเทียบกับมาตรฐานการบริหารความเสี่ยงหลักอื่น

ความสำคัญ

ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจของเด็มโก้ต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่สำคัญในหลาย ๆ ด้าน ถึงแม้ว่าเด็มโก้จะมีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเป็นระบบแล้วก็ตาม แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงบางประการที่ไม่สามารถป้องกันได้เช่น ปัจจัยเสี่ยงจากภัยคุกคามจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปรวมถึงปัจจัยเสี่ยงจากการก่อการร้ายวินาศกรรม การโจมตีทางไซเบอร์ และการเกิดโรคระบาด เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท ชื่อเสียง และความเชื่อมั่น

ดังนั้น เด็มโก้จึงได้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Management : BCM) และการจัดทำแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan : BCP) เพื่อให้มั่นใจว่าระบบการบริหารธุรกิจอย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพและมั่นใจได้ว่าหากเกิดเหตุการณ์วิกฤตต่าง ๆ เด็มโก้จะสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องหรือกลับมาดำเนินธุรกิจได้ในเวลาที่เหมาะสม

เด็มโก้ จัดทำระบบการบริหารการบริหารธุรกิจอย่างต่อเนื่องโดยอ้างอิงมาตรฐานสากล เช่น ISO22301:2012 ซึ่งครอบคลุมกระบวนการที่เกี่ยวข้องเช่น การระบุหน่วยธุรกิจที่สำคัญการวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ การประเมินความเสี่ยง การจัดทำแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และการฝึกซ้อมตามแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เด็มโก้ ได้จัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจบริหารภาวะวิกฤต (Crisis Management Steering Committee) โดยมีการติดตามสถานการณ์และรายงานความคืบหน้าของแผนดำเนินการต่าง ๆ ตลอดจนสนับสนุนทีมงานในการดำเนินงานช่วงสถานการณ์ภาวะวิกฤต นอกจากนี้ยังมีทีมสนับสนุนเช่น คณะทำงานเหตุการณ์วิกฤต (Crisis Working Team : CWT) โดยดำเนินการฝึกซ้อมความต่อเนื่องทางธุรกิจเป็นประจำทุกปี

แนวทางการบริหารจัดการ

การบริหารธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เน้นการให้ความสำคัญกับการฟื้นคืนกระบวนการหลักที่จำเป็นที่ส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในกรณีเกิดภาวะวิกฤติภายในเวลาที่ยอมรับได้ ส่วนกระบวนการสนับสนุนอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีความจำเป็นเร่งด่วน จะได้รับการฟื้นคืนในลำดับถัดไป

ภาพรวมการดำเนินงานในรอบปี

ในปี 2566 ได้มีการทบทวนปรับปรุงแผนบริหารความต่อเนื่อง (ฺBCP) ของเด็มโก้ โดยมีการประเมินผลจากสถานการณ์เมื่อเกิดเหตุวิกฤตแล้วทำให้ระบบ IT / ERPได้รับความเสี่ยงหาย เพื่อให้องค์กรมีความพร้อมต่อการรับมือในสถานการณ์จริงอยู่เสมอ

ความสำคัญ

เด็มโก้มุ่งมั่นปลูกฝังและพัฒนา “นวัตกรรม” (Innovation) ซึ่งเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมองค์กร เด็มโก้ จึงให้ความสําคัญกับการคิดสร้างสรรค์และการบริหารจัดการนวัตกรรม ซึ่งถือเป็นปัจจัยสําคัญประการหนึ่งในการขับเคลื่อนธุรกิจ เนื่องจากความคิดสร้างสรรค์ การบริหารจัดการนวัตกรรมสามารถเพิ่มพูนศักยภาพของเด็มโก้ให้ดําเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลก้าวไปสู่การเป็นองค์กรแห่งความยั่งยืน

ดัชนีชี้วัดความสำเร็จองค์กร
  • นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมของบรษัท
  • มีกิจกรรม Innovation ที่เข้าเงื่อนไข THSI
เป้าหมายปี 2565
  • มีนโยบายการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และการบริหารจัดการนวัตกรรม
  • มีกิจกรรมา Innovation ที่เข้าเงื่อนไข THIS อย่างน้อย 10 กิจกรรม
ผลการดำเนินงานปี 2565
  • มีนโยบายการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และการบริหารจัดการนวัตกรรม
  • มีกิจกรรม Innovation ที่เข้าเงื่อนไข THIS 5 กิจกรรม
ความมุ่งมั่นและเป้าหมาย

เด็มโก้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเสริมสร้างความรู้ด้านนวัตกรรมให้แก่พนักงานในองค์กรรคิดสร้างสรรค์และการบริหารจัดการนวัตกรรม ซึ่งถือเป็นปัจจัยสําคัญประการหนึ่งในการขับเคลื่อนธุรกิจ เนื่องจากความคิดสร้างสรรค์ การบริหารจัดการนวัตกรรมสามารถเพิ่มพูนศักยภาพของเด็มโก้ให้ดําเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลก้าวไปสู้การเป็นองค์กรแห่งความยั่งยืน เด็มโก้จึงมีนโยบายส่งเสริม สนับสนุน ให้เกิดการใช้ความคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรมขององค์กรในทุกกระบวนการทํางาน เพื่อสร้างคุณค่าและเกิดความคุ้มค่า (Value) สามารถตอบสนองต่อความต้องการ และความคาดหวังที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสียตลอดจนเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของเด็มโก้ รณรงค์และผลักดันให้มีการบริหารจัดการนวัตกรรมและองค์ความรู้อย่างเป็นระบบในองค์กร

โดยดำเนินการจัดทำนโยบายการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และการบริหารจัดการนวัตกรรมเพื่อส่งเสริม สนับสนุน ให้เกิดการใช้ความคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรมขององค์กร ในทุกกระบวนการทำงาน เพื่อสร้างคุณค่าและเกิดความคุ้มค่า (Value) สามารถตอบสนองต่อความต้องการ และความคาดหวังที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดจนเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของเด็มโก้ ให้ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ก้าวไปสู่การเป็นองค์กรแห่งความยั่งยืน

แนวทางการบริหารจัดการ
วัฒนธรรมนวัตกรรม

เด็มโก้ตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งถือเป็นรากฐานของการดำรงอยู่ และความเจริญก้าวหน้าทางธุรกิจในอนาคตของเด็มโก้ การสร้างความเข้มแข็งของวัฒนธรรมองค์กรเป็นการสร้างความเข้ฒแข็งให้กับธุรกิจด้วยเช่นกัน เด็มโก้จึงได้จัดทำคู่มือเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมด้านการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม (Change and Innovation Culture) เพื่อปลูกฝัง สร้างความรู้ความเข้าใจให้ผู้บริหารและพนักงาน ตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงและการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่และจัดหาเพิ่มเติม มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการสื่อสาร การปฏิบัติงานและการทำงานร่วมกัน เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน เพื่อระบบงานในกลุ่มบริษัทเด็มโก้ ให้มีความทันสมัย และมีประสิทธิภาพ

ผลการดำเนินงาน

ในปี 2565 เด็มโก้สนับสนุนให้ทุกหน่วยงานคิดนวัตกรรมเชิงกระบวนการเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน ลดต้นทุนในการผลิตหรือเพิ่มรายได้ให้กับองค์กร ภายใต้แนวคิด DEMCO 1: 1: 1 Innovation Project ในปีที่ผ่านมาแต่ละหน่วยงานได้นำนวัตกรรมมาช่วยในการดำเนินงานดังนี้

นวัตกรรมเชิงผลิตภัณฑ์

การใช้เทคโนโลยีโดรน (Drone DEMCO Innovation)

การใช้โดรนเพื่องานระบบสายส่ง ในการสำรวจพื้นที่งาน หรือการปฏิบัติงานขึงสายผ่านเส้นทางที่ไม่สามารถเข้าได้ง่าย เช่น การขึงสายผ่านแม่น้ำ หน้าผา หุบเขา รวมถึงพื้นที่ชาวบ้านที่ไม่อยากให้ผ่าน เช่น พืชเศรษฐกิจ ซึ่งการนำโดรนเข้ามาช่วยในการปฏิบัติงานจะช่วยลดอุปสรรคด้านการก่อสร้าง อีกทั้งยังลดเวลา รวมทั้งใช้กำลังคนน้อยลง และลดความเสี่ยงของอันตรายที่จะเกิดขึ้นได้อีกด้วย

การใช้เทคโนโลยีโดรน (Drone DEMCO Innovation)
นวัตกรรมเชิงกระบวนการ

นวัตกรรมการประยุกต์ใช้โปรแกรม PDF

การประยุกต์ใช้โปรแกรม PDF มาประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของแบบแปลนและรายการคำนวณเพื่อลดค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าวัสดุอุปกรณ์สํานักงาน

คุณค่า / ประโยชน์

ลดต้นทุนจากการดำเนินงานสามารถลดการใช้กระดาษลง 3,658 แผ่น เทียบเท่ากระดาษ 7.32 รีม คิดเป็นเงินจำนวน 1,830 บาท ลดการใช้หมึกพิมพ์จำนวน 0.21 ตลับหมึก คิดเป็นเงินที่ 1,680 บาท

Dashboard ติดตามข้อมูลผลการดำเนินงาน ได้แบบ Real Time

การสร้างโปรแกรมเพื่อให้ทำหน้าที่บางอย่างที่เป็นการทำซ้ำ แทนแรงงานคน เพื่ออำนวยความสะดวกพนักงานในการทำงาน ลดระยะเวลาทำงานที่ไม่จำเป็น ทำให้พนักงานสามารถทำงานอย่างอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งโปรแกรมจะช่วยแสดงข้อมูลที่จำเป็นแบบ Real Time ให้พนักงานได้ทันที เพื่อให้พนักงานสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์หรือใช้ประกอบในงานส่วนอื่น ๆ ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาในการเก็บข้อมูลเอง

คุณค่า / ประโยชน์

ลดต้นทุน / ลดปัญหาและความผิดพลาดจากคน / อำนวยความสะดวกให้แก่พนักงาน

Autodesk Revit โซลูชันเพื่อการออกแบบ
Autodesk Revit โซลูชันเพื่อการออกแบบ

นวัตกรรมที่ช่วยออกแบบงานด้านอาคารโดยเฉพาะ โดยใช้หลักการสร้างรูปแบบจำลองข้อมูลของอาคาร (Building Information Modeling) แทนการเขียนแบบ สามารถร่างแบบ ระบบต่าง ๆ ภายในตัวอาคาร เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ และระบบสุขภิบาล เพื่อช่วยให้การทำงานได้มีคุณภาพมากขึ้น ประหยัดพลังงานมากขึ้น มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

คุณค่า / ประโยชน์

ลดการปรับแก้ไขงาน ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดของเหลือทิ้งในระหว่างก่อสร้างออกแบบระบบอาคารครบเสมือนจริงแบบสามมิติ ลดของเสียจากการเผื่อวัสดุ

E-book เอกสารประกอบการจ่าย

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และลดความผิดพลาดในขั้นตอนที่หน่วยงานต้องประสานงานกับหน่วยงานบัญชี อาทิ การวางบิล การเบิกเงิน การเบิกเงินสดย่อย เป็นตอน โดยจัดทำคู่มือ e-book เพื่อให้พนักงานทั่วไปเข้าใช้งานได้ตลอดเวลา ลดภาระงานบัญชีในการตอบคำถาม

คุณค่า / ประโยชน์

  • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดความผิดพลาดในเอกสารไม่ให้เกิดความล่าช้า
  • ลดขั้นตอนในการทำงานของฝ่ายบัญชีในเรื่องของการให้ข้อมูลกับหน่วยงานต่างๆ
  • ลดเวลาในการสอนงานในกรณีที่มีพนักงานเข้าใหม่
ระบบ e-Withholding Tax

ระบบ e-Withholding Tax นี้ถูกออกแบบมาเป็นช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้เสียภาษีในการนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย เด็มโก้ ได้ประยุกต์ใช้นวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานลดขั้นตอนการปฏิบัติงานรวมถึงลดความเสี่ยงในการนําส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายไม่ครบถ้วน โดยวิธีการยื่นแบบผ่านระบบ E-witholding tax เพิ่มประสิทธิภาพจากการลดปริมาณงาน ลดกระดาษ ลดการพื้นที่การจัดเก็บเอกสาร ปิดความเสี่ยงจากการยื่นแบบไม่ทันตามกําหนด หรือ นําส่ง WHT ไม่ครบถ้วน

คุณค่า / ประโยชน์

ระบบ e-Withholding Tax
ความสำคัญ

เด็มโก้ให้ความสำคัญในด้านการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนเป็นประเด็นสำคัญในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากเป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้เด็มโก้สามารถพัฒนาความสัมพันธ์กับคู่ค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขยายความสามารถในการแข่งขันและลดความเสี่ยงที่อาจกระทบต่อการดำเนินธุรกิจด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดจากการดำเนินงานของคู่ค้า นอกจากนี้ เพื่อส่งเสริมให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน เด็มโก้จึงมีแนวทางในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการคัดเลือกคู่ค้าการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบสินค้าและบริการของคู่ค้าจนถึงกระบวนการประเมินผลการดำเนินงานประจำปี ตลอดจนการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งสอดคล้องกับความมุ่งมั่นของ เด็มโก้ที่จะดำเนินธุรกิจร่วมกับคู่ค้าด้วยความโปร่งใส

ดัชนีชี้วัดความสำเร็จองค์กร
  • ร้อยละของคู่ค้ารายสำคัญที่ร่วมลงนามปฏิบัติตามจรรยาบรรณคู่ค้าของธุรกิจ
เป้าหมายปี 2565
  • คู่ค้าจะต้องลงนามรับทราบจรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติคู่ค้าร้อยละ 70
ผลการดำเนินงานปี 2565
  • คู่ค้าลงนามรับทราบจรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติร้อยละ 84
ความมุ่งมั่นและเป้าหมาย

ด้วยความมุ่งมั่นในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืนตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของกลุ่มธุรกิจเด็มโก้ ซึ่งคำนึงถึงการดำเนินกิจการอย่างยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ (Economic) สังคม (Social) สิ่งแวดล้อม (Environment) และการกำกับดูแลกิจการ (Governance) และได้ดําเนินงานจัดซื้อจัดจ้างที่โปร่งใส เป็นธรรมและตรวจสอบได้ และเพื่อแสดงเจตนารมณ์ของกลุ่มธุรกิจเด็มโก้ ในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบอย่างสิ้นเชิง ในปี 2565 จึงได้มีการทบทวนนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของกลุ่มธุรกิจเด็มโก้ เพื่อดำเนินการคัดเลือกผู้ขายและผู้ให้บริการที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก สนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Procurement)

การบริหารจัดการคู่ค้าอย่างยั่งยืน

เด็มโก้ได้พัฒนากระบวนการบริหารจัดการคู่ค้าขององค์กรเพื่อความยั่งยืน เพื่อให้คู่ค้าของกลุ่มธุรกิจเด็มโก้มีแนวทางเดียวกัน โดยจัดทำแนวทางการปฏิบัติของคู่ค้าของกลุ่มธุรกิจเด็มโก้ (Supplier Code of Conduct and Guideline) ที่ครอบคลุมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (Environmental, Social and Governance : ESG) เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเด็มโก้ในการสนับสนุนให้คู่ค้ามีการดำเนินงานอย่างมีจริยธรรมคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนเกิดความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงปฏิบัติตามตามมาตรฐานความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน และเสริมสร้างการเติบโตในระยะยาวไปด้วยกัน ซึ่งกรอบของแนวทางประกอบไปด้วย 4 แนวทางหลัก ดังนี้

หลักเกณฑ์ในการจัดกลุ่มประเภทคู่ค้า

เด็มโก้กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดกลุ่มประเภทคู่ค้า ซึ่งทำให้องค์กรสามารถวิเคราะห์และกำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินงานด้านการจัดซื้อรวมถึงนำไปเป็นข้อมูลในการประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับคู่ค้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจำแนกหลักเกณฑ์ในการจัดกลุ่มคู่ค้าตามความสำคัญของกลุ่มสินค้าและคู่ค้าตามมูลค่าการจัดหาและระดับความเสี่ยงในการจัดหา เพื่อสามารถจัดลำดับความสำคัญและแนวทางการบรรเทาความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยพิจารณาจากลุ่มสินค้าและคู่ค้าที่มีมูลค่าสูง ระดับความเสี่ยงและผลกระทบต่อรายได้บริษัท

จรรยาบรรณจรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติคู่ค้า

เด็มโก้ได้จัดทำจรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติคู่ค้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้คู่ค้าของเด็มโก้ และกลุ่มบริษัทเด็มโก้ ดำเนินธุรกิจตามหลักจริยธรรม เคารพสิทธิเสรีภาพและปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรมตามหลักสิทธิมนุษยชน ให้ความสำคัญด้านความรับผิดชอบต่อความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม ซึ่งมีรายละเอียดหัวข้อที่เกี่ยวข้องดังนี้

จรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติคู่ค้า QR Code จรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติคู่ค้า

ในปี 2565 เด็มโก้ได้ดำเนินการส่งจรรยาบรรณและแนวปฏิบัติคู่ค้า เพื่อให้คู่ค้าทราบถึงแนวทางปฏิบัติตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของกลุ่มธุรกิจเด็มโก้ โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันและยกระดับในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนร่วมกัน ซึ่งคู่ค้ามีความสนใจและให้ความร่วมมือในการลงนามรับทราบจรรยาบรรณและแนวปฏิบัติคู่ค้าอย่างดี

นโยบายการกำหนดระยะเวลาการชําระเงินให้กับคู่ค้า (Credit Term)

ในปี 2565 เด็มโก้ได้ดำเนินการจัดทำนโยบายการกำหนดระยะเวลาการชำระเงินให้กับคู่ค้าเพื่อกําหนดระยะเวลาการชําระเงินให้กับคู่ค้า และกําหนดหลักเกณฑ์การจัดการระยะเวลาการชําระเงินเพื่อเป็นมาตรฐานและแนวทางการปฏิบัติเบื้องต้น เพี่อสนับสนุนให้เด็มโก้สามารถบริหารจัดการเงินและพัฒนาธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืนในการขับเคลื่อนธุรกิจทั้งนี้สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ของบริษัท www.demco.co.th ภายใต้หมวดการกำกับดูแลกิจการที่ดี

นโยบายการกำหนดระยะเวลาการชําระเงินให้กับคู่ค้า (Credit Term) นโยบายการกำหนดระยะเวลาการชําระเงินให้กับคู่ค้า (Credit Term)

ความสำคัญ

เด็มโก้มีความมุ่งมั่นที่จัดให้มีแนวทางการบริหารจัดการด้านภาษีที่รัดกุมส่งเสริมการสร้างมูลค่าและคุณค่าสูงสุดให้แก่กิจการ มีการเสียภาษีอย่างถูกต้องตามที่กฎหมายกําหนด ตลอดจนการวางแผนและปฏิบัติงานด้านภาษีสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันตามแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานสากล โดยยึดมั่นในการดําเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม ยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคมและ ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มตามหลักบรรษัทภิบาลที่ดีและจรรยาบรรณทางธุรกิจอีกทั้ง ให้สอดคล้องกับแนวทางการดําเนินงานด้านความยั่งยืน ซึ่งมุ่งเน้นให้ธุรกิจมีการเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล

การบริหารจัดการทางภาษี
  1. มีความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการด้านภาษีโดยยึดถือและปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับภาษีของประเทศที่บริษัทมีการดําเนินธุรกิจ นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทเด็มโก้จะใช้ความรอบคอบและความโปร่งใสเป็นหลักเกณฑ์ในการดําเนินงานด้านภาษีหากกฎหมายภาษีไม่มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน
  2. มีแนวทางการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการยื่นแบบชําระเงินและการขอคืนภาษีภายในกําหนดเวลาอย่างถูกต้องและครบถ้วนตามกฎหมาย
  3. มีระบบควบคุมการปฏิบัติงาน ในกระบวนการดําเนินงานทั้งหมดที่เกี่ยวกับการบริหารหนี้สินด้านภาษีอย่างครบถ้วนและชัดเจน
  4. มีการเปิดเผยและจัดทํารายงานด้านภาษีที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบอิสระ รวมถึงการแสดงค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้และภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีอย่างถูกต้อง
  5. มีการเปิดเผยและจัดทํารายงานด้านภาษีที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบอิสระ รวมถึงการแสดงค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้และภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีอย่างถูกต้อง
ภาพรวมการดำเนินงานในรอบปี

เพื่อให้สามารถปฏิบัติและดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง สอดคล้องกับกิจกรรมขององค์กร ซึ่งช่วยให้ชำระภาษีได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามหลักกฎหมาย หลีกเลี่ยงค่าปรับเงินเพิ่ม ลดข้อผิดพลาดในการคำนวนภาษีและเป็นการวางแผนอย่างรัดกุุมเพื่่อป้องกันปัญหาทางภาษีอากรที่่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ในปี 2566 เด็มโก้จึงได้จัดทำนโยบายนโยบายการปฏิบัติของกลุ่มธุรกิจเด็มโก้ นอกจากนี้ยังได้จัดทำคู่มือปฏิบัติงานด้านภาษีของกลุ่มธุรกิจเด็มโก้ จัดทำ Transfer Pricing Review และสื่อสารให้พนักงานได้รับทราบ

ความสำคัญ

เด็มโก้เคร่งครัดในการปฏิบัติตามข้อกำหนดและข้อปฏิบัติโดยระบุไว้ใน “นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมในการประกอบธุรกิจ” ในเรื่องของการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ตรงเวลา หรือสูงกว่าความคาดหวังของลูกค้า ภายใต้เงื่อนไขที่เป็นธรรม โดยเด็มโก้ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทที่ถูกต้อง เพียงพอ และทันต่อเหตุการณ์ เพื่อให้ลูกค้ามีข้อมูลในการตัดสินใจอีกประเด็นที่สำคัญคือการรักษาความลับของลูกค้า ซึ่งเด็มโก้ปฏิบัติตามนโยบายและจรรยาบรรณว่าด้วยการรักษาความลับ การเก็บรักษาข้อมูลและการใช้ข้อมูลภายใน ซึ่งรวมถึงการปกปิดข้อมูลลูกค้าและความลับทางการค้า ไม่มีการนำข้อมูลใด ๆ ไปใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้ที่เกี่ยวข้องโดยมิชอบ ยิ่งไปกว่านั้นเด็มโก้ได้ทำการตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยความรวดเร็ว และจัดให้มีระบบตลอดจนช่องทางให้ลูกค้าร้องเรียนเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้าและบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการสอบถามความพึงพอใจของลูกค้าและสรุปข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์ เพื่อเข้าสู่การทบทวนระบบคุณภาพและการพัฒนาต่อไป

ดัชนีชี้วัดความสำเร็จองค์กร
  • ความพึงพอใจลูกค้าอยู่ในระดับเกินกว่าร้อยละ 85
ความพึงพอใจของลูกค้า 94%
  • ระดับความพึงพอใจของลูกค้าอยู่ในระดับ ร้อยละ 88.17
แนวทางการบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าของบริษัทฯ มีดังนี้ :
  • เสริมสร้างความผูกพันกับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเข้าถึงและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที
  • มุ่งมั่นในการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า
  • นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่คำนึงถึงความยั่งยืนและสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้
  • การสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าเป็นประจำทุกปีและการจัดกิจกรรมเพื่อรักษาความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับความผูกพันและความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอและเป็นแนวทางในการแก้ไขข้อร้องเรียนจากลูกค้าอย่างถูกต้องและรวดเร็ว
  • แนวปฏิบัติในการดูแลและเก็บรักษาข้อมูลสัญญา ข้อตกลงซื้อขายและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
การสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า

เด็มโก้ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจร่วมกับลูกค้าเป็นอย่างสูง โดยจัดให้มีการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า เป็นประจำทุกปี เพื่อยกระดับความผูกพันและความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอและเป็นแนวทางในการแก้ไขข้อร้องเรียนจากลูกค้าอย่างถูกต้องและรวดเร็วโดยมีการนำเสนอผลการสำรวจต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางการวางแผน บริหารจัดการ พัฒนา ปรับปรุงคุณภาพ การส่งมอบและบริการ ตลอดจนถ่ายทอดข้อมูล และการดำเนินการตอบสนองต่อผลตอบรับของลูกค้าต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ทำการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า

โดยแบ่งการสำรวจเป็น 3 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 ระยะที่ 1 ภายหลังการประมูลงาน (หลังจากทราบผลการประมูลอย่างเป็นทางการแล้วภายใน 15 วันทำการ)

ระยะที่ 2 ระหว่างดำเนินโครงการ (ความก้าวหน้าของงานประมาณ 50%)

ระยะที่ 3 ปิดจบโครงการ (หลังจากวางบิลงวดสุดท้ายแล้ว ภายใน 15 วันทำการ)

ภาพรวมการดำเนินงานในรอบปี

โครงการมอบอุปกรณ์ไฟฟ้า ให้กับสถาบันการศึกษาร่วมกับบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน)

เด็มโก้ ร่วมกับ บริษัท บี.กรีม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินการส่งมอบอุปกรณ์สถานีไฟฟ้าแรงสูง ระบบ 115 กิโลโวลต์ เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนเพื่อและประโยชน์การเรียนรู้

การรักษาข้อมูลของลูกค้า

เด็มโก้มีการกำกับดูแลป้องกันและรักษาข้อมูลของลูกค้าอย่างเข็มงวด โดยได้จัดทำนโยบายการจัดการข้อมูลลับและข้อมูลที่อาจมีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ และนโยบายการทำสัญญาปกปิดความลับ รวมถึงแนวปฏิบัติในการดูแลและเก็บรักษาข้อมูลสัญญา การรักษาความลับและการใช้ข้อมูล

นอกจากนี้ สำหรับข้อมูลส่วนบุคคลของกรรมการผู้บริหารหรือพนักงานของบริษัทลูกค้า เด็มโก้ได้ดำเนินการวางแผน วิเคราะห์ และปฏิบัติการเพื่อการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ทั้งนี้ เด็มโก้ ไม่พบกรณีการละเมิดข้อมูลของลูกค้าและไม่มีข้อร้องเรียนด้านการรักษาข้อมูลลูกค้า