EN

พัฒนาการที่สำคัญของบริษัท

ประสบการณ์ในงานวิศวกรรมไฟฟ้ามากกว่า

30 ปี

บริษัท เด็มโก้ จำกัด (มหาชน) จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัด เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2535 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้นที่ 6 ล้านบาท การก่อตั้งบริษัทเกิดขึ้นจากกลุ่มวิศวกรระบบไฟฟ้าที่มีประสบการณ์ในงานวิศวกรรมไฟฟ้า

ทั้งทางด้านระบบจำหน่ายไฟฟ้า สถานีไฟฟ้าย่อยและงานระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูงมามากกว่า 20 ปี ในปัจจุบันบริษัทประกอบธุรกิจให้บริการออกแบบ จัดหา ก่อสร้างและติดตั้งแบบครบวงจรในงานระบบจำหน่ายไฟฟ้า ระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูง งานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูง – สถานีไฟฟ้าย่อย งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล งานด้านพลังงานทดแทน เช่นโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ งานด้านอนุรักษ์พลังงาน งานก่อสร้างเสาโทรคมนาคม งานสื่อสารและอาณัติสัญญาณ รวมทั้งผลิตและจำหน่ายเสาโครงเหล็กสำหรับระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูง ระบบเสาโทรคมนาคม และป้ายโฆษณา Bill Board และงานขายวัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้า วัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์สื่อสาร ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตสอดคล้องกับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจและการพัฒนาระบบพลังงานของประเทศ นอกจากนี้ในการพัฒนาล่าสุด บริษัทยังก้าวเข้าสู่การเป็นผู้ลงทุนในโครงการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียน ทั้งพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ อีกด้วย

ปี 2535 - 2546

ปี 2535 - 2546 พัฒนาการก่อนการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ

เด็มโก้เริ่มเปิดดำเนินการโรงงานผลิตเสาโครงเหล็กและอุปกรณ์จับยึด โดยได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และในปีเดียวกันนั้น เด็มโก้ชนะการประมูลงานงานออกแบบ จัดหา และติดตั้งงานระบบจำหน่ายไฟฟ้า 22-33 เควี ในพื้นที่ภาคกลางและภาคใต้จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ซึ่งถือว่าเป็นงานแรกของบริษัท

ต่อมาในปี 2538 เด็มโก้เปิดโรงงานบ่อชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อนขนาด 1.2 x 4.0 x 1.5 เมตร เพื่อใช้ชุบงานเสาโครงเหล็กและอุปกรณ์จับยึดที่โรงงานผลิต พร้อมทั้งได้เริ่มขยายงานสู่ภาคเอกชนมากขึ้น

ในปี 2544 เด็มโก้เริ่มรับงานการจัดหา ก่อสร้างฐานราก ติดตั้งเสาโทรคมนาคม พร้อมอุปกรณ์สื่อสาร เช่น ชุด Antenna ชุดจาน Microwave ให้แก่หน่วยงานราชการและเอกชน เช่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กรมการปกครอง บมจ. โทเทิล แอคเซสแอนด์คอมมูนิเคชั่น (DTAC) บจก. อัลคาเทล และบจก. โมโตโลร่า (ประเทศไทย) ในโครงการ TA Orange เป็นต้น และในปี 2546 เด็มโก้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ปรึกษาด้านการอนุรักษ์พลังงานกับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน นอกจากนี้ หน่วยงานราชการและภาคเอกชน ได้ว่าจ้างบริษัทเป็นที่ปรึกษาทางด้านการอนุรักษ์พลังงาน เช่นมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ โรงพยาบาลสวนปรุง จ. เชียงใหม่ เป็นต้น

ปี 2547

เด็มโก้เริ่มงานติดตั้งสายเคเบิ้ลใยแก้ว ด้วยวิธี Blowing Method ซึ่งเป็นวิธีติดตั้งแบบใช้ลมอัดในการลากสายเคเบิ้ลใยแก้วขึ้นเป็นครั้งแรกให้แก่ โครงการวางท่อแก๊ส ไทย-มาเลเซีย ที่ อ. หาดใหญ่ จ. สงขลา ของบริษัท ทรานไทย - มาเลเซีย จำกัด ซึ่งมี บมจ. ปตท. เป็นผู้ถือหุ้นหลัก นอกจากนี้เด็มโก้ได้เริ่มผลิตเสาโฆษณาโครงเหล็กให้แก่ บมจ. มาสเตอร์ แอด

บริษัทได้จำหน่ายเงินลงทุนในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักของเด็มโก้จำนวน 4 บริษัท ได้แก่ บริษัท เด็มโก้ พัฒนาพาณิชย์ จำกัด บริษัท เอ็น.อี.ซี คอนกรีตอัดแรง จำกัด บริษัท นำชัยพัฒนา เอ็นจิเนียริ่ง (1996) จำกัด และบริษัท อนุสรณ์ เซอร์วิส (2004) จำกัด และปิดกิจการอีก 2 บริษัทซึ่งได้แก่บริษัท เด็มโก้ - เฮอริเทจ แลนด์ จำกัดและบริษัท เด็มโก้ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลล็อปเม้นท์ จำกัด เพื่อปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจ

ปี 2548

ปี 2548: โรงงานได้รับ ISO 9001 : 2000 จากสถาบัน Anglo Japanese American (AJA) Registrars สำหรับระบบคุณภาพ ในการผลิต ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะประดิษฐ์ (ยกเว้นเฉพาะเครื่องจักรและอุปกรณ์) ชิ้นส่วนจับยึด/รองรับในงานไฟฟ้า เสาระบบ สายส่งไฟฟ้า โครงสร้างสำหรับสถานีไฟฟ้า เสาโทรคมนาคม โครงสร้างเหล็กสำหรับป้ายโฆษณา โครงสร้างเหล็กสำหรับอาคารทั่วไป อุปกรณ์โลหะในงานระบบจำหน่ายไฟฟ้าแรงต่ำและแรงสูงบริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียนและชำระแล้วจาก 142.0 ล้านบาท เป็น 160.0 ล้านบาท โดยการเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้ (หุ้นละ 100 บาท) เพื่อใช้สำหรับขยายกำลังการผลิตและใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน

ปี 2549

ปี 2549 พัฒนาการหลังการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม.เอ.ไอ - ปัจจุบัน

ปี 2549: บริษัทได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2549 และมีมติเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 160.0 ล้านบาท เป็น 215.0 ล้านบาท มูลค่าหุ้นละ 1 บาท แบ่งการจัดสรรเป็นหุ้นจำนวน 50.0 ล้านหุ้น เพื่อเสนอขายต่อประชาชนทั่วไป และหุ้นจำนวน 5.0 ล้านหุ้น เพื่อรองรับการใช้สิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิที่จัดสรรให้แก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2549 ภายหลังการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม. เอ. ไอ. บริษัทได้ใช้เงินทุนที่ได้รับในการขยายกำลังการผลิตโรงงานผลิตเสาโครงเหล็กชุบสังกะสี จาก 6,000 ตันต่อปี เป็น 12,000 ตันต่อปี โดยโรงงานได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) จำนวน 76.3 ล้านบาท เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2550

ปี 2550

ปี 2550: บริษัทได้ปิดกิจการและชำระบัญชี บริษัท อาลี คาตุน (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2550 เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายดำเนินงานสูงอีกทั้งบริษัทได้เปลี่ยนเป้าหมายตลาดต่างประเทศในส่วนของงานขายอุปกรณ์ไฟฟ้าจากประเทศบังคลาเทศและประเทศในแถบใกล้เคียงเป็นกลุ่มประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

บริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 215.0 ล้านบาทเป็น 328.9 ล้านบาท ตามมติประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/ 2550 เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2550 โดยออกหุ้นสามัญจำนวน 113.9 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท แบ่งการจัดสรรเป็นหุ้นจำนวน 52.8 หุ้นเพื่อรองรับการจ่ายหุ้นปันผล หุ้นจำนวน 60.0 ล้านหุ้น เพื่อเสนอขายแก่ผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจง และหุ้นจำนวน 1.1 ล้านหุ้น เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญที่ออกใหม่ชนิดระบุชื่อผู้ถือและไม่สามารถเปลี่ยนมือได้ซึ่งได้จัดสรรให้แก่กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัท เนื่องจากการปรับสิทธิแปลงสภาพจากการจ่ายหุ้นปันผล

ปี 2551

ปี 2551: เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2551 บริษัทเข้าลงทุนในบริษัทเจ พี เอ็ม อินเตอร์ จำกัด (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท เด็มโก้อินดัสตรี จำกัด) ซึ่งดำเนินธุรกิจรับจ้างและติดตั้งภาชนะแรงดันสูง ระบบท่อรับแรงดันและอุปกรณ์เครื่องกล ในสัดส่วนร้อยละ 45.0 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะขยายตลาดไปสู่งานผลิตภาชนะแรงดันสูง (high pressure vessel) ที่ใช้ในโรงงานปิโตรเคมี และโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ กลยุทธดังกล่าวจะเสริมให้ส่วนงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกลของบริษัทมีต้นทุนประมูลงานที่ลดลง เป็นการเสริมความแข็งแกร่งของธุรกิจ

นอกจากนี้ตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2551 บริษัทได้ลดทุนจดทะเบียนจาก 328.9 ล้านบาทเป็น 268.9 ล้านบาท โดยตัดปุ้นสามัญจดทะเบียนที่ยังไม่ได้จำหน่าย จำนวน 60.0 ล้านหุ้น ซึ่งเดิมจัดสรรเพื่อเสนอขายแก่ผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจง และเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 268.9 ล้านบาทเป็น 357.9 ล้านบาท โดยออกหุ้นสามัญจำนวน 89.0 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท แบ่งการจัดสรรเป็นหุ้นจำนวน 88.6 ล้านหุ้น เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญที่ออกใหม่ชนิดระบุชื่อผู้ถือและไม่สามารถเปลี่ยนมือได้ซึ่งได้จัดสรรให้แก่กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัท (DEMCO-W1) และหุ้นจำนวน 0.4 ล้านหุ้น เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญที่ออกใหม่ชนิดระบุชื่อผู้ถือและไม่สามารถเปลี่ยนมือได้ซึ่งได้จัดสรรให้แก่กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัท (DEMCO-ESOP1) เนื่องจจากการปรับสิทธิแปลงสภาพจากการออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญที่ออกใหม่ชนิดระบุชื่อผู้ถือและสามารถเปลี่ยนมือได้ซึ่งได้จัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทครั้งที่ 1 (DEMCO-W1) ดังกล่าวข้างต้น

ต่อมาบริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 357.9 ล้านบาทเป็น 402.3 ล้านบาท ตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 2/2551 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2551 โดยออกหุ้นสามัญจำนวน 44.4 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท แบ่งการจัดสรรเป็นหุ้นจำนวน 33.4 หุ้น เพื่อรองรับการจ่ายหุ้นปันผล และหุ้นจำนวน 11 ล้านหุ้น เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ครั้งที่ 1 (DEMCO-W1) ชนิดระบุชื่อผู้ถือและเปลี่ยนมือได้ซึ่งได้จัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท เนื่องจากการปรับสิทธิแปลงสภาพจากการจ่ายหุ้นปันผล

ปี 2552

ปี 2552: บริษัทได้เริ่มเข้าสู่ธุรกิจพลังงานทดแทน โดยการเข้าเป็นผู้ร่วมพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานลมกับกลุ่มบริษัท วินด์ เอ็นเนอร์ยี่ส์ โฮลดิ้ง จำกัด (WEH) จำนวน 12 โครงการ กำลังการผลิตติดตั้งรวม 1,059.8 เมกกะวัตต์ กำลังการผลิตตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 930 เมกกะวัตต์ โดย WEH เป็นผู้ศึกษา พัฒนา คัดเลือกกังหันและการจัดหาเงินลงทุน ส่วนบริษัททำหน้าที่สำรวจ ออกแบบงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและการเชื่อมต่อการจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ กฟผ. บริษัทได้จัดเตรียมโครงสร้างเงินทุนสำหรับการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ โดยการออกใบสำคัญสิทธิ DECMO-W2

ตามมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2552 เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2552 บริษัทได้ลดทุนจดทะเบียนจาก 402.3 ล้านบาท เป็น 401.9 ล้านบาท โดยตัดปุ้นสามัญจดทะเบียนที่ยังไม่ได้จำหน่าย จำนวน .40 ล้านหุ้น ซึ่งเหลือจากการจัดสรรเพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญที่ออกใหม่ชนิดระบุชื่อผู้ถือและไม่สามารถเปลี่ยนมือได้ซึ่งได้จัดสรรให้แก่กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัท (DEMCO-ESOP1) เนื่องจากใบสำคัญแสดงสิทธิดังกล่าวครบกำหนด และผู้ได้รับสิทธิพ้นจากการเป็นพนักงาน

ต่อมาที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/ 2252 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2552 บริษัทได้มีมติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 401.9 ล้านบาทเป็น 451.9 ล้านบาท โดยออกหุ้นสามัญจำนวน 50.0 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท แบ่งการจัดสรรเป็นหุ้นจำนวน 43.5 ล้านหุ้น เพื่อรองรัองการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญที่ออกใหม่ชนิดระบุซึ่งผู้ถือและสามารถเปลี่ยนมือได้ซึ่งได้จัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท ครั้งที่ 2 (DEMCO-W2) และหุ้นจำนวน 6.5 ล้านหุ้น เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญที่ออกใหม่ชนิดระบุชื่อผู้ถือและสามารถเปลี่ยนมือได้ซึ่งได้จัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมครั้งที่ 1 (DEMCO-W1) เนื่องจากการปรับสิทธิแปลงสภาพจากการออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญที่ออกใหม่ชนิดระบุชื่อผู้ถือและสามารถเปลี่ยนมือได้ซึ่งได้จัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทเดิมของบริษัทครั้งที่ 2 (DEMCO-W2) ดังกล่าวข้างต้น

ปี 2553

ปี 2553: ผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิ DEMCO-W1, DEMCO-W2 ได้ใช้สิทธิแปลงสภาพในสัดส่วนร้อยละ 85.06 และ 99.33 บริษัทได้ใช้เงินทุนบางส่วนลงทุนในโครงการพลังงานลมเขาค้อในสัดส่วนการถือหุ้นประมาณร้อย 10 และในปีเดียวกัน บริษัทได้จัดโครงสร้างเงินทุน โดยออกใบสำคัญแสดงสิทธิ DEMCO-W3 และ DEMCO-W4 เพื่อรองรับการขยายการลงทุนในอนาคต

ตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2553 มีมติให้บริษัทเพิ่มวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจของบริษัท จาก 48 ข้อ เป็น 59 ข้อ เพื่อให้ครบถ้วนเพียงพอในการที่บริษัทจะเป็นผู้ลงทุนในกิจการผลิต และจำหน่ายระบบสาธารณูปโภค รวมถึงธุรกิจการค้าด้านอื่นๆ ซึ่งเป็นแผนการดำเนินงานเพื่อขยายธุรกิจให้บริษัทเติบโตอย่างยั่งยืน

ต่อมาที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 2/ 2553 เมื่อวันที่ 23 กรกฏาคม 2553 ได้มีมติให้บริษัทลดทุนจดทะเบียนจาก 451.9 ล้านบาทเป็น 435.4 ล้านบาท โดยตัดหุ้นสามัญจดทะเบียนที่ยังไม่ได้จำหน่าย จำนวน 16.5 ล้านหุ้น ซึ่งเหลือจากการจัดสรรเพื่อรองรับการใช้สิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญที่ออกใหม่ชนิดระบุชื่อผู้ถือหุ้นและสามารถเปลี่ยนมืได้ซึ่งได้จักสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 (DEMCO-W1, DEMCO-W2) เนื่องจากใบสำคัญแสดงสิทธิดังกล่าวหมดอายุเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2553 และ 10 มิถุนายน 2553 ตามลำดับ จึงไม่จำเป็นต้องมีหุ้นไว้รองรับการใช้สิทธิอีกต่อไป และมีมติให้บริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 435.4 ล้านบาทเป็น 635.4 ล้านบาท โดยออกหุ้นสามัญจำนวน 200.0 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท แบ่งการจัดสรรเป็นหุ้นจำนวน 110.0 ล้านหุ้น เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญที่ออกใหม่ชนิดระบุชื่อผู้ถือและสามารถเปลี่ยนมือได้ซึ่งได้จัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท ครั้งที่ 3 (DEMCO-W3) หุ้นจำนวน 74.0 ล้านหุ้น เพื่อรองรับการใช้สิทิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญที่ออกใหม่ชนิดระบุชื่อผู้ถือและสามารถเปลี่ยนมือได้ ซึ่งได้จัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมครั้งที่ 4 (DEMCO-W4) และหุ้นจำนวน 16.0 ล้านหุ้น เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญที่ออกใหม่ชนิดระบุชื่อผู้ถือและไม่สามารถเปลี่ยนมือได้ซึ่งได้จัดสรรให้แก่กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัท ครั้งที่ 2 (ESOP# 2)

และ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2553 ที่ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 6/2553 ได้มีมติอนุมัติโครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารทางการเงิน จำนวน 40 ล้านหุ้น ในวงเงินไม่เกิน 214 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.19 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด โดยวิธีซื้อคืนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กำหนดระยะเวลาซื้อคืนตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2553 ถึงวันที่ 1 มีนาคม 2554 ณ วันครบกำหนดระยะเวลา บริษัทซื้อหุ้นคืนแล้วทั้งสิ้น 32.48 ล้านหุ้น เป็นเงิน 165.16 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.33 ของทุนชำระแล้ว

ปี 2554

ปี 2554: บริษัทได้ย้ายการจดทะเบียนหลักทรัพย์จากตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ(mai) ไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554

ต่อมาเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2554 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2554 มีมติให้บริษัทเข้าลงทุนเป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 27 ในบริษัท อีโอลัส พาวเวอร์ จำกัด (อีโอลัส) ซึ่ง อีโอลัส เป็นผู้ถือหุ้น ร้อยละ 60 ใน บริษัท เฟิร์สโคราช วินด์ จำกัด (เฟิร์ส) และ บริษัท เคอาทู จำกัด ( เคอาทู ) โดยที่ เฟิร์ส และ เคอาทู เป็นบริษัทที่ดำเนินโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานลม ห้วยบง 3 และ ห้วยบง 2 ขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง โครงการละ 103.5 เมกกะวัตต์ เซ็นต์สัญญาขายไฟฟ้าให้กับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โครงการละ 90 เมกกะวัตต์ โครงการตั้งอยู่ที่ ตำบลห้วยบง อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา และมีมติให้บริษัทออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 363,538,157 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท โดยให้จัดสรรตามรายละเอียดดังนี้

  1. จัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 316,828,627 หุ้น เพื่อเสนอขายในคราวเดียวกันหรือต่างคราวกันให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วน ตามรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิในการจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่ปรากฎในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นในวันที่กำหนดโดยคณะกรรมการบริษัท ในอัตราส่วนการจองซื้อ 2 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ กรณีมีเศษหุ้นให้ปัดทิ้ง และในระหว่างระยะเวลาการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน ผู้ถือหุ้นเดิมอาจแสดงความจำนงจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนเกินจากสิทธิ (Excess Rights) ที่ได้รับจัดสรรตามสัดส่วนได้ ในราคาเสนอขายเดียวกัน ทั้งนี้ มอบหมายให้คณะกรรมการหรือบุคคลที่คณะกรรมการมอบหมายเป็นผู้พิจารณากำหนดราคาเสนอขาย ระยะเวลาการเสนอขาย เงื่อนไขและรายละเอียดอื่นๆ เกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนแก่ผู้ถือหุ้นเดิม และมีอำนาจในการพิจารณาจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนส่วนที่เหลือจากการที่ผู้ถือหุ้นไม่ใช้สิทธิจองซื้อให้แก่ผู้ถือหุ้นที่แสดงความจำนงจะซื้อหุ้นเพิ่มทุนเกินจากสิทธิ ตามสัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นเดิมแต่ละรายที่จองเกินสิทธิดังกล่าว จนกระทั้งไม่มีหุ้นเหลือจากการจัดสรรตามที่บริษัทจะเห็นสมควร ในกรณีที่มีหุ้นเหลือเพียงพอที่จะจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมที่จองซื้อหุ้นเกินกว่าสิทธิของตนทุกราย ให้จัดสรรหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นที่จองซื้อเกินสิทธิแต่ละรายตามจำนวนหุ้นที่แสดงความจำนงที่จะซื้อเกินสิทธิดังกล่าว
  2. จัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 46,709,530 หุ้น สำรองเพื่อนรองรับการปรับสิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิของบริษัทที่จัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเติมครั้งที่ 3 (DEMCO-W3) ผู้ถือหุ้นเดิมครั้งที่ 4 (DEMCO-W4) และผู้บริหารและพนักงานครั้งที่ 2 (ESOP 2) หากต้องกมีการปรับสิทธิตามข้อกำหนดสิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิของบริษัท

    ในด้านงานก่อสร้าง บริษัทได้ขยายธุรกิจเข้าสู่การเป็นผู้รับเหมาด้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานลมขนาดใหญ่เป็นงานแรกของประเทศไทย

ปี 2555

ปี 2555: ภายหลังการย้ายการจดทะเบียน จากตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม.เอ.ไอ มาสู่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทได้ปรับโครงสร้างการบริหาร โดยโอนธุรกิจผลิตเสาโครงเหล็ก ไปยังบริษัทย่อย เพื่อเพิ่มความชัดเจนในการวิเคราะห์โครงสร้างธุรกิจ และประเมินประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

และที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2555 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2555 ได้มีมติอนุมัติลดทุนจดทะเบียน โดยตัดหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่ยังไม่ได้จำหน่ายตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2554 ออก โดยลดทุนจากทุนจดทะเบียนเดิมจำนวน 999,000,000 บาท คงเหลือทุนจดทะเบียนใหม่จำนวน 635,461,843 บาท โดยบริษัทได้จดทะเบียนลดทุนกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 และอนุมิติโอนกิจการผลิตโครงสร้างโลหะที่ใช้ในงานก่อสร้างหรืออุปกร์สำหรับงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามบัตรส่งเสริมการลงทุน เลขที่ 2232(2)/2550 ให้แก่บริษัท เด็มโก้ เพาเวอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย

ในด้านงานก่อสร้าง ผลจากการที่บริษัทขยายธุรกิจเข้าสู่งานรับเหมาด้านพลังงานทดแทน ทำให้รายได้จากงานรับเหมาของบริษัทปรับเพิ่มขึ้น จากระดับ 2,000 ล้านบาท มาสู่ระดับ 4,000 ล้านบาท

ปี 2556

ในปี 2556: บริษัทขยายการลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทนจากเดิมที่ลงทุนตรงในบริษัทโครงการ (ถือหุ้นร้อยละ10 ในบริษัทซัสเทนเอเบิ้ล เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่นจำกัด-โครงการพลังงานลมเขาค้อ 60 MW, ถือหุ้นร้อยละ 27 ในบริษัทอีโอลัส พาวเวอร์ จำกัดซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 60 ในบริษัท เฟิร์สโคราช วินด์จำกัด และ บริษัทเค อาร์ 2 จำกัด - โครงการพลังงานลมห้วยบง กำลังการผลิตรวม 207 MW) ไปสู่การลงทุนในบริษัทวินด์ เอ็นเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง ซึงเป็นผู้ถือหุ้นโครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากลม 12 โครงการกำลังการผลิตรวม 1,059.80 MW วัตถุประสงค์เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนจากโครงการที่หลากหลาย และเป็นการสร้างความสัมพันธ์เพื่อโอกาสในการรับงานก่อสร้างในอนาคต

และที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 5/2556 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2556 ได้มีมติให้ลงทุนเพิ่มในบริษัท เด็มโก้ อินดัสตรี้ จำกัด ในสัดส่วนร้อยละ 100

ต่อมาที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2556 เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2556 ได้มีมติ ที่สำคัญ ดังนี้

  1. อนุมัติการเข้าลงทุนในบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด ("วินด์ เอนเนอร์ยี่") โดยการเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 5,263,158 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5 ของหุ้นทั้งหมดของวินด์ เอนเนอร์ยี่

    ซึ่งภายหลังการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่จัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (Rights Offering) แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2556 บริษัทได้เข้าร่วมลงทุนใน วินด์ เอนเนอร์ยี่ จำนวน 4,210,526 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4 ของหุ้นทั้งหมดของวินด์ เอนเนอร์ยี่ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 800,000,000 บาท (แปดร้อยล้านบาท)
  2. อนุมัติการลดทุนจดทะเบียนของบริษัทจำนวน 6,425,917.00 บาท จากทุนจดทะเบียนเดิมจำนวน 635,461,843.00 บาท เป็นทุนจดทะเบียนจำนวน 629,035,926.00 บาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 317,492,174 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท
  3. อนุมติการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทอีกจำนวน 317,492,174.00 บาท จากทุนจดทะเบียนเดิมจำนวน 629,035,926.00 บาท เป็นทุนจดทะเบียนจำนวน 946,528,100.00 บาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 317,492,174 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท
  4. อนุมัติการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท ดังนี้
    • จัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 125,807,186 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (Rights Offering) ในอัตราส่วนการจัดสรร 5 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ราคาขายหุ้นละ 10 บาท และเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2556 ซึ่งเป็นวันกำหนดใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน(RO) มีผู้ถือหุ้นมาใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 60,885,657 หุ้น บริษัทได้รับเงินเป็นจำนวนเงินรวม 608,856,570 บาท ซึ่งบริษัทได้จดทะเบียนเพิ่มทุนชำระแล้วกับกระทรวงพาณิชย์แล้วเมื่อวันที่ 4 กรกฏาคม 2556 และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้รับหุ้นสามัญเพิ่มทุนดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนเมื่อวันที่ 9 กรกฏาคม 2556
    • จัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 78,629,492 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหุ้นสามัญของบริษัทครั้งที่ 5 (ใบสำคัญแสดงสิทธิครั้งที่ 5 หรือ DEMCO-W5) และจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 78,629,579 หุ้น เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหุ้นสามัญของบริษัทครั้งที่ 6 (ใบสำคัญแสดงสิทธิครั้งที่ 6 หรือ DEMCO-W6) โดยบริษัทจะจัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นเดิมที่จองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (Right Offering) และได้รับการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทตามที่ได้รับอนุมัติ โดยในอัตราส่วนการจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน 1.6 หุ้น จะได้รับใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 หน่วยสำหรับทั้งใบสำคัญแสดงสิทธิครั้งที่ 5 และใบสำคัญแสดงสิทธิครั้งที่ 6 โดยไม่คิดมูลค่า ซึ่งราคาใช้สิทธิซื้อหุ้นตามใบสำคัญแสดงสิทธิสำหรับ DEMCO-W5 เท่ากับ 12 บาท และราคาใช้สิทธิซื้อหุ้นตามใบสำคัญแสดงสิทธิสำหรับ DEMCO-W6 เท่ากับ 15 บาท กำหนดการใช้สิทธิครั้งสุดท้ายของใบสำคัญแสดงสิทธิ DEMCO-W5 และ DEMCO-W6 คือ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 และ 5 กุมภาพันธ์ 2559 ตามลำดับ

      ทั้งนี้ภายหลังการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน(RO) มีผู้ถือหุ้นได้รับใบสำคัญแสดงสิทธิตามอัตราส่วนการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน รวมเป็นใบสำคัญแสดงสิทธิ DEMCO-W5 จำนวน 38,053,393 หน่วย และ DEMCO-W6 จำนวน 38,053,393 หน่วย และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้รับใบสำคัญแสดงสิทธิดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนเมื่อวันที่ 26 กรกฏาคม 2556
    • จัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 28,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหุ้นสามัญที่จัดสรรให้แก่กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานครั้งที่ 3 (DEMCO-ESOP 3) โดยไม่คิดมูลค่า ราคาใช้สิทธิซื้อหุ้นตามใบสำคัญแสดงสิทธิ (DEMCO-ESOP 3) เท่ากับ 15 บาทต่อหุ้น ซึ่งต้องมีการปรับสิทธิตามข้อกำหนดสิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิของบริษัท และจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 6,425,917 หุ้น เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหุ้นสามัญที่จัดสรรให้แก่กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานครั้งที่ 2 (ESOP2) ส่วนที่เหลือจากใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิในวันที่ 29 มีนาคม 2556
    • จัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เหลือจากการเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามข้อ (ก) ให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) ทั้งนี้ ราคาเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนดังกล่าว จะไม่ต่ำกว่าราคาเสนอขายหุ้นสามัญให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทตามสัดส่วนจำนวนปหุ้นที่ผู้ถือหุ้นแต่ละรายถืออยู่ (Rights Offering) และจะไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ของราคาตลาด ทั้งนี้ในปี 2556 บริษัทยังมิได้ดำเนินการในส่วนนี้

      ในด้านการลงทุน โรงไฟฟ้าพลังงานลมห้วยบง 2 และ 3 ได้จำหน่ายไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2556 และ พฤศจิกายน 2555 บริษัทได้บันทึกส่วนแบ่งรายได้จากการถือหุ้นผ่านบริษัทอีโอลัสพาวเวอร์ จำกัด ในงบการเงินรวมปี 2556 จำนวน 169.64 ล้านบาท

ปี 2557

บริษัทขยายธุรกิจเข้าสู่การลงทุนในโครงการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งประเภทก่อสร้างบนพื้นดิน และก่อสร้างบนหลังคา วัตถุประสงค์เพื่อสร้างผลตอบแทนที่เป็นกระแสเงินสดสม่ำเสมอ

ปลายปี 2556 ต่อเนื่องถึงปี 2557 บริษัทได้ลงทุนกับบริษัทร่วม บริษัท อุดรธานีโซล่า พาวเวอร์ จำกัด บริษัท แม่โขงกรีนพาวเวอร์ จำกัด บริษัท อินโดไชน่า กรีนเอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ประกอบธุรกิจผลิต และจำหน่ายไฟฟ้า โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (solar farm) ขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้า บริษัทละ 0.998 เมกกะวัตต์ มีสถานที่ตั้งโครงการอยู่ที่ จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดหนองคาย โดยบริษัท เข้าลงทุนถือหุ้นร้อยละ 45.75 ในแต่ละบริษัทตามมติของคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 11/2556 เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2556 ทั้งนี้แต่ละบริษัทได้เริ่มผลิต และจำหน่ายไฟฟ้าในเดือน ตุลาคม 2557 เป็นต้นมา

ปี 2558

เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2558 บริษัท เด็มโก้ เดอลาว จำกัด ได้ทำสัญญาสัปทานที่ดินรัฐ โครงการพัฒนาน้ำประปา อยู่บ้านผานม เมืองหลวงพระบาง แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว (สปป.ลาว) สัญญามีอายุ 30 ปี นับแต่วันที่ 5 พฤษภาคม2558 ถึง 4 พฤษภาคม 2588 เป็นรูปแบบการลงทุนแบบ BOOT ( = Build, Own, Operate, and Transfer) บริษัทผู้รับสัมปทานเป็นผู้ลงทุนสร้าง เป็นเจ้าของ และ เป็นผู้ประกอบการชั่วระยะเวลาหนึ่ง แล้วจึงโอนเป็นกรรมสิทธิ์แก่รัฐบาลลาวในภายหลัง โดยสามารถยืดอายุต่อไปได้อีกโดยต้องเสนอต่อรัฐบาลลาวเพื่อพิจารณา ก่อนสัญญาสิ้นสุดเป็นเวลา 5 ปี DDLได้รับการยกเว้นค่าสัมปทานที่ดินรัฐเป็นเวลา 3 ปี มีค่าสัมปทาน 500 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ต่อ เฮกตาร์ ต่อปี และ เพิ่มขึ้น 5 % ทุกๆ 5 ปี ต่อมาเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2558 บริษัท เด็มโก้ เดอลาว จำกัด ได้ทำสัญญาซื้อ-ขายน้ำประปากับรัฐวิสาหกิจน้ำประปากำหนดเวลาของสัญญาเป็นระยะเวลา 30 ปี นับจากวันที่เริ่มซื้อขาย น้ำประปา ทั้งนี้บริษัทคาดว่าจะเริ่มผลิตและจำหน่ายน้ำประปาในไตรมาส 2 ปี 2560 โดยสัญญาซื้อ-ขายน้ำประปาจะมีการต่อขยายภายใต้ความเห็นชอบของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย

บริษัทได้รับเงินเพิ่มทุนจากการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญของใบสำคัญแสดงสิทธิ DEMCO-W5 และได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนชำระแล้วจาก 692,832,900 บาท เป็น 730,332,568 บาท เนื่องมาจากการใช้สิทธิซื้อหุ้นดังกล่าว ในระหว่าง ปี 2558 บริษัท เด็มโก้ เดอลาว จำกัด ได้จดทะเบียนเพิ่มทุนจากเดิม 0.30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นทุนจดทะเบียน จำนวน 19.50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามที่ระบุไว้ในทะเบียนสัมปทาน ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2558 ทั้งนี้ บริษัท เด็มโก้ เดอลาว จำกัด ได้เรียกชำระทุนครั้งแรกในอัตราร้อยละ 20 โดยในระหว่างปี 2558 บริษัท เด็มโก้ จำกัด (มหาชน) ได้ชำระค่าหุ้นจำนวน 124.05 ล้านบาท ให้กับบริษัท เด็มโก้ เดอลาว จำกัด (DDL)

ปี 2559

ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2559 มีมติให้บริษัทลดทุนจดทะเบียนของบริษัท จากทุนจดทะเบียนเดิมจำนวน 946,528,100 บาท เป็นทุนจดทะเบียนใหม่จำนวน 822,683,573 บาท โดยตัดหุ้นสามัญที่ยังไม่ได้จำหน่ายจากหุ้นที่เหลือจากการจัดสรรรองรับใบสำคัญแสดงสิทธิ DEMCO-W5 จำนวน 41,712,468 หุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิ DEMCO-W6 จำนวน 78,617,459 หุ้น และใบสำคัญแสดงสิทธิ DEMCO-ESOP2 จำนวน 3,514,600 หุ้นรวมทั้งสิ้นจำนวน 123,844,527 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท เนื่องจากใบสำคัญแสดงสิทธิดังกล่าวหมดอายุการใช้สิทธิ และให้แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณฑ์สนธิของบริษัท ข้อ 4 ให้สอดคล้องกับการลดทุนจดทะเบียน

ปี 2560

ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2560 เด็มโก้ เพาเวอร์ จำกัด (บริษัทย่อย) ได้รับการอนุมัติจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ให้เป็นผู้จำหน่ายเสาโครงเหล็กสำหรับสายส่งแรงสูงระดับแรงดัน 500 เค.วี. ให้แก่ กฟผ. ส่งผลให้บริษัทสามารถผลิตและจำหน่ายเสาโครงเหล็กให้การไฟฟ้าฯ ทุกระดับแรงดัน

บริษัท เด็มโก้ เดอลาว จำกัด (บริษัทย่อย) ได้เริ่มผลิตและจำหน่ายน้ำประปาให้แก่วิสาหกิจน้ำประปาหลวงพระบาง

ปี 2561

บริษัทนำเสนอแผนปรับปรุงฐานกังหันลมส่วนที่เหลือให้ผู้ว่าจ้างพิจารณาระหว่างการรอการอนุมัติ บริษัทได้บันทึกบัญชีค่าใช้จ่ายงานปรับปรุงฐานกังหันลมและเงินชดเชยค่าเสียหายในการขายไฟฟ้าเป็นรายการพิเศษ ในปี 2561 จำนวน 86.29 ล้านบาท

ปี 2562

ปี 2562 บริษัทปรับปรุงฐานกังหันลมโครงการพลังงานลมแล้วเสร็จ 81 ฐาน เป็นค่าใช้จ่ายที่บันทึกบัญชีเป็นรายการพิเศษ ในปี 2562 จำนวน 172.25 ล้านบาท ขณะนี้ผู้ว่าจ้างอยู่ระหว่างตรวจรับงาน ซึ่งเป็นการส่งมอบและตรวจรับงานทั้งโครงการ

ในระหว่างปี 2562 บริษัท เด็มโก้ เดอลาว จำกัด (บริษัทย่อย) เรียกชำระค่าหุ้นเพิ่ม รวมมูลค่า 50.95 ล้านบาท ทำให้มูลค่า เงินลงทุนในบริษัท เด็มโก้ เดอลาว จำกัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 เพิ่มขึ้นจาก 350.73 ล้านบาท เป็น 401.68 ล้านบาท ต่อมา เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2562 บริษัท เด็มโก้ เดอลาว จำกัด ได้ลดทุนจดทะเบียนลง มูลค่า4.50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ทุนจดทะเบียน ณ 31 ธันวาคม 2562 มีมูลค่า 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ปี 2563

ปี 2563 เด็มโก้ปรับปรุงฐานกังหันลมโครงการห้วยบง 1 และห้วยบง 2 แล้วเสร็จ 81 ฐาน ขณะนี้ ผู้ว่าจ้างอยู่ระหว่างตรวจรับงาน ซึ่งเป็นการส่งมอบและตรวจรับงานทั้งโครงการ นอกจากนี้คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติแผนระยะยาวในการพัฒนาองค์กรดังนี้ Organization Development Years : 2020 -2022 ซึ่งเด็มโก้ได้มีการปรับโครงสร้างองค์กรให้มีสายบังคับบัญชาที่สั้นลง เพื่อให้การทำงานสะดวกรวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ ยังได้แต่งตั้งนายพงษ์ศักดิ์ ศิริคุปต์ เป็นประธานกรรมการเจ้าหน้าที่บริหาร และนายไพฑูรย์ กำชัย เป็น กรรมการผู้จัดการ มีการปรับโครงสร้างแบบ Pull Resource ในกลุ่มบริษัท และนำระบบเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในกระบวนการทำงานเพื่อลดต้นทุนของบริษัท

ปี 2564

ในปี 2564 บริษัท เด็มโก้ เดอลาว จำกัด มียอดขายน้ำเฉลี่ยอยู่ที่ 7,300 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และมีรายได้จากการขาย Mobile Plant and Monitoring & Control ในปี 2563 และ 2564 จำนวน 7.83 ล้านบาทและ 10.39 ล้านบาทตามลำดับและในระหว่างปี 2564 บริษัทย่อย ได้มีการเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่จากเดิมชื่อ บริษัท เด็มโก้ อินดัสตรี่ จำกัด เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บริษัท เด็มโก้ เอ็นเนอร์จี แอนด์ ยูทิลิตี้ จำกัด เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2564 โดยปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 260 ล้านบาท ทุนชำระแล้ว 190 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับโรงงานไฟฟ้า การบริหารธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค รวมทั้งการก่อสร้างงานด้านโยธา และด้านระบบท่อแรงดันประเภทต่าง ๆ